“บิ๊กตู่” โวผลงาน 2 ปีดีขึ้น สะท้อนการทำงานทุกด้าน ชี้ความเสี่ยงด้านความไม่แน่นอนการเมืองดีขึ้น 7 อันดับ
เมื่อ วันที่ 15 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศก่อนการแถลงผลงานรัฐบาล ในโอกาสครบรอบ 2 ปีที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาลเป็นไปอย่างคึกคัก โดยมีคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผู้บัญชาการเหล่าทัพ หัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า รองปลัดกระทรวง ผู้บริหารระดับสูงสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ เดินทางเข้าร่วมงาน โดยก่อนเริ่มงานในเวลา 08.00 น. รองนายกฯ ทั้ง 6 คน ได้เข้าพบพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช. ) เพื่อเตรียมพร้อมสรุปผลงานให้นายกฯ รับทราบ ก่อนที่นายกฯ จะเป็นผู้กล่าวเปิดแถลงผลงานรัฐบาล จากนั้นรองนายกฯ ทั้ง 6 คน นำโดยพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง นายวิษณุ เครืองาม และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวแถลงสรุปผลงานในแต่ล่ะด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง การศึกษา เป็นต้น คนละ 15 นาที ขณะที่การรักษาความปลอดภัยเป็นไปอย่างเข้มงวด โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำทำเนียบรัฐบาลจะตรวจตรารถยนต์-บุคคลที่จะผ่าน เข้า-ออกอย่างเข้มงวด
จากนั้นเวลา 09.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเปิดการแถลงผลงานตอนหนึ่งว่า ตนรู้สึกยินดีที่ได้มาพบกับประชาชน ที่น่ายินดีกว่านั้นคือการได้เห็นรอยยิ้มกลับคืนสู่ใบหน้าของคนไทย ที่ทั่วโลกรู้จักในนาม “สยามเมืองยิ้ม” แต่สิ่งนั้นหายไปจากสังคมไทยมากว่า 10 ปี ซึ่งช่วงเวลาที่ผ่านมา สถานการณ์ในประเทศไทยไม่ค่อยสงบสุข การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างล่าช้า เศรษฐกิจไม่ได้รับการปฏิรูปทั้งระบบ เกิดความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรม ประชาชนมีรายได้น้อย สังคมมีความสับสนวุ่นวาย การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กระทำได้จำกัด การวิจัย การพัฒนา เพื่อสร้างนวัตกรรมไม่ต่อเนื่อง ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียม การที่ประเทศไม่มีแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะยาวที่ชัดเจน ทำให้ประเทศขาดทิศทางในการพัฒนา การบริหารราชการแผ่นดินให้ความสำคัญน้อยกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ การดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศที่ขาดความสมดุล รวมไปถึงการใช้จ่ายงบประมาณที่ซ้ำซ้อน ไม่คุ้มค่า ขาดความต่อเนื่อง ประชาชนได้รับประโยชน์ไม่ทั่วถึง การถือครองทรัพยากรตลอดจนความเจริญกระจุกอยู่เพียงบางพื้นที่ โดยเหล่านี้นำไปสู่ปัญหาทางการเมืองที่รุนแรงขัดแย้ง สร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของประเทศในสายตาชาวต่างชาติ รวมทั้งเป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยที่กฏหมายไม่สามารถบังคับใช้เพื่อช่วยทุเลาสถานการณ์ได้อย่างจริงจัง และที่สำคัญหลายภาคส่วนไม่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศเผชิญกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันซึ่งถือเป็นปัญหาร้ายแรงที่สุด ของชาติ ทุกประเด็นเหล่านี้คือปัญหาที่ทาบทับประเทศไทยมาเป็นเวลากว่า 10 ปี โดยไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการปฏิรูปประเทศ ตามสิ่งท้าทาย และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาของโลกศตวรรษที่ 21 เราจำเป็นต้องมีการปฏิรูปประเทศในทุกระบบ ให้ครบวงจร เพื่อไม่ให้ประเทศไทยกลายเป็นชาติที่ไร้การพัฒนา และถูกทิ้งรั้งไว้เบื้องหลัง
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า รัฐบาลมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการบริหารราชการแผ่นดินโดยยึดโยงประชาชนเป็น ศูนย์กลาง ยึดถือผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง และยึดหลักธรรมาภิบาล สุจริตโปร่งใส เพื่อเป้าหมายสำคัญในการวางรากฐานให้รัฐบาลในอนาคตได้บริหารประเทศอย่างมีธร รมาภิบาลภายใต้กฎกติกาที่เหมาะสม และป้องกันอย่างที่สุดที่จะไม่ให้สภาพปัญหาแบบเดิมกลับมาเกิดขึ้นอีกใน ประเทศไทย การกำหนดแนวนโยบายทุกด้านของรัฐบาล อยู่บนหลักคิดที่จะต้องขจัดเงื่อนไขอันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาในอดีต รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศในช่วงที่สถานการณ์ ทั้งภายใน และภายนอกประเทศไม่สงบสุขในทุกมิติ โดยด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ การค้าการลงทุนซบเซา ขณะที่เศรษฐกิจโลกในปี 2558 มีการขยายตัวในเกณฑ์ต่ำ เพียงร้อยละ 3 ต่ำกว่าที่ประมาณการณ์ ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2559 ก็ยังคงขยายตัวเพียง ร้อยละ 3.1 รวมทั้งประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจขยายตัวชะลอลง
“ขณะที่สังคมภายใน ประเทศมีปัญหาความเหลื่อมล้ำ การกระจุกตัวของความมั่งคั่งและโอกาส ส่วนภาพรวมของสถานการณ์โลก ยังมีปัญหาทั้งการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานที่ไม่ปกติ การอพยพลี้ภัย ความอดอยาก ความไม่เท่าเทียม ภัยธรรมชาติ และโรคระบาดที่ทุกประเทศต้องเตรียมการรับมือ ด้านการต่างประเทศขาดความเข้าใจในบริบทของประเทศไทย นำไปสู่การตั้งคำถาม และความอ่อนไหวต่อความเชื่อมั่นในมุมมองของหลายประเทศ ขณะที่สถานการณ์โลกเกิดปรากฏการณ์ขึ้นมากมาย เกิดพันธสัญญาระหว่างประเทศใหม่ ๆ การรวมกลุ่มของประเทศ เพื่อเจรจาการค้า และสร้างอำนาจต่อรองในเวทีโลก ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องนำมาคิด และกำหนดเป็นนโยบาย เพื่อขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติจริง เพื่อการแก้ไขปัญหา และการบริหารความเสี่ยง” นายกฯกล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า ในห้วง 2 ปีแรกที่รัฐบาลและคสช. เข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อระยะเวลาผ่านไป ผลการทำงานของรัฐบาลเป็นที่ประจักษ์ มีผลสัมฤทธิ์ปรากฏออกมา ทำให้มุมมองและการประเมินที่หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ มีต่อประเทศไทยเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นน่าพอใจ สะท้อนผลการทำงานของรัฐบาลในทุกด้าน สรุปได้ดังนี้ ด้านเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศซึ่งส่งผลกระทบในทางที่ดี กับทุก ๆ ด้าน มีผลการประเมินความเสี่ยงด้านความไม่แน่นอนทางการเมืองดีขึ้นจากอันดับที่ 58 ในปี 57 เป็นอันดับที่ 51 ในปี 2559 ซึ่งดีขึ้น 7 อันดับ ความโปร่งใสในการบริหารงานภาครัฐดีขึ้นจากอันดับที่ 57 ในปี 57 เป็นอันดับที่ 25 ในปี 2559 จำนวนเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลดลงกว่าร้อยละ 50 จำนวนคดียาเสพติดลดลงกว่าร้อยละ 50 ผลการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (ซีพีไอ) เกือบ 180 ประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2556 –2558 ประเทศไทยดีขึ้นทุกๆ ปี อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2556 ก่อนที่รัฐบาลนี้ เข้ามาเราอยู่อันดับที่ 102 ปัจจุบันอยู่อันดับที่ 76 ทั้งนี้ สถาบันและองค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ ได้ประเมินสถานการณ์คอร์รัปชันของไทย ในสายตานานาชาติ ว่าดีที่สุดในรอบ 6 ปี และมีความโปร่งใสดีที่สุดในรอบ 10 ปี
นายกฯ กล่าวว่า ในด้านความเข้มแข็งและขีดความสามารถในการแข่งขัน ทางเศรษฐกิจและสังคม มีผลการประเมินอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง จากร้อยละ 0.8 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 3.2 ในปี 2559 สัดส่วนมูลค่าธุรกิจธุรกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ต่อจีดีพีมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง จากร้อยละ 39.6 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 42.3 ในปี 2559 ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการคมนาคมทางบก ดีขึ้น จากอันดับที่ 48 ในปี 2556 เป็นอันดับที่ 26 ในปี 2559 ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการคมนาคมทางอากาศ ดีขึ้นจากอันดับที่ 23 ในปี 2556 เป็นอันดับที่ 20 ในปี 2559 ความน่าลงทุนระหว่างประเทศ ดีขึ้นจากอันดับที่ 31 ในปี 2556 เป็นอันดับที่ 28 ในปี 2559 องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ประกาศการจัดอันดับดัชนี e-Government ประเทศไทยได้เลื่อนขึ้น จาก 102 ในปี 2014 เป็นอันดับ 77 ปี 2016 จาก 193 ประเทศ สถาบันการจัดการนานาชาติ (ไอเอ็มดี) จัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ปี 2559 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับที่ 28 จากอันดับที่ 30 ในปี 2558 นอกจากนี้ในปี 2558 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ เกือบ 30 ล้านคน สร้างรายได้เข้าประเทศ 1.44 ล้านล้านบาท สูงเป็นอันดับ 6 ของโลก ผลการจัดอันดับประเทศที่มีความทุกข์ยาก น้อยที่สุดในโลก ของบลูมเบิร์กให้ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 จากทั้งหมด 74 ประเทศทั่วโลก และเป็นประเทศที่มีความสุขมากที่สุดในโลก เป็นปีที่ 2 ต่อเนื่องกัน นอกจากนี้ นิตยสารนิวส์ แอนด์เวิลด์ รีพอร์ต ได้จัดอันดับ 60 ประเทศที่ดีที่สุด ประจำปี 2016 โดยประเทศไทยได้ถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 21 ของโลก อันดับสูงสุดในอาเซียน และระบุด้วยว่า ประเทศไทยน่าท่องเที่ยวผจญภัย และเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 4 จาก 60 ประเทศที่ดีที่สุด ซึ่งวัดจากความสวยงามทางธรรมชาติ มรดกทางประเพณี และวัฒนธรรม ลักษณะประชากรและคุณภาพชีวิต โอกาสในการประกอบการ โอกาสด้านธุรกิจ การเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเมือง
“ด้านกฎหมายและการ ต่างประเทศ มีผลการดำเนินงานออกกฎหมายที่จำเป็นได้มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ การแก้ปัญหางาช้าง ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส) ทำให้รอดพ้นจากการถูกคว่ำบาตรทางการค้าจากไซเตส ซึ่งมูลค่าทางเศรษฐกิจ มากกว่า 47,000 ล้านบาทต่อปี การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติ มีความคืบหน้าจนสหรัฐอเมริกา ได้ปรับระดับในรายงานการค้ามนุษย์ (ทริปรีพอร์ท) ประจำปี 2559 ให้ประเทศไทยดีขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลดี ต่อการแก้ปัญหาการประมงผิดกฎหมาย (ไอยูยู) ของทางอียูเนื่องจากมีความเชื่อมโยงกัน โดยสินค้าประมงไทย มีมูลค่าการส่งออก กว่า 240,000 ล้านบาทต่อปี
นายกฯ กล่าวว่า รัฐบาลบริหารประเทศในทุกมิติ ทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม การต่างประเทศ กฏหมายและกระบวนการยุติธรรม รวมถึงด้านอื่น ๆ ซึ่งยืนยันว่ารัฐบาลได้ลงมือทำเพื่อสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้กับประเทศ
เมื่อ วันที่ 15 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศก่อนการแถลงผลงานรัฐบาล ในโอกาสครบรอบ 2 ปีที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาลเป็นไปอย่างคึกคัก โดยมีคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผู้บัญชาการเหล่าทัพ หัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า รองปลัดกระทรวง ผู้บริหารระดับสูงสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ เดินทางเข้าร่วมงาน โดยก่อนเริ่มงานในเวลา 08.00 น. รองนายกฯ ทั้ง 6 คน ได้เข้าพบพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช. ) เพื่อเตรียมพร้อมสรุปผลงานให้นายกฯ รับทราบ ก่อนที่นายกฯ จะเป็นผู้กล่าวเปิดแถลงผลงานรัฐบาล จากนั้นรองนายกฯ ทั้ง 6 คน นำโดยพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง นายวิษณุ เครืองาม และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวแถลงสรุปผลงานในแต่ล่ะด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง การศึกษา เป็นต้น คนละ 15 นาที ขณะที่การรักษาความปลอดภัยเป็นไปอย่างเข้มงวด โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำทำเนียบรัฐบาลจะตรวจตรารถยนต์-บุคคลที่จะผ่าน เข้า-ออกอย่างเข้มงวด
จากนั้นเวลา 09.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเปิดการแถลงผลงานตอนหนึ่งว่า ตนรู้สึกยินดีที่ได้มาพบกับประชาชน ที่น่ายินดีกว่านั้นคือการได้เห็นรอยยิ้มกลับคืนสู่ใบหน้าของคนไทย ที่ทั่วโลกรู้จักในนาม “สยามเมืองยิ้ม” แต่สิ่งนั้นหายไปจากสังคมไทยมากว่า 10 ปี ซึ่งช่วงเวลาที่ผ่านมา สถานการณ์ในประเทศไทยไม่ค่อยสงบสุข การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างล่าช้า เศรษฐกิจไม่ได้รับการปฏิรูปทั้งระบบ เกิดความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรม ประชาชนมีรายได้น้อย สังคมมีความสับสนวุ่นวาย การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กระทำได้จำกัด การวิจัย การพัฒนา เพื่อสร้างนวัตกรรมไม่ต่อเนื่อง ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียม การที่ประเทศไม่มีแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะยาวที่ชัดเจน ทำให้ประเทศขาดทิศทางในการพัฒนา การบริหารราชการแผ่นดินให้ความสำคัญน้อยกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ การดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศที่ขาดความสมดุล รวมไปถึงการใช้จ่ายงบประมาณที่ซ้ำซ้อน ไม่คุ้มค่า ขาดความต่อเนื่อง ประชาชนได้รับประโยชน์ไม่ทั่วถึง การถือครองทรัพยากรตลอดจนความเจริญกระจุกอยู่เพียงบางพื้นที่ โดยเหล่านี้นำไปสู่ปัญหาทางการเมืองที่รุนแรงขัดแย้ง สร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของประเทศในสายตาชาวต่างชาติ รวมทั้งเป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยที่กฏหมายไม่สามารถบังคับใช้เพื่อช่วยทุเลาสถานการณ์ได้อย่างจริงจัง และที่สำคัญหลายภาคส่วนไม่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศเผชิญกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันซึ่งถือเป็นปัญหาร้ายแรงที่สุด ของชาติ ทุกประเด็นเหล่านี้คือปัญหาที่ทาบทับประเทศไทยมาเป็นเวลากว่า 10 ปี โดยไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการปฏิรูปประเทศ ตามสิ่งท้าทาย และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาของโลกศตวรรษที่ 21 เราจำเป็นต้องมีการปฏิรูปประเทศในทุกระบบ ให้ครบวงจร เพื่อไม่ให้ประเทศไทยกลายเป็นชาติที่ไร้การพัฒนา และถูกทิ้งรั้งไว้เบื้องหลัง
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า รัฐบาลมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการบริหารราชการแผ่นดินโดยยึดโยงประชาชนเป็น ศูนย์กลาง ยึดถือผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง และยึดหลักธรรมาภิบาล สุจริตโปร่งใส เพื่อเป้าหมายสำคัญในการวางรากฐานให้รัฐบาลในอนาคตได้บริหารประเทศอย่างมีธร รมาภิบาลภายใต้กฎกติกาที่เหมาะสม และป้องกันอย่างที่สุดที่จะไม่ให้สภาพปัญหาแบบเดิมกลับมาเกิดขึ้นอีกใน ประเทศไทย การกำหนดแนวนโยบายทุกด้านของรัฐบาล อยู่บนหลักคิดที่จะต้องขจัดเงื่อนไขอันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาในอดีต รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศในช่วงที่สถานการณ์ ทั้งภายใน และภายนอกประเทศไม่สงบสุขในทุกมิติ โดยด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ การค้าการลงทุนซบเซา ขณะที่เศรษฐกิจโลกในปี 2558 มีการขยายตัวในเกณฑ์ต่ำ เพียงร้อยละ 3 ต่ำกว่าที่ประมาณการณ์ ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2559 ก็ยังคงขยายตัวเพียง ร้อยละ 3.1 รวมทั้งประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจขยายตัวชะลอลง
“ขณะที่สังคมภายใน ประเทศมีปัญหาความเหลื่อมล้ำ การกระจุกตัวของความมั่งคั่งและโอกาส ส่วนภาพรวมของสถานการณ์โลก ยังมีปัญหาทั้งการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานที่ไม่ปกติ การอพยพลี้ภัย ความอดอยาก ความไม่เท่าเทียม ภัยธรรมชาติ และโรคระบาดที่ทุกประเทศต้องเตรียมการรับมือ ด้านการต่างประเทศขาดความเข้าใจในบริบทของประเทศไทย นำไปสู่การตั้งคำถาม และความอ่อนไหวต่อความเชื่อมั่นในมุมมองของหลายประเทศ ขณะที่สถานการณ์โลกเกิดปรากฏการณ์ขึ้นมากมาย เกิดพันธสัญญาระหว่างประเทศใหม่ ๆ การรวมกลุ่มของประเทศ เพื่อเจรจาการค้า และสร้างอำนาจต่อรองในเวทีโลก ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องนำมาคิด และกำหนดเป็นนโยบาย เพื่อขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติจริง เพื่อการแก้ไขปัญหา และการบริหารความเสี่ยง” นายกฯกล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า ในห้วง 2 ปีแรกที่รัฐบาลและคสช. เข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อระยะเวลาผ่านไป ผลการทำงานของรัฐบาลเป็นที่ประจักษ์ มีผลสัมฤทธิ์ปรากฏออกมา ทำให้มุมมองและการประเมินที่หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ มีต่อประเทศไทยเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นน่าพอใจ สะท้อนผลการทำงานของรัฐบาลในทุกด้าน สรุปได้ดังนี้ ด้านเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศซึ่งส่งผลกระทบในทางที่ดี กับทุก ๆ ด้าน มีผลการประเมินความเสี่ยงด้านความไม่แน่นอนทางการเมืองดีขึ้นจากอันดับที่ 58 ในปี 57 เป็นอันดับที่ 51 ในปี 2559 ซึ่งดีขึ้น 7 อันดับ ความโปร่งใสในการบริหารงานภาครัฐดีขึ้นจากอันดับที่ 57 ในปี 57 เป็นอันดับที่ 25 ในปี 2559 จำนวนเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลดลงกว่าร้อยละ 50 จำนวนคดียาเสพติดลดลงกว่าร้อยละ 50 ผลการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (ซีพีไอ) เกือบ 180 ประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2556 –2558 ประเทศไทยดีขึ้นทุกๆ ปี อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2556 ก่อนที่รัฐบาลนี้ เข้ามาเราอยู่อันดับที่ 102 ปัจจุบันอยู่อันดับที่ 76 ทั้งนี้ สถาบันและองค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ ได้ประเมินสถานการณ์คอร์รัปชันของไทย ในสายตานานาชาติ ว่าดีที่สุดในรอบ 6 ปี และมีความโปร่งใสดีที่สุดในรอบ 10 ปี
นายกฯ กล่าวว่า ในด้านความเข้มแข็งและขีดความสามารถในการแข่งขัน ทางเศรษฐกิจและสังคม มีผลการประเมินอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง จากร้อยละ 0.8 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 3.2 ในปี 2559 สัดส่วนมูลค่าธุรกิจธุรกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ต่อจีดีพีมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง จากร้อยละ 39.6 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 42.3 ในปี 2559 ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการคมนาคมทางบก ดีขึ้น จากอันดับที่ 48 ในปี 2556 เป็นอันดับที่ 26 ในปี 2559 ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการคมนาคมทางอากาศ ดีขึ้นจากอันดับที่ 23 ในปี 2556 เป็นอันดับที่ 20 ในปี 2559 ความน่าลงทุนระหว่างประเทศ ดีขึ้นจากอันดับที่ 31 ในปี 2556 เป็นอันดับที่ 28 ในปี 2559 องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ประกาศการจัดอันดับดัชนี e-Government ประเทศไทยได้เลื่อนขึ้น จาก 102 ในปี 2014 เป็นอันดับ 77 ปี 2016 จาก 193 ประเทศ สถาบันการจัดการนานาชาติ (ไอเอ็มดี) จัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ปี 2559 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับที่ 28 จากอันดับที่ 30 ในปี 2558 นอกจากนี้ในปี 2558 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ เกือบ 30 ล้านคน สร้างรายได้เข้าประเทศ 1.44 ล้านล้านบาท สูงเป็นอันดับ 6 ของโลก ผลการจัดอันดับประเทศที่มีความทุกข์ยาก น้อยที่สุดในโลก ของบลูมเบิร์กให้ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 จากทั้งหมด 74 ประเทศทั่วโลก และเป็นประเทศที่มีความสุขมากที่สุดในโลก เป็นปีที่ 2 ต่อเนื่องกัน นอกจากนี้ นิตยสารนิวส์ แอนด์เวิลด์ รีพอร์ต ได้จัดอันดับ 60 ประเทศที่ดีที่สุด ประจำปี 2016 โดยประเทศไทยได้ถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 21 ของโลก อันดับสูงสุดในอาเซียน และระบุด้วยว่า ประเทศไทยน่าท่องเที่ยวผจญภัย และเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 4 จาก 60 ประเทศที่ดีที่สุด ซึ่งวัดจากความสวยงามทางธรรมชาติ มรดกทางประเพณี และวัฒนธรรม ลักษณะประชากรและคุณภาพชีวิต โอกาสในการประกอบการ โอกาสด้านธุรกิจ การเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเมือง
“ด้านกฎหมายและการ ต่างประเทศ มีผลการดำเนินงานออกกฎหมายที่จำเป็นได้มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ การแก้ปัญหางาช้าง ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส) ทำให้รอดพ้นจากการถูกคว่ำบาตรทางการค้าจากไซเตส ซึ่งมูลค่าทางเศรษฐกิจ มากกว่า 47,000 ล้านบาทต่อปี การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติ มีความคืบหน้าจนสหรัฐอเมริกา ได้ปรับระดับในรายงานการค้ามนุษย์ (ทริปรีพอร์ท) ประจำปี 2559 ให้ประเทศไทยดีขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลดี ต่อการแก้ปัญหาการประมงผิดกฎหมาย (ไอยูยู) ของทางอียูเนื่องจากมีความเชื่อมโยงกัน โดยสินค้าประมงไทย มีมูลค่าการส่งออก กว่า 240,000 ล้านบาทต่อปี
นายกฯ กล่าวว่า รัฐบาลบริหารประเทศในทุกมิติ ทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม การต่างประเทศ กฏหมายและกระบวนการยุติธรรม รวมถึงด้านอื่น ๆ ซึ่งยืนยันว่ารัฐบาลได้ลงมือทำเพื่อสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้กับประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น