เดลินิวส์พาเที่ยวเหนือ 2 เส้นทางโครงการหลวงเชียงราย
วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน 2555 เวลา 00:00 น.
11.35 น. ด้วยเที่ยวบิน FD 3254 คณะผู้อ่าน นสพ.เดลินิวส์
ผู้ร่วมเดินทางทริปพิเศษ “เยี่ยมชมโครงการหลวง เยือนถิ่นศิลปิน ฉลอง 750
ปีเชียงราย” ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยกองตลาดภาคเหนือ
นสพ.เดลินิวส์ และสายการบินแอร์เอเชีย ก็เหินฟ้ามุ่งหน้าสู่เชียงราย
ดินแดนพญามังราย ผู้ก่อร่างสร้างอาณาจักรล้านนา ณ ริมแม่น้ำกก
ตามโครงการเดลินิวส์พาเที่ยวเหนือ ครั้งที่ 2
ทันทีที่เดินทางถึงสนามบินนานาชาติแม่ฟ้าหลวง และพบกับไกด์ไก่ ผู้นำทางผู้รอบรู้ ผู้ร่วมเดินทางกว่า 30 ชีวิต ต่างแยกย้ายกันขึ้นรถตู้แบบวีไอพีที่จัดเตรียมไว้ต้อนรับ มุ่งหน้าสู่ อ.เชียงแสน ดินแดนสามเหลี่ยมทองคำที่มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว และประเทศพม่า
เชียงแสนเดิมเป็นอำเภอเล็ก ๆ ที่เคยเป็นเมืองเก่าแก่แห่งหนึ่งของภาคเหนือ “เวียงหิรัญนครเงินยาง” แม้จะผ่านกาลเวลามายาวนานแต่ปัจจุบันเชียงแสนยังคงมีซากกำแพงเมืองโบราณ 2 ชั้น และโบราณสถานหลายแห่งปรากฏอยู่ทั้งในและนอกตัวเมือง หากแต่จุดหมายแรกนั้นอยู่ที่ “หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ” สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เสด็จฯมายังอำเภอเชียงแสน บริเวณรอบแม่น้ำโขง ที่ชายแดนทั้งสามประเทศมาบรรจบกัน และมีป้ายชื่อว่า “สามเหลี่ยมทองคำ”
สมเด็จย่าจึงมีรับสั่งว่า ชื่อสามเหลี่ยมทองคำนี้ทำลายภาพลักษณ์และชื่อเสียงของประเทศ คนไทยน่าจะแก้ไขเรื่องนี้จึงส่งผลสืบเนื่องเกิดหอฝิ่นฯแห่งนี้ขึ้นเพื่อเป็น สถานที่ให้ความรู้เรื่องฝิ่นและยาเสพติดต่าง ๆ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนต่อต้านและห่างไกลจากยาเสพติด เป็นสถานที่จัดแสดงถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และพัฒนาการของฝิ่นในสาม เหลี่ยมทองคำ
ภายในมีการจัดนิทรรศการพร้อมสัมผัสเรื่องราวต่าง ๆ ของฝิ่นแบบสมจริง ประกอบแสง สี เสียง และเทคนิคการนำเสนอที่สมบูรณ์แบบ จึงไม่น่าแปลกใจที่ที่นี่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับรางวัลของจังหวัด เชียงราย ได้รับรางวัลแหล่งท่องเที่ยวดีเด่น ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการนันทนาการ ประจำปี 2549
ก่อนจะขึ้นไปชมวิวสามเหลี่ยมทองคำ ที่วัดพระธาตุปูเข้าหรือวัดพระธาตุภูเข้า สถานที่ที่พระพุทธเจ้าบ้วนพระโอษฐ์ สร้างขึ้นบนดอยเชียงเมี่ยง ริมปากน้ำรวก เมื่อ พ.ศ. 1302 ในสมัยพระยาลาวเก้าแก้วมาเมือง กษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งเวียงหิรัญนครเงินยาง โบราณสถานประกอบด้วยพระวิหาร และกลุ่มเจดีย์ที่พังทลาย ก่อด้วยอิฐมีร่องรอยการตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น
เย็นนั้น ททท. ในฐานะเจ้าภาพจึงมีการจัดเลี้ยงมื้อพิเศษ พร้อมการแสดงวัฒนธรรมพื้นเมืองจากนักเรียนโรงเรียนแม่จันวิทยาคม ณ เดอ ริวเวอร์ บูติค รีสอร์ท ริมแม่น้ำโขง ท่ามกลางบรรยากาศกำลังสบาย
หลังจากพักผ่อนกันอย่างเต็มที่แล้ว รุ่งขึ้นทุกคนก็พร้อมเดินทางแต่เช้าเพื่อไปยัง วัดพระธาตุเจดีย์หลวง วัดที่เก่าแก่ของเมืองเชียงแสน สร้างโดยพระเจ้าแสนภู พระราชนัดดาของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรล้านนาไท เมื่อ พ.ศ. 1887 พระธาตุเจดีย์หลวงได้ชื่อมาจากพระเจดีย์องค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ในวัดซึ่ง สูงถึง 88 เมตร มีฐานกว้าง 24 เมตร เป็นพระเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนาที่ใหญ่ที่สุดในเมืองเชียงแสน ภายในวัดนอกจากพระเจดีย์หลวงแล้วยังมีพระวิหารซึ่งเก่าแก่มากพังทลายเกือบ หมดแล้วและเจดีย์ธาตุแบบต่าง ๆ อีก 4 องค์ โบราณสถานแห่งนี้แม้ว่าจะปรักหักพังไปมากแล้วแต่ได้รับการบูรณะอย่างดีให้สม กับเป็นวัดที่สำคัญของเมืองหิรัญนครเงินยางภายในสมัยอาณาจักรล้านนาไท
จากนั้นเดินทางไปยัง อ.แม่สาย แวะชมและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากเมล็ดชา ณ โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริเพื่อศึกษา และทดลองปลูกต้นชาน้ำมันสายพันธุ์คามิเลีย โอเลอิเฟร่อาทิ และยังเป็นโรงงานต้นแบบในการผลิตน้ำมันคุณภาพสูงสำหรับอุปโภคบริโภค ก่อนจะไปชอปปิงตลาดชายแดนแม่สายต่อ
ก่อนจะขึ้นไปชมความงดงามของพระตำหนักดอยตุง พระตำหนักที่ถือเป็นบ้านหลังแรกของสมเด็จย่า สร้างขึ้นโดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ โดยเน้นที่ความเรียบง่าย และการใช้ประโยชน์ ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จย่า พระตำหนักยังได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี และเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าเที่ยวชม เช่นเดียวกับสวนแม่ฟ้าหลวง สวนไม้ดอกไม้ประดับนานาพรรณ
นอกจากนี้คณะผู้อ่านยังได้แวะชมความงดงามของ “วัดร่องขุ่น” ออกแบบและสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย ที่สร้างขึ้นด้วยแรงปณิธานที่มุ่งมั่นรังสรรค์งานศิลปะที่งดงามแปลกตาผสาน วัฒนธรรมล้านนาอย่างกลมกลืน ทั้งลวดลายปูนปั้นประดับ กระจก และจิตรกรรรมฝาผนัง ขนาดใหญ่
ไม่ไกลกันเป็นที่ตั้งของ “ไร่แม่ฟ้าหลวง” อุทยานศิลปวัฒนธรรมอันรื่นรมย์ด้วยหมู่ไม้นานาพันธุ์ โดยมีจุดเด่นอยู่ที่หอคำ สถาปัตยกรรมล้านนาซึ่งมีหลังคามุงด้วยแผ่นไม้สัก ชาวเชียงรายร่วมกันสร้างเพื่อ “ไหว้สาแม่ฟ้าหลวง” ถวายเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา เมื่อปี 2527 ฝีมือช่างไม้พื้นบ้านในจังหวัดเชียงรายและแพร่ ภายในเป็นที่เก็บรวบรวมศิลปวัตถุและงานพุทธศิลป์มากมาย
ก่อนกลับเข้ามาตัวเมืองแวะสักการะพระแก้วจำลองที่ “วัดพระแก้ว” ชาวเชียงรายได้สร้างพระแก้วมรกตองค์ใหม่ขึ้นแทนองค์เดิมที่อัญเชิญมา ประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดา ราม เรียกว่าพระหยกเชียงราย หรือพระพุทธรตนากร นวุติวัสสานุสรณ์มงคล ซึ่งสร้างขึ้นในโอกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระชนมายุ 90 พรรษา
การเดินทางครั้งนี้จบลงด้วยความประทับใจของผู้ร่วมทางทุกคน คอยติดตามการเดินทางทริปพิเศษจากกองตลาดภาคเหนือ ททท.และเดลินิวส์ครั้งต่อไปเร็ว ๆ นี้.
ทันทีที่เดินทางถึงสนามบินนานาชาติแม่ฟ้าหลวง และพบกับไกด์ไก่ ผู้นำทางผู้รอบรู้ ผู้ร่วมเดินทางกว่า 30 ชีวิต ต่างแยกย้ายกันขึ้นรถตู้แบบวีไอพีที่จัดเตรียมไว้ต้อนรับ มุ่งหน้าสู่ อ.เชียงแสน ดินแดนสามเหลี่ยมทองคำที่มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว และประเทศพม่า
เชียงแสนเดิมเป็นอำเภอเล็ก ๆ ที่เคยเป็นเมืองเก่าแก่แห่งหนึ่งของภาคเหนือ “เวียงหิรัญนครเงินยาง” แม้จะผ่านกาลเวลามายาวนานแต่ปัจจุบันเชียงแสนยังคงมีซากกำแพงเมืองโบราณ 2 ชั้น และโบราณสถานหลายแห่งปรากฏอยู่ทั้งในและนอกตัวเมือง หากแต่จุดหมายแรกนั้นอยู่ที่ “หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ” สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เสด็จฯมายังอำเภอเชียงแสน บริเวณรอบแม่น้ำโขง ที่ชายแดนทั้งสามประเทศมาบรรจบกัน และมีป้ายชื่อว่า “สามเหลี่ยมทองคำ”
สมเด็จย่าจึงมีรับสั่งว่า ชื่อสามเหลี่ยมทองคำนี้ทำลายภาพลักษณ์และชื่อเสียงของประเทศ คนไทยน่าจะแก้ไขเรื่องนี้จึงส่งผลสืบเนื่องเกิดหอฝิ่นฯแห่งนี้ขึ้นเพื่อเป็น สถานที่ให้ความรู้เรื่องฝิ่นและยาเสพติดต่าง ๆ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนต่อต้านและห่างไกลจากยาเสพติด เป็นสถานที่จัดแสดงถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และพัฒนาการของฝิ่นในสาม เหลี่ยมทองคำ
ภายในมีการจัดนิทรรศการพร้อมสัมผัสเรื่องราวต่าง ๆ ของฝิ่นแบบสมจริง ประกอบแสง สี เสียง และเทคนิคการนำเสนอที่สมบูรณ์แบบ จึงไม่น่าแปลกใจที่ที่นี่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับรางวัลของจังหวัด เชียงราย ได้รับรางวัลแหล่งท่องเที่ยวดีเด่น ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการนันทนาการ ประจำปี 2549
ก่อนจะขึ้นไปชมวิวสามเหลี่ยมทองคำ ที่วัดพระธาตุปูเข้าหรือวัดพระธาตุภูเข้า สถานที่ที่พระพุทธเจ้าบ้วนพระโอษฐ์ สร้างขึ้นบนดอยเชียงเมี่ยง ริมปากน้ำรวก เมื่อ พ.ศ. 1302 ในสมัยพระยาลาวเก้าแก้วมาเมือง กษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งเวียงหิรัญนครเงินยาง โบราณสถานประกอบด้วยพระวิหาร และกลุ่มเจดีย์ที่พังทลาย ก่อด้วยอิฐมีร่องรอยการตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น
เย็นนั้น ททท. ในฐานะเจ้าภาพจึงมีการจัดเลี้ยงมื้อพิเศษ พร้อมการแสดงวัฒนธรรมพื้นเมืองจากนักเรียนโรงเรียนแม่จันวิทยาคม ณ เดอ ริวเวอร์ บูติค รีสอร์ท ริมแม่น้ำโขง ท่ามกลางบรรยากาศกำลังสบาย
หลังจากพักผ่อนกันอย่างเต็มที่แล้ว รุ่งขึ้นทุกคนก็พร้อมเดินทางแต่เช้าเพื่อไปยัง วัดพระธาตุเจดีย์หลวง วัดที่เก่าแก่ของเมืองเชียงแสน สร้างโดยพระเจ้าแสนภู พระราชนัดดาของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรล้านนาไท เมื่อ พ.ศ. 1887 พระธาตุเจดีย์หลวงได้ชื่อมาจากพระเจดีย์องค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ในวัดซึ่ง สูงถึง 88 เมตร มีฐานกว้าง 24 เมตร เป็นพระเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนาที่ใหญ่ที่สุดในเมืองเชียงแสน ภายในวัดนอกจากพระเจดีย์หลวงแล้วยังมีพระวิหารซึ่งเก่าแก่มากพังทลายเกือบ หมดแล้วและเจดีย์ธาตุแบบต่าง ๆ อีก 4 องค์ โบราณสถานแห่งนี้แม้ว่าจะปรักหักพังไปมากแล้วแต่ได้รับการบูรณะอย่างดีให้สม กับเป็นวัดที่สำคัญของเมืองหิรัญนครเงินยางภายในสมัยอาณาจักรล้านนาไท
จากนั้นเดินทางไปยัง อ.แม่สาย แวะชมและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากเมล็ดชา ณ โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริเพื่อศึกษา และทดลองปลูกต้นชาน้ำมันสายพันธุ์คามิเลีย โอเลอิเฟร่อาทิ และยังเป็นโรงงานต้นแบบในการผลิตน้ำมันคุณภาพสูงสำหรับอุปโภคบริโภค ก่อนจะไปชอปปิงตลาดชายแดนแม่สายต่อ
ก่อนจะขึ้นไปชมความงดงามของพระตำหนักดอยตุง พระตำหนักที่ถือเป็นบ้านหลังแรกของสมเด็จย่า สร้างขึ้นโดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ โดยเน้นที่ความเรียบง่าย และการใช้ประโยชน์ ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จย่า พระตำหนักยังได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี และเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าเที่ยวชม เช่นเดียวกับสวนแม่ฟ้าหลวง สวนไม้ดอกไม้ประดับนานาพรรณ
นอกจากนี้คณะผู้อ่านยังได้แวะชมความงดงามของ “วัดร่องขุ่น” ออกแบบและสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย ที่สร้างขึ้นด้วยแรงปณิธานที่มุ่งมั่นรังสรรค์งานศิลปะที่งดงามแปลกตาผสาน วัฒนธรรมล้านนาอย่างกลมกลืน ทั้งลวดลายปูนปั้นประดับ กระจก และจิตรกรรรมฝาผนัง ขนาดใหญ่
ไม่ไกลกันเป็นที่ตั้งของ “ไร่แม่ฟ้าหลวง” อุทยานศิลปวัฒนธรรมอันรื่นรมย์ด้วยหมู่ไม้นานาพันธุ์ โดยมีจุดเด่นอยู่ที่หอคำ สถาปัตยกรรมล้านนาซึ่งมีหลังคามุงด้วยแผ่นไม้สัก ชาวเชียงรายร่วมกันสร้างเพื่อ “ไหว้สาแม่ฟ้าหลวง” ถวายเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา เมื่อปี 2527 ฝีมือช่างไม้พื้นบ้านในจังหวัดเชียงรายและแพร่ ภายในเป็นที่เก็บรวบรวมศิลปวัตถุและงานพุทธศิลป์มากมาย
ก่อนกลับเข้ามาตัวเมืองแวะสักการะพระแก้วจำลองที่ “วัดพระแก้ว” ชาวเชียงรายได้สร้างพระแก้วมรกตองค์ใหม่ขึ้นแทนองค์เดิมที่อัญเชิญมา ประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดา ราม เรียกว่าพระหยกเชียงราย หรือพระพุทธรตนากร นวุติวัสสานุสรณ์มงคล ซึ่งสร้างขึ้นในโอกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระชนมายุ 90 พรรษา
การเดินทางครั้งนี้จบลงด้วยความประทับใจของผู้ร่วมทางทุกคน คอยติดตามการเดินทางทริปพิเศษจากกองตลาดภาคเหนือ ททท.และเดลินิวส์ครั้งต่อไปเร็ว ๆ นี้.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น