วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

พระสมเด็จแตกลายงา

การศึกษาพระสมเด็จแตกลายงา
๑.ต้องดูพิมพ์พระก่อนอื่นใดว่าใช่พิมพ์พระสมเด็จไหม?/ถ้าไม่ใช่ก็ผ่านไปเลย/ไม่ต้องส่องพระ
๒.ต้องดูเนื้อพระว่ามีมวลสารไหม(มาก/น้อยแล้วแต่)ถ้าไม่มีมวลสารและแตกลายงาไม่น่าใช่พระสมเด็จ
๓.ต้องดูธรรมชาติขององค์พระ
-มีคราบแป้งขาวแห้งสนิท/และอาจเป็นก้อนจิ๋วๆไปทั่ว/ซึ้งอาจเป็นเชื้อราเกาะกินและได้แห้งลงมานานแล้ว
-การแตกลายงาจะละเอียดมาก/ลายแตกลายงามักจะมีลอยเป็นเส้นดำๆ/น้ำตาลไปทั่วองค์พระ
-มีคราบสีน้ำตาลบางๆ
-แตกลายงาเฉพาะด้านหน้า/ทั้งนี้เพราะถูกความร้อนด้านนี้เฉพาะ/ท่านที่ใช้ถ้วยกาแฟดื่มนับเป็นปีจะเห็นว่าด้านในจะแตกลายงาด้านนอกไม่แตก(ลองเอามาสังเกตุดูแล้วจะทราบเอง)
๔.ด้านหลังมักจะเป็นหลังเรียบ/มองเห็นมวลสารทั่วไปและจะเป็นสีน้ำตาลเช่นเดียวกับด้านหน้า
๕.การตัดขอบพระจะเหมือนกับพระสมเด็จทั่วไป/ขอบพระจะไม่แน่น/ถ้าแน่นคงไม่ใช่
๖.ขอบข้างต้องมองเห็นมวลสาร/มีรอยปริ/แตก/แยกเป็นทางยาว
๗.พระต้องแห้งสนิท/ดูไม่เปียกชุ่ม
๘.เมื่อพระกระทบโลหะจะกังวาล/ไม่มีเสียงทึบ/เพราะแสดงว่าข้างในปราศจากฟองอากาศแล้ว
๙.ด้านหลังพระไม่คม/ถ้าคมไม่ใช่แน่นอน
๑๐.ฐานชั้นล่างสุดตรงกลางมักยุบนิดหน่อยเป็นล่องยาวเกือบตลอดฐาน
๑๑.ซอกลึกๆมักจะเห็นคราบแป้งดี/พื้นพนังก็มักเห็น
๑๒.เนื้อพระต้องไม่ตรึง

ม. โชคชัย ทรงเสี่ยงไชย


.....................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น