เคล็ดรับการแสวงหาพระสมเด็จที่ดีสุดยอด (โดย ม. โชคชัย)
๑.ดูจากพิมพ์ทรงที่เขานิยมกัน คือห้า พ(พอ) ซึ่งมี พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ฐานแซม พิมพ์เกศบัวตูม และพิมพ์ปกโพธิ์ คงใช้เวลาไม่เกินสามสิบวินาที เพราะการดูพิมพ์เก่งช่วยอ่านพระได้เร็ว ถ้าพิมพ์ไม่ใช่วางเลย ไม่ต้องส่องพระอีก เพราะมัวแต่ส่องโอกาสจะเก็บพระนั้นไว้ใช้เองมีสูงมาก
๒.จับพระลูบพระดูเบาๆ ต้องรับรู้ความต่ำสูงไม่เท่ากันของชิ้นพระอันนี้สำคัญ เพราะเกิดจากการปราดเนื้อพระด้านหลังออก และการยุปตัวของแผ่นพระเป็นต้นเหตุ
๓.สังเกตด้านหน้า พื้นผนังพระต้องยุปอันนี้สำคัญ ตัวพระต้องไม่สูงเกินเส้นครอบแก้วอันนี้สำคัญมากๆ สังเกตลอยฝุ่นเกาะ เพราะพระร้อยกว่าปีต้องมีลอยฝุ่นเกาะ เหมือนกับพื้นบ้านที่ไม่เคยถู บางคนเรียกเม็ดผดซึ่งจะเกาะแน่น
๔.ดูขอบพระ ขอบพระต้องไม่แน่นปึกตลอดทั้งสี่ด้าน จะต้องมีลอยยุป มีล่อง รู เห็นลอยฝุ่นเกาะ เห็นมวลสารบ้าง ขอบต้องไม่คม มีลอยสึกกร่อน หงิกๆ ขอบสี่เหลี่ยมด้านหน้าต้องไม่ใหญ่กว่าด้านหลัง อาจมองเห็นลอยตัดขอบพระ/เส้นครอบแก้วพระต้องเป็นสันเด่น พระบางองค์อาจติดไม่ตลอด
๕.ดูเนื้อพระ เนื้อพระต้องยุป/แยก/ย่น/เหี่ยว/แยก ทั้งห้า ย(ยอ)นี้สำคัญมากๆ ต้องศึกษาดูให้ดี ลอยน้ำลดต้องปรากฎให้เห็นเพราะน้ำระเหยไปหมดแล้ว ถ้าไปเที่ยวชายทะเลจะรู้ว่าลอยน้ำลดเป็นเช่นไร /มีมวลสารบ้างอันนี้ก็สำคัญแต่ไม่จำเป็นต้องเยอะเพราะมวลสารทำให้พระศักสิทธิ์ เพราะถือเป็นหลักการใหญ่ในการผสมสร้างพระเครื่องเพื่อให้เกิดพุทธคุณตามวัตถุประสงค์
๖.ถ้าเนื้อพระหลุด/กระเทาะไป เนื้อพระข้างในต้องสีไม่เหมือนข้างนอก ส่องดูจะเนื้อพรุน และให้สังเกตคราบแป้งโรยพิมพ์ด้วย ถ้าหลงเหลืออยู่ก็ช่วยดูง่ายขึ้น
๗.ด้านหลังพระช่วยทำให้ดูง่ายขึ้น คือต้องมีลอยปราด/มีลอยเป็นเส้นๆ/มีลอยยุป/แยกเปรียบเหมือนถนนลูกรังเพื่อให้เข้าใจง่าย และต้องอาศัยหลักห้ายอช่วยพิจารณาด้วย (บางคนเรียกลอยกราบหมาก/สังขยา/แผ่นกระดาน/หลังเรียบ)
๘.ต้องเข้าใจการผสมของเนื้อพระกับน้ำมันตังอิ้วให้ดีๆ พระบางองค์ผสมน้ำมันตังอิ้วมาก เนื้อพระจะแน่นแต่มีลอยแบบตารางใยแมงมุมไปทั่วลักษณะห้ายอจะไม่เด่นชัด พระบางองค์น้ำมันตั้งอิ้วน้อยมวลสารเยอะ พระจะดูแห้งมากๆดูเปราะแต่ไม่แตกหักง่าย ลักษณะห้ายอ จะเห็นชัด พระบางองค์แก่ปูนเปลือกหอยเนื้อพระจะออกเป็นเกล็ดๆแห้งเหมือนตกสะเก็ดมีคราบระเปิดของแคลเซี่ยมแห้ง พระบางองค์แก่ดินสอพองเนื้อพระจะเงางามแบบเนื้องาสวยพระแบบนี้มีมากเพราะดินสอพองเป็นหลัก อีกอย่างสีของพระก็ไม่เหมือนกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับส่วนผสมของมวสารและน้ำมันตังอิ้ว แต่ทั้งหมดนั้นลองเอาพระเคาะดูกับฟันจะมีเสียงกังวาลเหตุเพราะภายในอนูมวลสารโปร่งไม่เกาะติดกันแน่น เพราะไม่มีความชื้นหลงอยู่ พระที่แตกลายงาส่วนมากด้านหน้าจะถูกความร้อนมากกว่าด้านหลังอันเนื่องมาจากที่อยู่ของพระเป็นเหตุ ถ้าท่านเคยกินกาแฟใช้ถ้วยดินเผาธรรมดาที่ราคาไม่แพงใบเดิมๆกินประจำ ท่านจะเห็นว่าเนื้อด้านในถ้วยแก้วแตกลายงาเพราะความร้อน การดูเนื้อพระนี้สำคัญมากหลังจากดูพิมพ์ว่าใช่แล้ว เพราะพระเนื้อมวลสารดีจะมีอานุภาพดีมากกว่า ไม่งั้นท่านจะแสวงหามวลสารมาทำพระทำไม และพระสมเด็จวัดระฆังนั้นดีกว่า/แพงกว่าของบางขุนพรหมมากๆ ก็เนื่องมาจากมวลสารนี้เอง (มวลสารต้องเลือก/ทำ/แสวงหา/เก็บสะสม)
๙.ถ้าหากเนื้อพระติดแบบพิมพ์ได้ดีทั้งหมด พระสมเด็จนั้นจะมีราคาแพงและควรเก็บรักษาไว้อย่าปล่อยไปง่ายๆเพราะทั้งพิมพ์และเนื้อจะชัดเจนไร้ข้อกังขา ศึกษาง่ายใครเห็นก็ชอบ
๑๐.พยายามหาพระที่เป็นธรรมชาติ พระแตกหักไม่เป็นไรขอให้ซ่อมให้ดีก็แล้วกัน อย่าเอาพระไปปราดเหงื่อ/ไม่ดีเลยอย่าทำ เพราะอานุภาพจากพระจะถูกปิดกั้นมากจากเหงื่อสกปรกของเราอันเนื่องมาจากเจตนาไม่ดีของเรา ปล่อยให้เป็นธรรมชาติของกาลเวลา อย่าเอาพระไปล้างเพราะจะดูยากข้อมูลหายเยอะ
๑๑.พระเครื่องนั้นตามธรรมดาแล้วคนสมัยก่อนเขาจะเก็บไว้ที่หิ้งพระ/หรือกล่องพระมาแต่โปราณ/หรือห่อไว้ ถ้าได้พระแบบนี้จะดีมากๆ หมั่นแสวงหาแล้วคงพบเองในที่สุด เก๊ไม่กลัวกลัวแพง
๑๒.หมั่นสวดคาถาชินบัญชรถ้าอยากได้พระสมเด็จ เพราะผู้สร้างจะเป็นผู้ให้เรา นี่คือความจริงแท้แน่นอน
๑๓.บทสรุปการแสวงหาพระสมเด็จคือ พิมพ์ถูก เนื้อใช่ ธรรมชาติถึง นี่คือหนทางสู่การได้พระสมเด็จจากผู้สร้างเหตุเพราะทุกอย่างในโลกนี้ย่อมสืบไปหาต้นตอได้ เหมือนการเรียนรู้เรื่องลายนิ้วมือ เราย่อมหาตัวตนคนคนนั้นได้ในที่สุด ถ้ามีการบันทึกและศึกษาไว้
๑๔.พระสมเด็จนั้นทั่วๆไปไม่ควรมีราคาแพงเกินไป โดยทั่วไปแล้วควร ราคาหลักหมื่นต้นๆถึงไม่เกินแสนจะดีที่สุด ยกเว้นองค์ที่สุดยอดสมบูรณ์แบบจริงๆจึงราคาหลักล้าน
๑๕.พระสมเด็จนั้นคงมีหลายหมื่น ลองคิดดูแบบง่ายๆ ถ้าเดือนหนึ่งทำพระสักสิบวัน/ครั้งละร้อยองค์/เดือนหนึ่งก็ได้พันองค์/ปีหนึ่งก็ได้ ๑๒,๐๐๐ องค์ ถ้าทำสี่ปีก็จะได้ ๔๘,๐๐๐ องค์ ถ้าหลายปีก็ยิ่งมาก เพราะฉะนั้นพระสมเด็จคงมีให้สำหรับผู้ที่แสวงหาแน่นอน แต่คงไม่มีสำหรับทุกๆคนเป็นแน่แท้
---------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น