วัดศรีชุม วัดพม่าศิลปะแบบพม่าและมอญ
ที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในประเทศไทย
วัดศรีชุม ตั้งอยู่ที่บ้านศรีชุม ต.สวนดอก
อ.เมือง จ.ลำปาง เป็นวัดที่สร้างขึ้นโดยคหบดีชาวพม่า
ที่เข้ามารับจ้างทำป่าไม้ และอาศัยอยู่ในเมืองลำปาง
ตามประวัติวัดศรีชุมนั้นกล่าวไว้ว่า ก่อนที่คหบดีพม่าจะสร้างวัดขึ้น
ที่บริเวณนี้วัดศรีชุม เคยเป็นวัดพม่าที่น่าสนใจวัดหนึ่งใน ต.สวนดอก
อ.เมือง จ.ลำปาง ซึ่งเป็นวัดที่สวยงามทางด้านศิลปะของพม่า
มีพระบรมธาตุซึ่งเป็นพระบรมธาตุสีทองเป็นศิลปะแบบพม่าและมอญ
ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่อันเชิญจากพม่า เมื่อ พ.ศ.2449 วัดศรีชุม
เป็นวัดที่กรมศิลปากรประกาศให้เป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.2524
มีความงามที่สวยงามวิจิตรพิสดารที่เน้นศิลปะในด้านการแกะสลักไม้สัก
สลักเป็นลาย
ลวดลายการขดและลายเครือเถาห้อมย้อยลงมาคล้ายม่านของทางขั้นบันไดทั้ง 2 ข้าง
ที่มีหลังคายื่นออกมาคลุมที่หน้าบันไดเพียงเท่านั้น
วิหารหลังนี้จึงต้องสร้างขึ้นใหม่ตามรูปแบบสถาปัตยกรรมเดิม
วัดนี้เคยเป็นที่ตั้งของวัดมาก่อน แต่เดิมนั้นมีเพียงศาลาหลังหนึ่ง บ่อน้ำ
และต้นศรีมหาโพธิ์เท่านั้น ไม่มีกุฏิ ไม่มีพระ
เนื่องจากมีต้นศรีมหาโพธิ์ล้อมรอบวัดอยู่หลายต้น
จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านเรียกชื่อวัดว่า “วัดศรีชุม”
ต้นศรีมหาโพธิ์นี้เรียกตามภาษาไทยล้านนาว่า “ศรี” คำว่า “ชุม” ความหมายว่า
ชุมนุม ล้อมรอบ ดังนั้นเมื่อมีความหมายดังกล่าว
คหบดีชาวพม่าจึงได้ทูลขออนุญาตเจ้านครลำปาง แล้วสร้างวัดศรีชุมนั้นขึ้น
โดยตั้งชื่อเป็นภาษาพม่าว่า หญ่องไวง์จอง
วัดศรี
ชุม สร้างเมื่อ พ.ศ.2433 โดย จองตะก่าอูโย
พ่อเลี้ยงอู่หม่องยีและแม่เลี้ยงป้อม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.2436
การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสจำนวน 8 รูป คือ ระหว่าง พ.ศ.2434-2482
พระสย่าต่ออุสุมะณะ ระหว่าง พ.ศ.2482-2491 พระอูสุซ่าตะ ระหว่าง
พ.ศ.2491-2494 พระอูโอ่งส่วย ระหว่าง พ.ศ.2496-2498 พระอูอ่องเต็ง ระหว่าง
พ.ศ.2498-2500 พระอูเกเตะยะ ระหว่าง พ.ศ.2500 พระอูปัญญา วังสะ
พระใบฎีกาสิทธิโชติกรณ์ (หลวงพ่อเฉลียว ระหว่าง พ.ศ.2544-2550 ปฐมสยามสมภาร
เจ้าอาวาสพระสงฆ์ไทยรูปแรก) พระครูสุตชยาภรณ์
ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นพระไทยรูปที่ 2 ตั้งแต่ 2551 ถึงปัจจุบัน
วัดศรีชุมนี้ขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่งในปี
พ.ศ.2436 ปราสาทหลังกลางของวัด จองตะก่าอูโย ได้สร้างขึ้นเป็นกุฏิไม้ก่อน
ในปี พ.ศ.2443 ต่อมาพ่อเลี้ยงอูหม่องยี
ผู้เป็นลูกเขยได้สร้างขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยเปลี่ยนจากไม้มาเป็นกุฏิตึก
ก่อด้วยอิฐถือปูน แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2444
ปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นด้วยฝีมือช่างศิลปะแบบพม่า
ซึ่งได้ช่างมาจากเมืองมันฑะเลย์ ประเทศพม่า
มาเป็นช่างสร้างวิหารของวัดนี้เป็นไม้แกะสลักลวดลายวิจิตรพิสดาร
ส่วนที่ฝาผนัง เพดาน และเสาไม้ต้นใหญ่ๆ ในวิหารลงรักปิดทอง
มีความสวยงามแปลกตาออกไป
พระอุโบสถ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2444
กุฏิตึกหลังที่อยู่ด้านทิศเหนือ พ่อเลี้ยงอูหม่องยี ก็ได้สร้างถวายในปี
พ.ศ.2493 และพ่อเลี้ยงอูสั่นลิน ได้สร้างพระธาตุเจดีย์ถวายในปี พ.ศ.2492
วัดศรีฯ
จัดเป็นวัดพม่าที่มีความสมบูรณ์พร้อม กล่าวคือ มีทั้งพระวิหาร พระอุโบสถ
พระธาตุเจดีย์ กุฏิ และซุ้มประตูเป็นแบบอย่าพม่าทั้งสิ้น
สำหรับพระวิหารที่ตั้งอยู่กึ่งกลางวัด
เป็นอาคารตึกครึ่งไม้แบบพม่า กล่าวคือมีหลังคาซ้อนกันหลายชั้น
แต่ละชั้นลดหลั่นกันถึง 7 ชั้น ขึ้นไปหาเรือนยอด
ชั้นบนสุดประดับด้วยฉัตรทองคำ ตัวพระวิหารมีมุขบันไดทางขึ้นทั้ง 2 ด้าน
ซึ่งทั้ง 2 มุขมีลวดลายแกะสลักลงรักปิดทอง
มีภาพตุ๊กตาพม่าสลับบนลายเครือเถา หน้าบันไดเป็นลายดอกไม้ประดับ กระจกสี
ส่วนบนเพดานวิหารแต่ละช่องประดับด้วย
ตุ๊กตาแกะสลักเป็นรูปต่างๆ ไม่ซ้ำกัน มีทั้งสิงโต ปลา วัว ลิง นก ช้าง ม้า
เด็ก และเทวดานอกจากรูป
แบบการก่อสร้าง
การจำหลักไม้และการประดับกระจก อันเป็นศิลปะที่ชี้ชัดว่าเป็นแบบพม่าแล้ว
พระประธานที่ประดิษฐานไว้ตรงตำแหน่งที่ตรงกับส่วนที่เป็นหลังคาซ้อนกัน 7
ชั้นบนวิหารนี้ ก็เป็นพระพุทธรูปแบบพม่า ปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ พระนลาฏต่ำ
พระพักตร์แบน พระขนงโก่ง พระนาสิกเป็นสัน พระโอษฐ์อมยิ้ม พระหนุมน
พระกรรณยาว และโค้งเล็กน้อยจรดพระอังสา พระเกศามีเม็ดพระศกละเอียด
ไรพระศกเป็นแถบกว้าง ห่มจีวรลดไหล่แต่มีผ้าหลุมไหล่ทั้งซ้ายและขวา
พระประธานของวัดพม่าในลำปาง
ส่วนใหญ่แกะสลักจากไม้สักทั้งต้นแล้วปิดทอง
แต่ใช่ว่าพระพุทธรูปพม่าจะต้องแกะสลักจากไม้เท่านั้น
บางองค์ก็สลักจากหินอ่อน ถ้าเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ก็สลักจากหินอ่อน
ถ้าเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่มากก็ใช้วิธีสร้างแบบก่ออิฐถือปูน
เช่นเดียวกับพระพุทธรูปของไทย
พระวิหารวัดศรีชุม ถูกไฟไหม้ 2 ครั้ง
ครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2535 จึงมีการบูรณะซ่อมแซมขึ้นมาใหม่
โดยถ่ายแบบจากของเดิมทุกประการ แต่ก็อาจจะงดงามเทียบของเก่าแทบไม่ได้
และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2554 ไฟไหม้เกือบทั้งหลัง
ตอนนี้รอการการบูรณะซ่อมแซมอยู่
สำหรับพระธาตุเจดีย์ ก็เป็นเจดีย์ทรงกลม
ก่ออิฐถือปูนแบบพม่า รอบคอระฆังมีลวดลายปูนปั้น
ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อาคารที่งดงามของวัดศรีชุม คือ
วิหารและโบสถ์ ซึ่งตั้งอยู่แยกกัน มีสนามหญ้ากั้นกลาง
โบสถ์วัดนี้เป็นอาคารที่มีพื้นที่สี่เหลียมจัตุรัส
ลักษณะมีเสารับชายคาปักนกเช่นเดียวกับเสานางเรียง
โดยรอบทางเข้าหน้าโบสถ์เป็นบันไดนาคช่วงสั้นๆ
มีนาคคู่ซึ่งเป็นปูนชั้นที่มีลวดลายงดงาม
ประตูด้านหน้าตรงบันไดนาคมีลวดลายประดับกระจกสีที่ละเอียดงดงามมาก
ลักษณะหลังคาโบสถ์เป็นหลังคาทรงมณฑปย่อมไม้สิบสอง ประดับด้วยเรือนยอด 5 ยอด
ยอดกลาง 7 ชั้น ประดับด้วยโลหะลายละเอียด ส่วนเรือนยอดจตุรมเป็นเรือนยอด 5
ชั้น
รูปทรงและสัดส่วนของโบสถ์นี้จัดว่างดงามสมบูรณ์ที่สุดในบรรดาศิลปะแบบพม่าใน
เมืองไทย สำหรับวิหารเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีซุ้มทางชั้นคลุมบันได 2
ซุ้ม หลังคาคลุมบันไดเป็นหลังคาซึ่งซ้อน 2 ชั้น
ประดับตกแต่งด้วยไม้แกะสลักละเอียดอ่อนช้อย
โดยเฉพาะลายไม้แกะสลักของสาหร่ายรองผึ้งตรงทางเข้า
แกะสลักเป็นลวดลายพรรณพฤกษา เหนือหลังคาจึงซ้อนชั้นของทางเข้าเป็นเรือนยอด 7
ชั้นและ 5 ชั้นลดหลั่นกันตามลักษณะเรือนยอดแบบศิลปะพม่า
ปลายสุดของเรือนยอดประดับด้วยฉัตรทอง
วัดศรีชุมนี้นอกจากจะมีลักษณะสถาปัตยกรรมที่สวยงามเป็นเลิศแล้ว
ยังมีเครื่องใช้ต่างๆ
ที่เป็นศิลปะการปิดทองประดับกระจกเข้ารวบรวมไว้ในวิหารอีกมากมายด้วย
ธาตุที่อัญเชิญมาจากพม่า เมื่อปี พ.ศ.2449
พระธาตุเจดีย์นี้ตั้งอยู่ข้างพระอุโบสถ
การเดินทาง วัดศรีชุม
ตั้งอยู่ที่ถนนศรีชุม-แม่วะ ทางเดินสายจากถนนไฮเวย์ลำปาง-งาว
(ขาเข้ามาในตัวเมืองลำปาง) เจอสี่แยกไฟแดงแยกศรีชุม เลี้ยวซ้ายไปประมาณ 100
เมตร จะพบทางเข้าวัดอยู่ทางด้านซ้ายมือ
วิทยา ยะเปียง/ลำปาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น