หลักการดูพระเครื่องหลวงพ่อทวด/ปู่ทวดเนื้อว่านปี ๙๗
๑.เนื้อพระหยาบแต่อัดแน่นมากเพราะส่วนผสมบดไม่ละเอียด
๒.พระต้องแห้งสนิทไม่มีกลิ่น ไม่ดูเปียกๆ
๓.มีคราบน้ำว่านเกาะผิวคล้ายไข มีสีต่างๆ เช่น สีเหลืองอ่อนขุ่น/สีเทาอ่อน/สีคราบน้ำหมาก/สีขาวนม/สีสนิม/สีเปลือกมงคุด
๔.ต้องดูพิมพ์พระให้ดีมีหลายขนาดหลายพิมพ์
๕.ข้างตัวพระยุปเป็นล่องตลอด
๖.ดูเม็ดแร่สีต่างๆ เช่นสีดำ/สีอิฐ/สีขาวขุ่น/มีประกายแร่
๗.ดูขอบพระมียุปนิดๆมีครีบบางๆเป็นเส้น
๘.มีรูใต้ก้นพระเกิดจากการเสียบเอาพระออกจากพิมพ์
๙.พระมีหลายสีเกิดจากน้ำว่านต้องพิจารณาดูให้เป็นด้วย
๑๐.ด้านหลังพระต้องพิจารณาให้ดีเพราะตั้งแต่ข้อ๑ถึงข้อ๙จะปรากฎชัดเจนทางด้านหลัง
๑๑.พระมีประมาณ ๘๔,๐๐๐องค์ดังนั้นช่วงปริมาณจำนวนพระหลังๆจึงได้พระไม่ค่อยสวยเพราะเร่งทำ ถ้าเจอพระประเภทหลังนี้อย่าเร่งรีบชี้เก๊แท้ ถ้าราคาไม่แพงและน่าใช่ตามหลักการให้เช่าไว้
๑๒.พระเนื้อว่านนี้น่าเก็บสะสมมากที่สุด เพราะมีคุณค่าทางภูมิปัญญาชาวบ้านมากๆ ดีกว่าพวกเนื้อโลหะหลายเท่าตัวนัก จะบอกให้!
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระผมช่างใส่กรอบแล้วขอบโดนน้ำยาร่อนมาเป็นชิ้น แต่กลายเป็นโชคดีเจอบุษราคัมเม็ดนึงผสมอยู่ด้วยครับ
ตอบลบ