วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

เป็นเรื่องที่น่าศึกษาและเรียนรู้เพื่อพัฒนา

สิ่งที่คนตระกูลลี ไม่เคยบอกคนลอดช่อง และชาวโลก
ลี กวน ยิว ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรก ยาวนานถึง 31 ปี
ก่อนจะส่งไม้ต่อให้กับ โก๊ะ จ๊ก ตง ที่ครองตำแหน่งนาน 14 ปี
แล้วจึงมาถึงคิวของ ลี เซียน ลุง ผู้เป็นลูกชาย ลี เซียน ลุง หรือ LSL
ที่นั่งเก้าอี้ นรม. มาแล้ว 10 ปี ถือเป็นการเรื่องผูกขาด การเมืองภายในครอบครัว

ธุรกิจ รัฐวิสาหกิจ ใหญ่ๆ เป็นของตระกูลลีหมด แบ่งเป็น ลูกสาว สะไภ้ คุมคนละสาย ลูกชาย LSL ที่นั่งเป็นนายกฯ คือทายาทการเมือง นางโฮชิง ภริยาของ LSL เคยเป็นถึงประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือเทมาเส็ก นายลี เซียน ยัง ลูกชายคนเล็ก เป็นประธานและCEO ของ สิงเทล บริษัทสื่อสารยักษ์ใหญ่ในภูมิภาค อาเซียน และเป็นองค์กรเอกชนที่ใหญ่สุด ในสิงคโปร์ โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ คือบริษัท เทมาเส็ก ลูกสาวคนเล็ก ลี เวย ลิง เคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถาบันแห่ง ชาติประสาทวิทยา (National Neuroscience Institute) ในสิงคโปร์ คนตระกูลลี คุมอำนาจค้าปลีกคลัง กลั่นน้ำมัน เดินเรือ การบิน พยายามแย่งศูนย์กลางการเงินและไอที

ตลอดเวลาที่อยู่ในตำแหน่งผู้นำประเทศได้ถูก กลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน วิพากษ์วิจารณ์ ถึงระบบการปกครองสิงคโปร์ ที่เป็นแบบเผด็จการกำปั้นเหล็ก คู่แข่งทางการเมืองและนักการเมืองฝ่ายค้าน จำนวนมาก ถูกจำคุกหรือกลายเป็นบุคคลล้มละลาย เพราะถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย ในคดีหมิ่นประมาท จนปัจจุบัน มี สส. ฝ่ายค้านหลงเหลืออยู่ในสภาเพียง 6 คน เขตไหนไม่เลือกพรรครัฐบาล ไม่ได้รับการใส่ใจพัฒนา

ในช่วงเวลาที่ "ต้นตระกูลลี" อยู่ในจุดสูงสุดของอำนาจ ผู้ไม่เห็นด้วยจำนวนมาก ต้องล้มละลายหรือต้องหนีออกนอกประเทศ หลังจากถูกสั่งให้ต้องจ่ายค่าเสียหาย ฐานหมิ่นประมาทเป็นจำนวนเงินมหาศาล กลุ่มที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกหัวรุนแรง จะถูกควบคุมตัวโดยไม่ต้องตั้งข้อหา ภายใต้กฎหมายความมั่นคงภายใน

นโยบายที่ถูกวิจารณ์หนัก ที่เรียกว่า "รัฐพี่เลี้ยง" ภายใต้นโยบายที่สนับสนุนพลเมือง ที่มีการศึกษาสูงให้มีบุตร เพื่อสร้างเยาวชนที่มีคุณภาพรุ่นต่อไป นโยบายห้ามขายหมากฝรั่ง รวมถึงการกำหนดโทษหนักกรณีถ่มน้ำลายบนถนน หรือไม่กดชักโครกห้องน้ำสาธารณะ

ลี กวน ยู สร้างระบบที่ทุกคนต้องทำงานหนัก และมุ่งส่งเสริมสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม ระบบเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ทวีความอำมหิต จากตัวเลขของทางการสิงคโปร์เองยอมรับว่า คนรวยในสิงคโปร์รวยขึ้น ขณะที่คนจนจนลง คนรุ่นใหม่ที่เกิดจากครอบครัวชนชั้นกลาง ในสิงคโปร์เริ่มถามหาความรับผิดชอบจากรัฐบาล

หลักการของลี กวน ยู ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอาวุโส นับตั้งแต่ลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เชื่อว่า "ไม่มีของฟรีบนโลกใบนี้ ไม่มีอาหารฟรี ไม่มีของแจก และไม่มีการอุดหนุน"

รัฐบาลสิงคโปร์อนุญาต ให้นำเข้าแรงงานต่างชาติราคาถูก เพื่อทดแทนการขาดแคลนแรงงานในประเทศ ตระกูลลี ไม่เชื่อในเรื่องการ กระจายรายได้ แต่เชื่อในเรื่องการเติบโต ทางเศรษฐกิจว่า จะแก้ปัญหาความยากจน ฉะนั้นสิงคโปร์จึงใช้ประโยชน์ จากแรงงานต่างชาติราคาถูก ซึ่งไม่จำเป็นต้องให้สวัสดิการมากมาย เพื่อคงความได้เปรียบ ทางการแข่งขัน

เมื่อตกงาน คนสิงคโปร์บางส่วน ต้องยอมลดค่าแรงตัวเอง เพื่อแข่งขันกับแรงงานต่างชาติ ขณะที่รัฐบาลเกรงปัญหาสมองไหล จึงพยายามขึ้นเงินเดือน ให้ผู้บริหารระดับสูง ฉะนั้นช่องว่างรายได้จึงถ่างสูงขึ้นทุกขณะ แม้ในที่สุด รัฐบาลสิงคโปร์ตั้งโครงการช่วยเหลือคนจน 'เอื้ออาทร' ผ่านองค์กรสาธารณกุศลเท่านั้น

สิงคโปร์เป็นสังคมที่วัตถุนิยม เป็นใหญ่แบบสุดๆ นับตั้งแต่คนต้นตระกูลลี ปกครองประเทศตั้งแต่ปี 2492 ระบบที่เชิดชูชนชั้นสูง ถูกพัฒนาเป็นลำดับ ชนชั้นสูงเหล่านี้ จะขึ้นมาควบคุมทุกอย่าง โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิดโอกาส ให้ตรวจสอบ งระบบนี้พัฒนาคนโดยผ่าน ทางการให้ทุนศึกษา ต่อในต่างประเทศ เพื่อกลับมาทำงาน ในหน่วยงานของรัฐ ชนชั้นนำของสังคมเหล่านี้จะวนเวียน อยู่แต่ในกลุ่มของพวกพ้องตัวเอง ทำหน้าที่ปกครองประเทศ โดยไม่ต้องสนใจใคร เนื่องจากไม่มีใครสามารถตรวจสอบได้ โดยเฉพาะการจัดทำ และใช้จ่ายงบประมาณของประเทศ

ความสามารถในการใช้จ่าย ถูกจัดเป็นตัวชี้ความสำเร็จ ยิ่งมีวัตถุมากเท่าไร ก็จะมีอำนาจมากเท่านั้น นี่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ค่านิยมที่ผลักดัน โดยนโยบายของรัฐบาล ส่งผลในเชิงสังคมด้วย ถ้าไม่มีทรัพย์สิน หรือไลฟ์สไตล์ที่ดีพอ จะไม่มีคนสนใจแต่งงานด้วย คู่แต่งงานก็ไม่อยากจะมีลูก เพราะค่าใช้จ่ายมันแพงเกินไป คนรุ่นใหม่จะไม่อยู่กับพ่อแม่ จะแยกอยู่ต่างหาก เพราะค่านิยมความเป็นส่วนตัว

ความสัมพันธ์ระหว่าง นายจ้างและลูกจ้างนั้น ถ้าเงินเดือนไม่ขึ้น คุณก็พร้อมจะไปทำงานที่ใหม่ทันที หรือทันทีที่มีคนเสนอข้อเสนอ ที่ดีกว่า นายจ้างก็จะจ้างเฉพาะคนที่มีประสิทธิภาพ เต็มที่เท่านั้น ไม่ได้ใส่ใจว่าแต่ละคนต้อง มีภาระครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ

คนรุ่นใหม่ในสิงคโปร์จะมีลักษณะเด่นคือ เป็นคนพันธุ์ที่สนใจแต่เรื่องของ ตัวเอง (Self-centeredness) งานอาสาสมัคร การบริการสังคมไม่อยู่ในหัว และที่สำคัญ คนรุ่นใหม่จะมีความเห็นอกเห็นใจ เพื่อนมนุษย์น้อยลง ต้องทำตัวเองให้ไปอยู่จุดสูงสุด ดูถูกและรังเกียจคนที่ผิดพลาด ล้มเหลว

ชนชั้นกลาง กำลังเป็น 'คนจนรุ่นใหม่' มีสาเหตุหลักจากการเปลี่ยนโครง สร้างของสังคม เช่น การสร้างเศรษฐกิจ ที่ใช้ความรู้เป็นหลัก Knowledge-based Economy คนที่ไร้ทักษะ หรือแรงงานมีฝีมือปานกลาง โดยเฉพาะพวกที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป จะถูกให้ออกจากงาน ถ้าไม่ไปอัพเกรดตัวเอง หรือเป็นคนพันธุ์ไอที ทั้งที่คนเหล่านี้เป็นผู้ที่แบกรับภาระครอบครัว ทั้งคนแก่และเด็ก คนที่จบใหม่ยากที่จะหางานประจำ หรือต้องได้รับเงินเดือนที่ต่ำ หลายครอบครัวไม่มีปัญญาผ่อนส่งบ้าน หรือแม้กระทั่งจ่ายค่าน้ำค่าไฟ รัฐบาลมองว่าคนกลุ่มนี้ ไม่ขยัน ไร้ความสามารถและโง่

คนที่ไม่อยากจะตกเป็นคนจนรุ่นใหม่ ต้องออกนอกประเทศ. แต่ละปี มีคนสิงคโปร์มากกว่า 2,000 คน สมัครขอรับสิทธิอาศัยถาวร ในออสเตรเลีย และ สหรัฐอเมริกา แม้นแต่แต่งงานกับคนไทย

รัฐบาลสิงคโปร์ เหมือนรัฐบาลเกือบทั่วโลกที่ยังห่วงใย…คนร่ำรวย ธุรกิจขนาดใหญ่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล

คนรุ่นก่อนคือบทเรียนอันทรงคุณค่าสำหรับคนรุ่นใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น