วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เจาะ ระเบิดแสวงเครื่อง

โดย อาคม รวมสุวรรณ 17 ส.ค. 2558 21:30


ระเบิดแสวงเครื่องคืออะไร
ระเบิดแสวงเครื่อง (Improvised Explosive Devices–IED) จัดเป็น รูปแบบหนึ่งของกับระเบิด (Body Traps) เป็นการนำเอาวัสดุที่มีอยู่หรือวัสดุที่สามารถหาได้ง่าย เช่น ปุ๋ยยูเรีย ดินระเบิด นำมาประดิษฐ์เป็นระเบิดเพื่อสร้างสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ในปัจจุบัน เทคโนโลยีทันสมัยมากขึ้น ทำให้การทำระเบิดแสวงเครื่องมีความซับซ้อนมากขึ้น และสามารถควบคุมการทำงานได้ง่ายขึ้น ไม่จำเป็นต้องรอเวลาแบบเดิม สามารถกำหนดการระเบิดได้ตามต้องการผ่านวิธีการควบคุมระยะไกล (Remote control) โดยการใช้โทรศัพท์จุดชนวนการที่ระเบิดแสวงเครื่อง สามารถประดิษฐ์จากวัสดุที่มีอยู่โดยทั่วไป ทำให้รูปแบบของระเบิดแสวงเครื่องมีหลายรูปแบบ และไม่มีลักษณะที่แน่นอน บางทีมาในรูปแบบของมือถือ กระถางต้นไม้ ถังขยะ รถมอเตอร์ไซค์ ทำให้ง่ายสำหรับผู้ก่อการร้ายในการจัดหาวัตถุดิบ การซุกซ่อนพกพา การประดิษฐ์ และการนำมาใช้ แต่จะเป็นการยากสำหรับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ในการตรวจค้นและเก็บกู้วัตถุระเบิด

ประเภทของระเบิดแสวงเครื่อง
1. ระบบสารเคมี เป็นการใช้สารเคมีทำให้เกิดการทำงานของระเบิดแสวงเครื่อง แต่ขั้นตอนจะยุ่งยากและกำหนดเวลาแน่นอนไม่ได้จึงไม่เป็นที่นิยมทำกัน
2. ระบบกลไก เป็นการใช้กลไกทำให้เกิดการทำงาน ของระเบิด เช่น การใช้ระบบนาฬิกาเป็นกลไก ระเบิดวิธีนี้นิยมใช้ข่มขู่ หรือการประสงค์ให้ตายเฉพาะบุคคล
3. ระบบไฟฟ้า ซึ่งนิยมใช้ในภาคใต้มากที่สุด เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือ เพจเจอร์ โทรศัพท์ไร้สาย รีโมตคอนโทรล รถยนต์ รถหรือเครื่องบินวิทยุบังคับนำมาประกอบเชื้อปะทุไฟฟ้าและวัตถุระเบิด ระเบิดแสวงเครื่องแบบนี้เป็นที่นิยมกันมากเนื่องจากทำได้ง่าย สามารถควบคุมจังหวะการทำงานและกำหนดเวลาในการทำงานได้แน่นอน

ระเบิดแสวงเครื่องทำงานอย่างไร

1. ทำงานจากการกระทำของเหยื่อ เป็นระเบิดแสวงเครื่องที่ต้องอาศัยบุคคลหรือ สิ่งอื่นๆ มากระทำเพื่อให้เกิดการระเบิด เช่น ยกระเบิด เปิดระเบิด หรือเอียงระเบิด

2. การทำงานแบบบังคับชุด เป็นระเบิดแสวงเครื่องที่สามารถควบคุมการทำงานได้จากระยะไกล (Remote Control) เช่น วิทยุรับ-ส่ง, โทรศัพท์มือถือ ผู้ที่ประดิษฐ์ระเบิดแบบนี้จะต้องมีความรู้ พื้นฐานทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างดี ทั้งนี้โทรศัพท์ที่ใช้ในการทำระเบิดคือมือถือยี่ห้อโนเกีย รุ่น 3310 เนื่องจากแผงวงจรสามารถทำระเบิดได้ง่ายไม่ต้องใช้อุปกรณ์อย่างอื่นมาพ่วง แต่มือถือรุ่นอื่น ก็ใช้ในการทำระเบิดได้ เพียงแต่ต้องหาอุปกรณ์พ่วงหรือบางรุ่นกำลังไฟมีไม่พอ นอกจากนี้ในการเปิดให้ประชาชนสามารถซื้อมือถือใช้ได้โดยไม่ต้องมีการลง ทะเบียนทำให้เกิดความยากในการติดตามจับกุม ซึ่งเมื่อมีการลงทะเบียนการเปิดใช้มือถือ ทั้งหมดจะสามารถช่วยติดตามจับกุมคนร้ายที่ใช้มือถือได้ทันที แต่ในขณะนี้เพิ่งจะเริ่มมีการควบคุม ดังนั้นเมื่อคนร้ายใช้มือถือจุดระเบิดเสร็จก็จะสามารถตรวจสอบได้
4. การทำงานแบบถ่วงเวลา ใช้อุปกรณ์ตั้งเวลาการทำงาน เช่น ใช้นาฬิกา หรือวงจรนับแบบอิเล็กทรอนิกส์
5. การทำงานแบบอาศัย สภาพแวดล้อม เช่น เมื่อโดนแสงสว่าง หรือมีเสียงดังวิธีสังเกตระเบิดแสวงเครื่อง เนื่องจากระเบิดแสวงเครื่องมีลักษณะภายนอกเหมือนกับวัสดุหรือของใช้ทั่วไป ทำให้การสังเกตหรือการพิสูจน์ทราบว่าเป็นระเบิดแสวงเครื่องนั้นค่อนข้างทำ ได้ยาก แต่จะมีข้อพิจารณาในเบื้องต้นได้ดังนี้
1. เป็นวัตถุที่ไม่มีเจ้าของหรือหาเจ้าของไม่พบ เช่นมีของแปลกปลอมมาวางอยู่ และสอบถามไม่พบเจ้าของ เช่น มีกระเป๋าเดินทางที่สนามบิน แต่สอบถามไม่พบว่ามีเจ้าของ หรือมีกล่องไปวางตามตลาด แต่ไม่มีเจ้าของคอยดู เป็นต้น
2. เป็นวัตถุมีลักษณะภายนอกผิดปกติหรือผิดจากรูปเดิม ไป เช่น กล่อง มีร่องรอยเปรอะเปื้อน กล่องปิดผนึกไม่เรียบร้อย หรือมีรอยผนึกใหม่ มีรอยยับต่างๆ หรือมีสีที่เปลี่ยนแปลงไป
3. เป็นวัตถุที่ควรจะอยู่ในที่อื่นมากกว่าจะอยู่ตรงนั้น เช่น กล่องข้าวไปวางในห้างสรรพสินค้า หรือถังขยะไปวางตรง สี่แยกไฟแดง หรือมีกระถางต้นไม้ไปวางในดงต้นไม้ที่ไม่มีกระถาง
4. เป็นวัตถุที่ไม่เคยพบเห็น ณ ที่ตรงนั้นมาก่อนเลย เช่น มีถังขยะไปวางตรงทางเดินที่ไม่เคยมีถังขยะมาก่อน หรือมีกระเป๋า กล่องกระดาษ กล่องพลาสติก กล่องโฟม หรือสิ่งแปลกปลอมไปวางในสถานที่ ที่ไม่เคยมีของไปวาง จากที่กล่าวมาข้างต้น เป็นแค่เหตุผลในการพิจารณาเบื้องต้นเท่านั้น ดังนั้นทุกคนควรจะหมั่นสังเกตว่ามีสิ่งแปลกปลอมอะไรเข้ามาวางในบริเวณที่ อยู่อาศัยหรือที่ทำงาน และควรจะทำและจัดข้าวของให้เป็นระเบียบ จะได้สังเกตเห็นสิ่งแปลกปลอมได้ง่าย พื้นที่สาธารณะหากอะไรที่เก็บเข้าตู้ล็อกได้ควรทำให้เรียบร้อย พื้นที่ไหนอันตรายห้ามเข้าควรจะมีป้ายบอกและตรวจตราพื้นที่ดูสิ่งแปลกปลอม ตลอดเวลา

ถ้ามีข้อผิดสังเกตให้นึกไว้เสมอว่า วัตถุต้องสงสัยนั้นอาจจะเป็นระเบิดแสวงเครื่อง เมื่อพบระเบิดแสวงเครื่องหรือวัตถุต้องสงสัยจะทำอย่างไร
1. ห้ามจับต้อง หยิบยกเคลื่อนย้าย ทำให้สั่นสะเทือน หรือเคลื่อนไหวโดยเด็ดขาด
2. สอบถามหาเจ้าของวัตถุต้องสงสัย หากไม่มีผู้ใดแสดงตนเป็นเจ้าของให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าวัตถุต้องสงสัยอาจจะเป็นวัตถุระเบิด
3. จดจำลักษณะทั่วไปของวัตถุต้องสงสัยและบริเวณพื้นที่ที่พบเห็น เพื่อเป็นข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิด ดังนี้- ขนาด, รูปร่างของวัตถุต้องสงสัย- ลักษณะบ่งบอกอื่นๆ เช่น มีเสียงการทำงาน, มีสายไฟฟ้า เป็นต้น
4. รายงานให้ผู้รับผิดชอบสถานที่นั้นทราบ โดยรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองดำเนินการต่อไป
5. อพยพผู้คนออกจากอาคารสถานที่นั้นโดยด่วนด้วยวิธีนุ่มนวล เพื่อไม่ให้เกิดการตื่นกลัว
6. กำหนดเขตอันตรายและป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ให้เข้าไปในเขตอันตราย โดยใช้การประมาณการจากขนาดของวัตถุต้องสงสัย
- ระเบิดแสวงเครื่องขนาดเล็กปิดกั้นระยะ 100 เมตร
- ระเบิดแสวงเครื่องขนาดใหญ่, รถยนต์ระเบิดปิดกั้นระยะ 400 เมตร
7. ผู้พบเห็นวัตถุต้องสงสัยให้รอให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ เก็บกู้วัตถุระเบิด
การลดอันตรายจากการระเบิด
1. เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบสถานที่สามารถดำเนินการเพื่อลดอันตรายได้โดยการจัด หายางรถยนต์ขนาดที่เหมาะสม (ไม่ใหญ่เกินไป) จำนวน 3–4 เส้น เพื่อครอบวัตถุต้องสงสัยไว้ แต่วิธีนี้ผู้เข้าไปครอบจะมีความเสี่ยงถ้าระเบิดเกิดการทำงาน
2. การใช้รถเข็นขนาดเล็ก (กว้าง 1 เมตร หรือ ไม่เกิน 2 เมตร) บรรทุกกระสอบทราย แล้วใช้ไม้ดันรถให้ไปใกล้ๆ สิ่งของต้องสงสัย ถ้ามีระเบิดแรงระเบิดจะถูกลดทอนลง โดยกระสอบทราย วิธีนี้จะเป็นวิธีที่ปลอดภัยสูงสุด
3. ต้องดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่รับผิดชอบเท่านั้นและอย่าให้สิ่งของต้องสงสัย ถูกกระทบกระเทือนเป็นอันขาด สิ่งเหล่านี้จะเป็นมาตรการที่จะช่วยในการระวังป้องกัน และเตรียมตัวหากเกิดไปเจอกับระเบิดมรณะเข้าไม่มากก็น้อย หากทุกคนร่วมมือร่วมใจกันเฝ้าระวัง หมั่นตรวจสอบสถานที่อยู่ การสูญเสียจากเหตุเหล่านี้จะลดน้อยลง เพราะลำพังอาศัยเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบคงไม่เพียงพอ เท่ากับเราช่วยตรวจสอบกันเอง
ระเบิดแสวงเครื่องมีส่วนประกอบดังนี้
ส่วน ดินระเบิดหลัก เช่น พวกดิน TNT, C4, C3, PETN, แอมโมเนียมไนเตรต ฯลฯ (ที่เป็นตัวทำให้เกิดแรงระเบิดที่มีผลในการทำลายตามที่ต้องการ) ส่วน ดินขยายการระเบิด เช่น เชื้อปะทุชนวน, เชื้อประทุไฟฟ้า ส่วนกำเนิดการจุด เช่น กระแสไฟ, ไฟ, ความร้อน, การเสียดสี

สำหรับ องค์ประกอบของวัตถุระเบิดแสวงเครื่องระบบไฟฟ้า มีส่วนประกอบหลัก 4 ส่วน คือ

1. แหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า
2. ตัวจุดระเบิด ได้แก่ เชื้อปะทุชนวน หรือเชื้อปะทุไฟฟ้า ทั้งทางทหาร และทางพลเรือน
3. ดินระเบิดหลัก ได้แก่ ดินระเบิดมาตรฐานทางทหาร, ทางพลเรือน หรือวัตถุระเบิดที่ทำเอง
4. ระบบสวิตช์ควบคุม ได้แก่ สวิตช์ปลอดภัย (Safety Swith), สวิตช์พร้อมระเบิด (Arming Swith), สวิตช์จุดระเบิด (Firing Swith) หรือวงจรสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดต่างๆ
- แหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่ให้พลังงานไฟฟ้าแก่ สวิตช์ควบคุมวงจรจุดระเบิด และตัวจุดระเบิด ได้แก่ แบตเตอรี่ชนิดและ
ขนาดต่างๆ (เชื้อปะทุไฟฟ้าสามารถจุดระเบิดด้วยแรงดันไฟฟ้าเพียง 0.7 โวลต์)
- ตัวจุดระเบิด / เชื้อปะทุ ที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นการใช้ เชื้อปะทุไฟฟ้า มาตรฐานทางพลเรือนที่ลักลอบนำมาจากเหมืองหินทั้งในและนอกพื้นที่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไม่พบว่ามีการใช้ปะทุไฟฟ้ามาตรฐานทางทหาร การใช้ ชื้อปะทุชนวน นำมาแสวงเครื่อง เป็น เชื้อปะทุไฟฟ้า มีบ้างเล็กน้อย มีการใช้หลอดไฟฟ้าประดับนำมาแสวงเครื่องเป็นเชื้อปะทุสำหรับจุดระเบิดวัตถุ ระเบิดแรงต่ำ.

อาคม รวมสุวรรณ
chang.arcom@thairath.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น