วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ศึกษาธรรมชาติพระสมเด็จดูง่าย

การเรียนรู้เรื่องพระสมเด็จที่นิยมกันนั้นต้องอาศัยหลักการวิทยาศาสตร์เรื่องธรรมชาติของสะสารมาเป็นองค์ประกอบช่วย เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงและถือเป็นหลักปฏิบัติโดยทั่วกัน บทความนี้จะช่วยอธิบาย การแสวงหาพระสมเด็จที่ นักสะสมพระเครื่องทำกันตามหลักปฏิบัติคือ พิมพ์ถูกต้อง/เนื้อใช่/ธรรมชาติถึง 
ขอนำตัวอย่างพระสมเด็จ องค์นี้ มาประกอบการบรรยาย

แสดงรูปภาพทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
                                                       
                                                                        ด้านหน้า
๑. พิมพ์นี้เป็นพิมพ์ใหญ่วัดระฆัง องค์พระไม่หนา/ใหญ่ การตัดขอบพระทำได้ดีสมบูรณ์แบบ
๒.ตัวพระและฐานรองพระทั้งสามชั้นได้สัดส่วน บ่งบอกถึงช่างมีฝีมือในการแกะพระพิมพ์นี้
๓.ซุ้มครอบแก้วองค์พระใหญ่ได้ส่วนกับแผ่นพระทั้งแผ่น
๔.การกดเนื้อพระทำได้ดี แม้จะไม่ติดเนื้อที่ตัวพระตรงแข้งพระตลอด แต่ส่วนอื่นๆดีหมด
๕.พื้นพระยุปดูชัดด้วยตาเปล่า อันนี้บ่งบอกถึงการเวลาของการยุปตัวเนื้อพระ ส่วนนูนต้องนูน ส่วนแบนต้องยุปเพราะน้ำระเหยไปหมดแล้ว
๖.พระมีล่องลอยสึกกร่อน 
๗.เนื้อพระเป็นประเภทปูนเปลือกหอยผสมมวลสาร ด้านหน้าเห็นมวลสารไม่ชัดแต่ด้านหลังและด้านข้างเห็นชัดมาก มวลสารมีหลากสีตามสูตรที่ท่านผสมลงไปกับเนื้อปูน มีท้ังข้าวสุก/ผงธูป/เกสรดอกไม้/อิฐฺ/ผงพุทธคุณ/น้ำมันตังอิ้วมีไม่มากจนเลอะเทอะ เนื้อพระองค์นี้นวดผสมดีมาก และกดพิมพ์ได้ดี/สวยด้วย
๘.ขอบด้านข้างของพระองค์นี้ยุป เอามือลูบจะรับรู้ถึงความรู้สึกได้ดี ด้านข้างนี้/ส่องดูศึกษาถึงเนื้อพระได้ดีมากๆ มีทั้งย่น/ยุป/ยับ/เหี่ยว/หด/รูพรุน/กระเทาะเนื้อหาย/หลุดไป (ไม่มีรูปด้านข้าง)
๙.ด้านหน้าพระจะมองเห็นอาการธรรมชาติของมวลสารที่ว่าเ่ก่านานนั้นเป็นเช่นใด ศึกษาได้ดี
๑๐.ลอยม้วนตัวของมวลสารที่แสดงเส้นสายต่างๆเห็นได้ดี
                                                               
                                                                    ด้านหลัง
๑๑.ด้านหลังองค์พระทั้งแผ่นจะมองเห็นอาการต่างๆของมวลสารที่ผ่านการเวลาอันยาวนานมาได้ดี มีทั้งรูพรุนปรากฏได้ชัดมากขึ้นกว่าด้านหน้า รอยแยก หดตัวของมวลสาร รอยปราด/กดเอาเนื้อพระด้านหลังออก/ล่องลอยของมวลสารที่ผสมลงไปในเนื้อปูนเปลือกหอย ส่วนลอยสีดำบางๆที่เกาะติดเนื้อพระทั้งด้านหน้า/หลังนั้น ผู้เขียนคิดว่าเกิดจากการจับต้องของมือที่อาจเลอะหมึกและไปจับก็เป็นได้ พระองค์นี้คงผ่านการจับต้องมาหลายๆครั้ง 
๑๒.พระองค์นี้นับได้ว่าเป็นองค์ครูที่ให้ความรู้ได้ดี ศึกษาจากพระองค์นี้ให้ดีเพื่อจะได้พระสมเด็จที่สบายใจทั้งผู้ที่เป็นเจ้าของและผู้อยากจะเป็น ให้องค์พระเป็นตัวพิสูจน์ความจริงเอง ไม่ใช่มาจากปากคำชมเชย/พูดของมนุษย์ที่ทำให้ทุกๆคนหลงได้


หมายเหตุ พระสมเด็จนั้นส่วนมากแต่ละองค์มักจะเป็นชิ้นไม่ใหญ่เหตุผลเพราะจะต้องสร้างพระเป็นจำนวนมาก เนื้อพระและส่วนผสมมีปริมาณจำกัด และการสร้างกินเวลานาน ทั้งการเตรียมเนื้อหา การกดพิมพ์ การตากพิมพ์ การเก็บรักษา และการปลุกเสก


พระองค์ที่นำมาบรรยาย มีสีขาวรูปถ่ายเกือบมีสีเหมือนองค์จริงร้อยเปอร์เซ็นต์

ม. โชคชัย ทรงเสี่ยงไชย
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น