วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พระรอดกรุวัดมหาวัน

ดูภาพประกอบคำอธิบาย
พระรอดนั้นเป็นพระเครื่องเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สร้างในสมัยพระนางจามเทวี และค้นพบครั้งแรกที่จังหวัดลำพูน การศึกษาเรื่องพระรอดนั้นต้องเข้าใจศิลปของช่างเมืองเหนือเป็นหลักการ คนทางภาคเหนือนั้นมีฝีมือทางด้านนี้มาแต่เก่าก่อน ศิลปสวยงามนั้นมาจากทางภาคเหนือทั้งสิ้น ภาคอีสาน/ภาคใต้/ภาคกลาง/ภาคตะวันออกของประเทศไทยเรานั้น ศิลปการแกะสลักสู้คนทางภาคเหนือไม่ได้ สังเกตว่าพระพิมพ์ต่างๆมักไม่สวยงามและง่ายๆในรูปแบบเช่นพระผงสุพรรณหรือพระกรุนาดูนหรือพระพิมพ์ทางภาคใต้ที่นครศรีธรรมราชเป็นต้น

ศิลปทางภาคเหนือมักละเอียดอ่อนช้อยผสมกับธรรมชาติป่าไม้และภูเขาเพราะสิ่งเหล่านี้อยู่รอบๆตัวเขามาแต่ก่อนแล้ว พระเครื่องพิมพ์ทรงทางภาคเหนือจริงๆและเป็นที่นิยมคือพระคงและพระรอด ศิลปองค์เล็กๆแต่สวยงามมีกิ่งไม้ประดับรอบองค์พระ ดังนั้นเนื้อดินที่ใช้จึงต้องละเอียดผ่านการกรองมาแล้วจึงจะสามารถพิมพ์พระออกมาได้และติดลายละเอียดได้มาก และเพื่อให้พระอยู่คงนานจึงต้องมีการผสมน้ำว่านเพื่อไม่ให้เนื้อพระแตกแยก ซึ่งก็จะทำให้องค์พระดูสวยงามและเกร่งยิ่งขึ้น พระพิมพ์ดังกล่าวข้างต้นเมื่อผ่านการผึ่งลมแล้วจึงได้มีการสุ่มไฟพอประมาณไม่ใช่การเผานะครับ พระพระองค์แค่นิดเดียวเป็นหมื่นๆองค์ก็กองไม่โตจึงแค่สุมไฟก็พอแล้ว ไม่ใช่พวกอิฐ/จาน/ชาม/ไห/โอ่งที่ต้องสร้างเตาเผา หลายๆคนไม่เข้าใจและชอบถึกทักเอาเองว่าเอาไปเผา ดังนั้นเมื่อสุมไฟ พระบางองค์จึงมีสีสรรค์ไม่เหมือนกันสุดแต่ว่าองค์ไหนโดนไฟมากไฟน้อยก็เท่านั้นเอง บางองค์ที่อยู่ปลายๆกองเนื้อดินก็ไม่เกร่งเหมือนองค์ที่ถูกไฟอย่างจัง แต่ก็สวยไปอีกแบบ

การเล่นพระรอดต้องดูเนื้อละเีอียดแบบเนื้อดินน้ำมัน ใครนึกไม่ออกก็ดูพระคงเป็นแบบอย่างเนื้อพระรอดก็จะเป็นเช่นนั้นผิดจากนี้แล้วก็คงเป็นพระปลอม ใบหน้าก็เช่นกันควรเป็นหน้าอูมๆแบบผลมะตูมและพระคงสวมชฎา เพราะเป็นพระที่กษัตริย์สร้างแต่พระคงไม่สวม บางคนตีว่าเป็นมัดผมแต่ผมเองว่าไม่น่าใช่คงต้องสวมชฎาแบบพระแก้วมรกต

ดังนั้นคนที่จะเล่นพระรอดต้องศึกษาให้ดีเพราะเป็นพระเนื้อดินการปลอมแปลงนั้นทำไม่ยากเพราะดินนั้นมีอยู่ทั่วไปและมีลักษณะต่างๆกัน การใช้วิชาการจึงเป็นตัวช่วยให้เราค้นพบพระรอดที่แท้จริงได้

ม.โชคชัย ทรงเสี่ยงไชย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น