วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่เพิ่ม ๒๕๐๔

เหรียญรุ่นแรกจะเป็นเหรียญทองแดงกะไหล่ทั้งหมดผลิตออกมาสองพันเหรียญ นับเป็นเหรียญที่น่าสะสมและหายากราคาก็แพงด้วย  ดูภาพประกอบเหรียญ





วัดกลางบาง แก้วเป็นวัดราษฎร์แต่ เดิมชื่อว่าวัดคงคาราม คนทั่วไปแถบบริเวณนครชัยศรีนี้ มักเรียกว่า วัดกลาง เพราะ ตั้งอยู่ปากคลองบางแก้ว ตำบลปากน้ำ แขวงเมืองนครชัยศรี และตำบลปากน้ำในปัจจุบันเปลี่ยนเป็นตำบลนครชัยศรี ครั้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรม พระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจราชการตามลำน้ำนครชัยศรี (ลำน้ำท่าจีน) ได้เสด็จขึ้นทอดพระเนตรวัดทรงตรัสถามมรรคนายกวัดชื่อนายโป๊ะ ชมภูนิช ทูลว่าชื่อวัดคงคาราม ทรงเห็นว่าเป็นวัดที่อยู่ริมแม่น้ำนครชัยศรีตรงปากคลองบางแก้ว และในละแวกนั้นมีวัดใกล้เคียงอีกสองวัด ซึ่งมี อาณาเขตวัดติดต่อกัน คือด้านทิศใต้ติดต่อกับวัดใหม่สุปดิษฐาราม ด้านทิศตะวันตกติดต่อกับวัดตุ๊กตา จึงได้ทรงประทานชื่อให้ใหม่ว่าวัดกลางบางแก้วตรงกับสมัยที่พระพุทธวิถีนายก (บุญ ขนฺธโชติ) เป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้น แต่นั้นมาจึงใช้ชื่อวัดกลางบางแก้ว เป็นทางราชการมาจนถึงปัจจุบันนี้
วัด กลางบางแก้ว หรือ วัดคงคารามนี้ เข้าใจว่าคงเป็นวัดโบราณเก่าแก่สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา หรือตอนปลายของยุคอู่ทอง จากสภาพโบราณวัตถุภายในวัด เป็นต้นว่าอุโบสถ ใบเสมา และวิหาร ตลอดจนพระพุทธรูปหินทรายแดง ซึ่งเป็นพระประธานในอุโบสถ คือ หลวงพ่อโตและมีปรากฏตามรอยจารึกว่า

- ได้ตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๕

- ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๐๕

- เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๖.๕๐ เมตร

- ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒๓ ไร่ ๖๘ ตารางวา โดยมี หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นโฉนด เลขที่ ๑๐๗๓๔ กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของวัด

วัด กลางบางแก้วนี้ ไดรับการปฏิสังขรณ์ ซ่อมสร้างสืบต่อกันเรื่อยมา และหากพิจารณาดูสภาพโดยทั่วไปแล้ว ก็พอจะสันนิษฐานได้ว่าเป็นวัดที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาแต่สมัยอดีต เพราะมีถาวรวัตถุหลายอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ได้มีการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์สืบเนื่องกันต่อๆมา เช่นภาพจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถ และภาพจิตรกรรมฝาไม้สักทองด้านในหอไตร ซึ่งมีความงดงามมาก อันแสดงถึงฝีมือช่างเมื่อครั้งยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และวัดนี้คงมีมาก่อนท่านกวีเอกสุนทรภู่ ท่านและ นายมี ลูกศิษย์เดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรังและได้เขียนนิราศพระแท่นดงรังไว้ คือได้ผ่านปากคลองบางแก้ว เข้าคลองบางแก้วไปขึ้นพักผ่อนที่วัดท่าใน เพื่อเดินทางไปพระแท่นดงรังในสมัยก่อน ดังมีข้อความในนิราศกล่าวถึงดังนี้

ถึง บางแก้วมองเขม้นไม่เห็นแก้ว เห็นแต่แนวคงคา พฤกษาสลอน

มี วัดหนึ่งโตใหญ่ใกล้สาคร สง่า งอนช่อฟ้าศาลาตะพาน

ดูเบื้องบนอาวาสก็ลาดเลี่ยน ต้น ตะเคียนร่มรกปรกวิหาร

อีก ทั้งสระโกสุมปทุมมาล บ้าง ตูมบานเกสรอ่อนละออ

พี่คิดถึงบัวทองของน้องแก้ว ยัง ผ่องแผ้วพรรณรายสีดายหนอ

กำลังสดมิ ได้เศร้าน่าเคล้าคลอ พี่เคยขอชมเล่นไม่เว้นวัน

ตั้งแต่พี่จำพรากมาจากน้อง มิ ได้ต้องบัวทองประคองขวัญ

ชม แต่บัวริมน้ำยิ่งรำพรรณ แสนกระสันโศกเศร้าจนเข้าคลอง

ฉะนั้น ตาม ความในนิราศพระแท่นดงรังของสุนทรภู่นี้ แม้จะไม่ได้ กล่าวออกชื่อวัด ก็เป็นวัดอื่นไปไม่ได้ เพราะตอนปากคลองแม่น้ำ มีอยู่วัดเดียว และนิราศนี้เข้าใจว่าแต่งในสมัยปลายรัชกาลที่ ๒ (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) หรือตอนต้นรัชกาลที่ ๓

(พระ บาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และวัดนี้ต้องมีมาก่อนแต่งนิราศแน่ จนเห็นต้นตะเคียนรกปรกวิหาร จึงสันนิษฐานว่าคงเป็นวัดโบราณสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ใครจะเป็นผู้สร้างนั้นหาทราบไม่ หรือ จะยืนยันว่าสร้างในสมัยใดก็ไม่อาจจะยืนยันได้ ขอท่านผู้รู้ได้พิจารณาสันนิษฐานเอาเอง ถึงกระนั้นก็ยังมีนิยาย ตำนานเล่ามาเหมือนกัน เข้าใจว่าคงจะมีผู้คิดผูกตำนานให้เข้าเรื่องเข้าราวตามชื่อวัดเท่านั้น เรื่องมีดังนี้

ยังมี เศรษฐีนีสองคนพี่น้อง หญิงผู้พี่ชื่อทัย หญิงผู้น้องชื่อคงทั้งสองมีจิตเลื่อมใสศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาใคร่จะสร้าง วัดให้เป็นที่พำนักของสงฆ์ (เขาว่าเศรษฐีสมัยก่อนชอบสร้างวัดไว้ให้ลูกวิ่งเล่น) ทั้งสองคนจึงตกลงกันสร้างวัดขึ้นสองวัดอยู่ใกล้เคียงติดกัน คือตอนปากคลองบางแก้วมุมแม่น้ำ หญิงคนน้องสร้าง น้องชื่อคง จึงตั้งวัดนามว่า วัดคงคาราม” (วัดกลางบางแก้ว) วัดถัดเข้าไปทางทิศตะวันตก หญิงคนพี่สร้าง พี่ชื่อทัยจึงตั้งวัดนามว่า วัดภิทัยธาราม” (วัดตุ๊กตา) จะเท็จจริงอย่างไรไม่ทราบ เพราะเป็นนิยายตำนาน
ข้อมูลประวัติ
       เกิด                      วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2429 ตรงกับข้น 5 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ  เป็นบุตรของ นายเกิด  นางจน  พงษ์อำพร
                อุปสมบท               ณ พัทธสีมาวัดกลางบางแก้ว วันที่ 12 กรกฎาคม 2450 
                มรณภาพ               ปี 2526
พระพุทธวิถีนายก (เพิ่ม ปุญญวสโน) นามเดิมว่า เพิ่ม นามสกุล พงษ์อัมพร โดยบิดาชื่อ เกิด โยมมารดาชื่อ วรรณ ชาตะ ณ วันศุกร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ จุลศักราช 1248 ตรงกับวันที่ 28 เดือน มกราคม พุทธศักราช 2429 ณ ตำบลไทยวาส หมู่ที่ 3 อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 8 ขวบ สืบต่อจนถึงเมื่ออายุครบได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พุทธศักราช 2450 อายุ 21 ปี ณ พัทธสีมาวัดกลางบางแก้ว สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) ครั้งพระองค์ยังดำรงสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระวันรัต วัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจอม เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นพระกรรมวาจารย์ พระครูทักษิณานุกิจ (ผัน) วัดสรรเพชญ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อท่านได้อุปสมบทแล้ว ก็ได้เล่าเรียนธรรมวินัยอยู่ที่วัดกลางบางแก้วตลอดมา และได้สั่งสอนกุลบุตรผู้บวชในภายหลังตามสมควร อาศัยอำนาจคุณความดีแห่งการปฏิบัติของท่านเป็นเหตุให้เกียรติคุณปรากฏแจ่ม แจ้งแก่คฤหัสถ์ชนทั้งหลาย มีการได้รับยกย่องเป็นลำดับมา คือ
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2481 ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสปกครอง วัดกลางบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

วันที่ 4 ธันวาคม พุทธศักราช 2482 ได้รับตราตั้ง เป็นพระอุปัชฌาย์ ในเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

วันที่ 8 เมษายน พุทธศักราช 2483 ได้รับแต่งตั้ง เป็นเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

วันที่ 1 มีนาคม พุทธศักราช 2489 ได้รับพระราช ทานสมณศักดิ์ที่พระครู มีราชทินนามว่า "พระครูพุทธวิถี นายก"

วันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2495 ได้รับเลื่อน สมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

วันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2503 ได้รับพระราช ทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญมีราชทินนามว่า "พระ พุทธวิถีนายก"

ปีพุทธศักราช 2520 เนื่องจากความชราภาพมากแล้ว ทางคณะสงฆ์จึงยกขึ้นเป็นกิตติมศักดิ์

มรณภาพด้วยโรคชราด้วยอาการสงบ วันที่ 6 มกราคม พุทธศักราช 2526 เวลาใกล้รุ่ง (05.50 น.) รวมชนมายุได้ 97 ปี พรรษาที่ 77

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้ดำรงสมณเพศอย่างเคร่งครัดด้วยศี ลาจารวัตรเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่ประชาชนทั่วไป เสียสละตนเพื่อประโยชน์แก่สังคม สร้างคุณอเนกแก่กุลบุตร กุลธิดา ด้วยการก่อสร้างและทำนุบำรุงการศึกษาให้เจริญงอกงามไพบูลย์ นับว่าท่านได้สร้างคุณงามความดีไว้ไพศาลยิ่ง เมื่อกาลที่ท่านต้องจากไปก็ยังความเศร้าสลดแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชนที่ เคารพนับถือท่านอย่างยิ่ง
 
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
                วัตถุมงคล ท่านได้สร้างวัตถุมงคงเอาไว้มากมายหลายชนิดด้วยกัน รวมถึงเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่  ท่านก็เป็นผู้ช่วยเหลือในการสร้างวัตถุมงคลต่าง ๆ ให้เป็นอย่างดี  จึงเป็นที่ไว้วางใจของหลวงพ่อบุญ  ผู้เป็นอาจารย์ยิ่งนัก  สำหรับวัตถุมงคลที่เป็นที่นิยมแพร่หลาย คือ เบี้ยแก้  ซึ่งสร้างเป็นแบบฉบับโดดเด่นของวัดฯ โดยเฉพาะ            
 -------------------------------------------------------------

ม.โชคชัย ทรงเสี่ยงไชย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น