วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทำไมวิ่งเร็วต้องจาเมกา วิ่งมาราธอนต้องเคนยา? พิศณุ นิลกลัดมีคำตอบ

วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เวลา 16:56:57 น.






แชมป์ วิ่ง 100 เมตรโอลิมปิก 2012 ทั้งประเภทหญิงและประเภทชายเป็นแชมป์คนเดียวกับแชมป์โอลิมปิก 2008 ที่ปักกิ่ง คือ เชลลี่แอน เฟรเชอร์ ไพรซ์ และ ยูเซน โบลต์ ทั้งคู่เป็นชาวจาเมกา

นอกจากนั้น วิ่ง 200 เมตรชาย นักวิ่งจากจาเมกาก็กวาดเรียบทั้งเหรียญทอง เงิน และทองแดง

4 คูณ 100 เมตรชาย ก็ได้ไปอีก 1 เหรียญทอง ยูเซน โบลต์ วิ่งเป็นไม้สุดท้ายเข้าเส้นชัยแบบแทบไม่ต้องใช้ความพยายาม

มีคำถามว่าอะไรคือเหตุผลที่ทำให้คนจาเมกาวิ่งเร็วที่สุดในโลกทั้งหญิงและชาย?

มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ของสก็อตแลนด์ทำวิจัยเรื่องนี้

ผล การวิจัยบอกว่าเป็นเพราะคนจาเมกามีบรรพบุรุษมาจากคนทวีปแอฟริกาทางฝั่งตะวัน ตกซึ่งสเปนนำมาเป็นทาสแรงงานสมัยปกครองจาเมกาในช่วงตั้งแต่ปี ค.ศ.1510

คนแอฟริกาภูมิภาคนี้รูปร่างสูงใหญ่ ปากหนา จมูกโต ซึ่งเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกับคนผิวเข้มชาวอเมริกัน

ในกล้ามเนื้อของคนเผ่าพันธุ์นี้มียีนแอ็กทิเน็น คอมโพเนนต์ (Actinen component หรือ ACTN3) มากกว่าคนเผ่าพันธุ์อื่น

ยีน ACTN3 ตัวนี้เชื่อกันว่าช่วยทำให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว

ประเทศ ทางฝั่งทวีปแอฟริกาตะวันตกซึ่งเป็นบรรพบุรุษของคนจาเมกาและอเมริกันผิวเข้ม ได้แก่ กานา แกมเบีย เซเนกัล เซียร์ราเลโอน ไอวอรีโคสต์ (โก๊ต เดอ วัวร์) และไลบีเรีย ซึ่งบรรพบุรุษของ โอปร้า วินฟรี่ย์ พิธีกรหญิงชื่อดังชาวอเมริกันมาจากประเทศนี้



มีคำถามต่อว่า แล้วทำไมวิ่งระยะไกลต้องเป็นเคนยากับเอธิโอเปีย

ตอบว่าเรื่องนี้ก็มีคนค้นคว้าวิจัยครับ

สมัยก่อนโน้นเชื่อกันว่าในร่างกายคนเรามีกล้ามเนื้อ 2 ประเภท คือกล้ามเนื้อแดง กับกล้ามเนื้อขาว

กล้าม เนื้อขาวเป็นกล้ามเนื้อสำหรับวิ่งเร็วแต่ล้าง่าย ส่วนกล้ามเนื้อแดงเป็นกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวช้า แต่อึด ใช้งานได้นาน คนจาเมกามีกล้ามเนื้อขาวมาก คนเคนยาและเอธิโอเปียมีกล้ามเนื้อแดงเยอะ

แต่ เมื่องานวิจัยทำการเปรียบเทียบสัดส่วนของกล้ามเนื้อของนักวิ่งเคน ยา-เอธิโอเปียกับนักวิ่งชาติอื่น ปรากฏว่าไม่พบข้อแตกต่าง จึงสรุปว่ากล้ามเนื้อขาว-กล้ามเนื้อแดงไม่น่าจะเกี่ยวกับความอึดความเร็ว

มีความพยายามหาเหตุผลอีกหลายประการที่จะนำมาสนับสนุนการวิ่งอึดของนักวิ่งเคนยาและเอธิโอเปีย

เช่น เพราะประเทศอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเกือบ 2,000 เมตร การเกิดและเติบโตในบรรยากาศที่บางเบากว่าพื้นราบทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือด มากขึ้น จึงทำให้วิ่งอึด

แต่ทฤษฎีนี้ถูกลบล้างด้วยคำถามที่ว่า แล้วทำไมนักวิ่งจากเนปาล อุรุกวัย และเปรู ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากกว่าจึงไม่มีนักวิ่งระยะไกลชั้นแนวหน้า

นัก กีฬาชาติตะวันตกหลายชาติที่เชื่อทฤษฎีนี้เคยเอานักกีฬาไปเก็บตัวฝึกซ้อมใน ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเยอะๆ เพื่อจะได้อึด ปรากฏว่าไม่ได้ผล



สุดท้ายมีงานวิจัยที่น่าสนใจของนักวิทยาศาสตร์ชาวเดนมาร์กชื่อ เฮนริก ลาร์เซ่น จากศูนย์วิจัยกล้ามเนื้อโคเปนเฮเกน

ผล งานวิจัยบอกว่าช่วงขาของนักวิ่งเคนยาและเอธิโอเปียยาวกว่านักวิ่งเดนมาร์ก (ซึ่งเป็นคนยุโรปตอนเหนือเผ่าพันธุ์นอร์ดิกที่ถือว่าเป็นเผ่าพันธุ์ที่ตัว สูงใหญ่ที่สุดของยุโรป 5 เปอร์เซ็นต์)

นอกจากนั้น มีน้ำหนักของเนื้อขาท่อนล่างน้อยกว่าถึง 12 เปอร์เซ็นต์ (โปรดสังเกตเรียวขานักวิ่งเคนยาและเอธิโอเปียว่าเล็กจริงๆ)

การที่ขาเบา ทำให้ใช้พลังงานในการสับขาวิ่งน้อยกว่า

น้ำหนักแต่ละ 50 กรัมที่เพิ่มขึ้นที่ข้อเท้า จะทำให้ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้น ต้องใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์

ถ้า เนื้อน่องและเนื้อท่อนขาหนักกว่านักวิ่งเคนยา-เอธิโอเปีย 5 กิโล หรือ 7 กิโล (ซึ่งเท่ากับ 5,000-7,000 กรัม) จะวิ่งระยะไกลอึดเท่านักวิ่งตัวเล็กขาลีบสองชาตินี้ได้อย่างไร



โปรดสังเกตว่าทั้งแชมป์วิ่งเร็วจากจาเมกาและแชมป์วิ่งมาราธอนจากเคนยา-เอธิโอเปีย มาจากทวีปเดียวกัน แต่รูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกัน

นัก วิ่งเคนยาและเอธิโอเปียรูปร่างเล็กกว่า เตี้ยกว่า ปากบางจมูกโด่งกว่าเพราะเป็นประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก มีเลือดผสมอินเดียและอาหรับ

เมื่อ 20 ปีที่แล้วเคนยาและเอธิโอเปียเป็นจ้าวโลกเฉพาะวิ่งมาราธอน แต่ช่วงหลังๆ กินลึกและกินยาวลงมาถึงวิ่ง 800 เมตรแล้ว

ทำเนียบสุดยอด 100 นักวิ่งมาราธอนระดับโลกในขณะนี้เป็นนักวิ่งเคนยาชาติเดียวตั้ง 50 เปอร์เซ็นต์

และถ้าจัดอันดับ 10 สุดยอดนักวิ่งมาราธอนที่ทำเวลาดีที่สุดของโลกตลอดกาล ปรากฏว่าเป็นเคนยาและเอธิโอเปียชาติละ 5 คน!

ชาว เคนยาและเอธิโอเปียชอบการวิ่งมาก โดยเฉพาะการวิ่งครอสคันทรีเป็นยิ่งกว่ากีฬา-แบบเดียวกับชาวบราซิลมีฟุตบอล เป็นลมหายใจ การวิ่งครอสคันทรีเป็นบันไดดาราไปสู่การวิ่งระยะไกลทุกประเภท

นอก จากการวิ่งระยะไกลเป็นวัฒนธรรมของชาวเคนยา-เอธิโอเปีย แล้วยุคสมัยปัจจุบันการวิ่งยังยึดเป็นอาชีพทำให้ร่ำรวยมหาศาลได้แบบเดียวกับ ฟุตบอลและกีฬาประเภทอื่นๆ ยิ่งทำให้ 2 ประเทศที่ยากจนนี้มีนักวิ่งระยะไกลชั้นยอดเพิ่มขึ้น

โมเสส คิปทานุย สุดยอดนักวิ่งระยะกลางและเจ้าของสถิติโลกวิ่งวิบาก 3,000 เมตร ชาวเคนยาปี 1992 บอกว่าเมื่อคุณเกิดมาจน คุณมีทางเลือกสองทาง คือยากจนต่อไป หรือไม่ก็ไปเป็นนักวิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น