วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

เดินอย่างสิ้นหวัง “สัตว์เท้ากีบ” ลุ่มน้ำโขงใกล้สูญพันธุ์
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 กันยายน 2556 09:03 น.
วัวแดง (ภาพประกอบทั้งหมดจาก WWF)
       WWF- ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมี สัตว์ป่าที่สูงส่งและลึกลับ คือ สัตว์เท้ากีบ ซึ่งมีหลายชนิดพันธุ์ที่อาศัยอยู่เฉพาะ ในภูมิภาคนี้ แต่พวกมันใกล้ที่จะสาปสูญไปเต็มที หากรัฐบาลในภูมิภาคไม่ส่งเสริมการปกป้องและเพิ่มความพยายามในการฟื้นจำนวน รวมทั้งถิ่นอาศัยของพวกมัน นี่คือข้อเสนอในรายงานฉบับใหม่ของ WWF "Rumble in the Jungle"
      
       สัตว์เท้ากีบ 13 ชนิดที่อยู่ในความสนใจ และมีประวัติอยู่ในรายงานฉบับนี้ มีความแตกต่างทั้งด้านชนิดพันธุ์และสถานะ จากกวางที่ตัวเท่าสุนัข ไปจนถึงวัวป่าที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรม จากชนิดพันธุ์กวางมีเขาขนาดใหญ่ ไปจนถึงสัตว์ที่แทบไม่มีใครเคยเห็นจนขึ้นชื่อว่าลึกลับ แต่สิ่งที่ทราบแน่ชัด คืออนาคตของพวกมันต่างไม่แน่นอนและบางชนิดพันธุ์ก็หมดหวังกับอนาคตแล้ว
      
       สัตว์เท้ากีบสองชนิดพันธุ์ที่เป็นสัตว์ประจำถิ่นในแถบลุ่มน้ำโขง กูปรีและสมัน สูญพันธุ์ไปจากโลกในช่วงศตวรรษที่ 20 ขณะที่เนื้อทรายและสาวหล่า ก็กำลังจะสูญพันธุ์ไปจากภูมิภาคนี้ และยังมีอีกหลายสายพันธุ์ที่กำลังเผชิญชะตากรรมเดียวกัน ในประเทศต่างๆที่พวกมันอาศัยอยู่ ซึ่งรวมทั้งละอง ละมั่ง และวัวแดง
      
       "ความหลากหลายของถิ่นอาศัยที่น่าทึ่งในภูมิภาคแม่น้ำโขง เป็นแหล่งกำเนิดของสัตว์เท้ากีบที่หลากหลายบนโลกใบนี้ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีการค้นพบสัตว์ชนิดพันธุ์ใหม่ 4 ชนิดพันธุ์ ซึ่งไม่มีใครเทียบได้ แม้ว่าแรงกดดันจากมนุษย์ ทั้งการไล่ล่า และการทำลายแหล่งอาศัย เป็นตัวการที่ทำให้ประชากรสัตว์ที่น่าทึ่งเหล่านี้ลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ยังพอมีเวลาที่จะรักษาพวกมันไว้ หากรัฐบาลของประเทศต่างๆ นำเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและการปกป้องรักษาชนิดพันธุ์เหล่านี้ เป็นสิ่งสำคัญในการจัดทำนโยบาย" ดร.โธมัส เกรย์ ผู้จัดการโครงการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ WWF-ลุ่มน้ำโขง กล่าว
      
       มีสัตว์เท้ากีบเลี้ยงลูกด้วยนมชนิดพันธุ์หนึ่งในภูมิภาคที่เป็นที่ รู้จักน้อยมาก นั่นคือ สาวหล่า ซึ่งมีการค้นพบเมื่อปี 2535 ได้รับการ ยอมรับว่าเป็นหนึ่งในการค้นพบทางสัตววิทยาที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดในศตวรรษ ที่ 20 และจนถึงขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่เคย สังเกตการณ์สาวหล่าในป่าธรรมชาติ และการค้นหาตัวสัตว์ที่ลึกลับสายพันธุ์นี้ ยังคงเป็นเรื่องยาก
       ทำให้ไม่สามารถประเมิน จำนวนประชากรที่ชัดเจนได้ แต่คาดว่าอาจอยู่ที่ประมาณหลักสิบถึงไม่กี่ร้อยตัว
      
       "ขณะที่การพัฒนากำลังล้อมกรอบถิ่นอาศัยของสาวหล่า แต่ภัยคุกคามที่แท้จริงมาจากการลักลอบล่า สาวหล่าติดกับดักลวดที่พรานป่าวางไว้เพื่อดักสัตว์อื่น ในประเทศเวียดนาม มีวิธีการบังคับใช้กฏหมายวิธีใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนโดยโครงการคาร์บอนและ ความหลากหลายทางชีวภาพของ WWF ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดี ด้วยการเกณฑ์คนท้องถิ่นมาเป็นผู้พิทักษ์ป่าคอยเดินลาดตระเวนเพื่อรักษาป่า และปลดกับดัก ซึ่งกำจัดไปได้มากกว่า 14,000 อันต่อปี"  ดร.เกรย์
       กล่าวเสริม
      
       เก้งปูเตาหรือเก้งใบไม้ สัตว์ตระกูลกวางที่เล็กที่สุดเป็นอันดับสองของโลก ได้รับชื่อนี้เพราะเพียงใบไม้ใหญ่ๆ ใบเดียว ก็สามารถ ห่อตัวได้มิด พบครั้งแรกในปี 2542 ที่ประเทศพม่า การจะพบตัวมันถือเป็นเรื่องยาก กระทั่งนักวิทยาศาสตร์ ก็ยังไม่สามารถประเมินการกระจายตัวและสถานะของมันได้ ขณะที่กวางป่าซึ่งเป็นหนึ่งในกวางที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์เท้ากีบในโลกมี ก็แต่กวางมูสและกวางเอลก์ที่เป็นสายพันธุ์เท้ากีบที่ยังมีชีวิตและมีขนาด ใหญ่กว่าพวกมัน ตอนนี้จำนวนกวางป่าลดลงอย่างมากทั่วภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เนื่องจากการล่า
      
       วัวแดง ถือเป็นหนึ่งในวัวป่าที่สวยและสง่างามที่สุดในตระกูลวัวป่า มีจำนวนประชากรลดลงถึงร้อยละ 80 นับตั้งแต่ช่วงปลาย ทศวรรษ 2503 เขตที่ราบทางภาคตะวันออกของกัมพูชา ซึ่งเป็นป่าแล้งเขตร้อนผืนใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นถิ่นอาศัยของประชากรวัวแดงจำนวนมากที่สุดในโลก ตัวเลขระหว่าง 2,700 - 5,700 ตัว แต่การลักลอบล่าวัวแดง และการขายเขาวัวข้ามชาติ นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้จำนวนสัตว์สายพันธุ์นี้ลดลง
      
       ดร.เกรย์กล่าวว่า วัวป่าและกวางใหญ่ทั่วเอเชีย เป็นเหยื่อพันธุ์หลักของเสือ การอนุรักษ์สัตว์กีบในภูมิภาค จึงมีความเชื่อมโยงอย่างอธิบายไม่ได้ถึงชะตากรรมของเสือในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2531 จำนวนของพวกมันลดลงจาก 1,200 ตัว เหลือ เพียง 350 ตัว การลดลงของสัตว์ที่เป็นเหยื่อนับเป็นปัญหาหนักสำหรับประชากรเสือที่เหลือ อยู่
       เพราะพวกมันต้องกินสัตว์เหล่านี้
      
       สัตว์เท้ากีบในภูมิภาคยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับแร้งในภูมิภาค นี้ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นพญาแร้ง อีแร้งสีน้ำตาล และแร้งเทาหลังขาว ที่ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วในอนุทวีปอินเดีย เนื่องจากยาพิษ และจากยาไดโคฟิแนคที่ใช้ ในสัตว์ จำนวนประชากรแร้งที่เหลืออยู่ในพม่าและที่ราบตะวันออกกัมพูชา เป็นประชากรที่เป็นความหวังที่ดีที่สุดในการอยู่รอดของสัตว์สายพันธุ์ สัญลักษณ์นี้
      
       "สถานะของสัตว์สายพันธุ์กวางและวัว เป็นหนึ่งในสิ่งบ่งชี้ถึงสุขภาวะความหลากหลายและความสามารถในการกลับคืนสู่ สภาพเดิมของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของภูมิภาคลุ่มน้ำโขงทั้งภูมิภาค ความเป็นอยู่ที่ดี และการฟื้นตัว
       ของประชากรสัตว์สายพันธุ์ที่กล่าวมานี้ เป็นส่วนสำคัญในการบริหารจัดการในภูมิภาคอย่างยั่งยืน ผู้นำในภูมิภาคต่างให้การยอมรับว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่งนั้น จะต้องดำเนินควบคู่ไปกับความอุดมสมบูรณ์ และประโยชน์ทางธรรมชาติและสัตว์ป่าแต่ตอนนี้จำเป็นต้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่ง ด่วนและมีประสิทธิภาพ" ดร.เกรย์ สรุป
      
       WWF ทำงานร่วมกับรัฐบาลและพันธมิตรกลุ่มต่างๆ เพื่อฟื้นฟูและพลิกฟื้นจำนวนประชากรสัตว์เท้ากีบในป่า ที่ครั้งหนึ่งเคยมีพวกมันอาศัยอยู่มากมาย และให้พวกมันได้กลับคืนสู่ถิ่นอาศัยตามธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าจำนวนประชากรจะเพิ่มสูงขึ้นในฐานะที่เป็นส่วน หนึ่งของความพยายามนี้ WWF ให้การสนับสนุนการยกระดับการปกป้องเขตอนุรักษ์การบริหารจัดการและการบังคับ ใช้กฏหมาย การทำป่าไม้อย่างยั่งยืน การเพิ่มทางเลือกเพื่อใช้ประโยชน์จากป่า และการทำมาหากินอย่างยั่งยืนที่จะช่วยผ่อนคลายแรงกดดันที่มีต่อประชากรสัตว์ เท้ากีบที่โดดเด่นที่ยังคงเหลืออยู่ในภูมิภาคนี้
ช้างเอเชียที่ใกล้สูญพันธุ์
      
ละมั่งในกัมพูชา
      
สาวหล่าจากกล้องดักถ่าย
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น