พระ ขุนแผนเป็นชื่อที่เมื่อเราได้ยินแล้วจะนึกถึงพุทธคุณทางด้าน
เมตตามหานิยม อยู่ยงคงกระพัน ถ้าถามว่าพระขุนแผนเริ่มสร้างกันเมื่อไหร่นั้น อันนี้ไม่มีระบุบไว้แน่นชัด
แต่ถ้าสืบค้นจากพงศาวดาร และสอบถามจากผู้เฒ่า ผู้รู้ต่างๆ ได้คำตอบมาว่า
พระขุนแผนที่ถือเป็นต้นตำหรับ หรือบทเริ่มต้นของชื่อพระขุนแผนซึ่งเป็นพระทรง ๕
เหลี่ยม มีพระพุทธรูปประทับนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว พบครั้งแรกที่ “วัดบ้านกร่าง”
“พระ ขุนแผน กรุบ้านกร่าง” ตั้งอยู่ที่ ตำบล ศรีประจันต์ จังหวัด สุพรรณบุรี อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน หรือ แม่น้ำสุพรรณบุรี ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอศรีประจันต์ วัดนี้เป็นวัดโบราณ ที่สร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา พระเครื่อง กรุวัดบ้านกร่าง แตกกรุจากเจดีย์หลังพระวิหารเก่าในบริเวณ วัดบ้านกร่าง เมื่อราว พ.ศ. 2447 มีเรื่องเล่ากันว่า ตอนที่พระแตกกรุออกมาใหม่ๆ พวกพระสงฆ์และชาวบ้าน ได้นำพระทั้งหมด มากมายหลายพิมพ์ มาวางไว้ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ใกล้วิหาร เด็กวัดในสมัยนั้นได้นำ พระที่วางไว้มาเล่นร่อนแข่งขันกันในลำน้ำสุพรรณบุรี เป็นที่สนุกสนาน เนื่องจากว่า ในสมัยนั้น พระวัดบ้านกร่าง ยังไม่มีมูลค่า และ ความนิยมมากมายเหมือนดังเช่นปัจจุบัน
ชื่อ ”พระขุนแผน” เป็นการเรียกชื่อ พระของคนสมัยหลัง เพราะในสมัยก่อน สร้างพระพิมพ์ ไม่เคยพบหลักฐาน ว่ามีการตั้งชื่อพระเอาไว้ด้วย มีแต่คนรุ่นหลังที่ไปขุดพบพระพิมพ์เป็นผู้ตั้งชื่อให้ทั้งสิ้น พระกรุวัดบ้านกร่าง ก็เช่นเดียวกัน เมื่อแตกกรุใหม่ๆ ก็ไม่มีชื่อ คนสุพรรณบุรี ยุคนั้นเรียกกันเพียงว่า “พระวัดบ้านกร่าง” คือถ้าเป็นพระองค์เดียวก็เรียก “พระบ้านกร่างเดี่ยว” ถ้าเป็นพระ 2 องค์คู่ติดกันก็เรียก “พระบ้านกร่างคู่” ต่อมาจึงมีการตั้งชื่อให้เป็น พระขุนแผน บ้าง พระพลายเดี่ยว บ้าง พระพลายคู่ บ้าง ที่มาของชื่อ พระพิมพ์ ขุนแผน เหล่านี้ เชื่อว่าคนตั้งชื่อคงต้องการให้คล้องจองกลมกลืน กับตัวละครในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน ที่โด่งดัง อันมีถิ่นกำเนิดในย่านสุพรรณบุรี คำว่า พระบ้านกร่าง จึงค่อยๆ เลือนหายไป หรืออีกนัยหนึ่ง ชื่อของ พระขุนแผน อาจได้มาจากการที่มีผู้บูชากราบไหว้ หรือ อาราธนานำติดตัวไปไว้ป้องกัน
“พระ ขุนแผน กรุบ้านกร่าง” ตั้งอยู่ที่ ตำบล ศรีประจันต์ จังหวัด สุพรรณบุรี อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน หรือ แม่น้ำสุพรรณบุรี ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอศรีประจันต์ วัดนี้เป็นวัดโบราณ ที่สร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา พระเครื่อง กรุวัดบ้านกร่าง แตกกรุจากเจดีย์หลังพระวิหารเก่าในบริเวณ วัดบ้านกร่าง เมื่อราว พ.ศ. 2447 มีเรื่องเล่ากันว่า ตอนที่พระแตกกรุออกมาใหม่ๆ พวกพระสงฆ์และชาวบ้าน ได้นำพระทั้งหมด มากมายหลายพิมพ์ มาวางไว้ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ใกล้วิหาร เด็กวัดในสมัยนั้นได้นำ พระที่วางไว้มาเล่นร่อนแข่งขันกันในลำน้ำสุพรรณบุรี เป็นที่สนุกสนาน เนื่องจากว่า ในสมัยนั้น พระวัดบ้านกร่าง ยังไม่มีมูลค่า และ ความนิยมมากมายเหมือนดังเช่นปัจจุบัน
ชื่อ ”พระขุนแผน” เป็นการเรียกชื่อ พระของคนสมัยหลัง เพราะในสมัยก่อน สร้างพระพิมพ์ ไม่เคยพบหลักฐาน ว่ามีการตั้งชื่อพระเอาไว้ด้วย มีแต่คนรุ่นหลังที่ไปขุดพบพระพิมพ์เป็นผู้ตั้งชื่อให้ทั้งสิ้น พระกรุวัดบ้านกร่าง ก็เช่นเดียวกัน เมื่อแตกกรุใหม่ๆ ก็ไม่มีชื่อ คนสุพรรณบุรี ยุคนั้นเรียกกันเพียงว่า “พระวัดบ้านกร่าง” คือถ้าเป็นพระองค์เดียวก็เรียก “พระบ้านกร่างเดี่ยว” ถ้าเป็นพระ 2 องค์คู่ติดกันก็เรียก “พระบ้านกร่างคู่” ต่อมาจึงมีการตั้งชื่อให้เป็น พระขุนแผน บ้าง พระพลายเดี่ยว บ้าง พระพลายคู่ บ้าง ที่มาของชื่อ พระพิมพ์ ขุนแผน เหล่านี้ เชื่อว่าคนตั้งชื่อคงต้องการให้คล้องจองกลมกลืน กับตัวละครในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน ที่โด่งดัง อันมีถิ่นกำเนิดในย่านสุพรรณบุรี คำว่า พระบ้านกร่าง จึงค่อยๆ เลือนหายไป หรืออีกนัยหนึ่ง ชื่อของ พระขุนแผน อาจได้มาจากการที่มีผู้บูชากราบไหว้ หรือ อาราธนานำติดตัวไปไว้ป้องกัน
อุบัติภัย ต่างๆ แล้วได้ประจักษ์ ความศักดิ์สิทธิ์
ในอำนาจพุทธคุณ ที่มี่คุณวิเศษ เหมือน ขุนแผนในวรรณคดี โดยเฉพาะ ด้านเสน่ห์
เมตตามหานิยม อาจด้วยเหตุนี้ จึงเรียกขื่อว่า พระขุนแผนสืบมา
พระ กรุวัดบ้านกร่าง เข้าใจว่ามีจำนวนถึง 84,000 องค์ตามคติการสร้าง
พระพิมพ์ในสมัยโบราณ เมื่อพระแตกกรุขึ้นมาก็ได้มีผู้แยกแบบ แยกพิมพ์ต่างๆ ตามความแตกต่างของพุทธลักษณะ
ซึ่งมีจำนวนกว่า 30 พิมพ์ขึ้นไป บางแบบ ก็เรียกว่า “พระขุนแผน” ซึ่งมีพิมพ์ยอดนิยม
เช่น พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่ พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกเล็ก พิมพ์ทรงพลใหญ่ พิมพ์ทรงพลเล็ก
พิมพ์พระประธาน พิมพ์เถาวัลย์เลื้อย พิมพ์แขนอ่อน และพิมพ์โน่นนี่อีกเยอะและแต่เกจิพระเครื่องท่านจะตั้งชื่อเรียกกันขึ้นมา
บางแบบก็เรียกว่า “พระพลาย” อันหมายถึงลูกของขุนแผน ซึ่งมีทั้งที่พิมพ์เป็นคู่ติดกัน
เรียกว่า “พระพลายคู่” และองค์เดี่ยวๆ เรียกว่า “พระพลายเดี่ยว” ซึ่งแต่ละพิมพ์ก็ยังแบ่งแยกออกไปอีกเป็นสิบๆ
พิมพ์ เช่น พลายคู่หน้ายักษ์ หน้ามงคล หน้าฤาษี หน้าเทวดา พลายเดี่ยวพิมพ์ชะลูด
พิมพ์ก้างปลา และอื่นๆอีกมากมาย เดี๋ยวจะบอกเหตุผลต่อไปว่าทำไมแบบพิมพ์ถึงเยอะแยะมากมาย
ในลำดับต่อไป
“พระ ขุนแผน พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่” มีลักษณะและศิลปะเหมือนกับ “พระขุนแผนเคลือบ” ที่แตกกรุออกมาจากเจดีย์ วัดใหญ่ชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเจดีย์องค์นี้มีบันทึกไว้ในพงศาวดาร ว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โปรดให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2135 ตามคำทูลแนะนำของสมเด็จพระวันรัตน์ วัดป่าแก้ว เพื่อเฉลิมพระเกียรติ แห่งชัยชนะในการทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา แห่งพม่า พระเจดีย์องค์นี้ชื่อว่า “พระเจดีย์ชัยมงคล” แต่ชาวบ้านเรียกว่า “พระเจดีย์ใหญ่” เพราะเป็นเจดีย์ ที่ใหญ่ที่สุดในอยุธยา ซึ่งตามประเพณีมาแต่โบราณว่า เมื่อสร้างพระเจดีย์แล้ว จะสร้างพระพิมพ์บรรจุไว้ด้วย
จากพงศาวดารท่านว่า พระเจ้ากรุงหงสาวดียกทัพอันมีกำลังใหญ่หลวง มายังกรุงศรีอยุธยา พระนเรศวรยกทัพมาถึงวัดร้างแห่งหนึ่ง เรียกว่า เครง หรือ หนองสาหร่าย เพื่อปะทะทัพมอญ เมื่อกองทัพทั้งสองมาประจัญกันเข้า พระนเรศวรและพระมหาอุปราชา (ซึ่งต่างก็ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ และประทับบนพระคชาธาร) ต่างทอดพระเนตรเห็นกันเข้า ต่างองค์ก็มีพระทัยฮึกเหิม เสด็จออกจากกองทัพ ขับพระคชาธารโดยปราศจากรี้พลเข้าหากัน แต่พระคชาธารที่พระนเรศวรทรงอยู่นั้น เล็กกว่าช้างทรงพระมหาอุปราชามากนัก เมื่อกษัตริย์ทั้งสองพระองค์มุ่งเข้าหากัน ช้างที่เล็กกว่าก็ตกใจกลัวช้างที่ใหญ่กว่า ถึงกับเบนหัวจะถอยกลับ พระนเรศวรทรงเห็นดังนั้น จึงตรัสปลอบพระยาช้างต้นให้มีใจฮึกเหิมกลับมาสู้ช้างข้าศึก และทรงพรมน้ำเทพมนต์ซึ่งพราหมณ์ได้ทำถวายไว้สำหรับโอกาสนี้ ลงบนศีรษะช้าง พระยาช้างต้นผู้ชาญฉลาดเมื่อได้รับน้ำเทพมนต์ และได้ยินเสียงพระราชดำรัสของวีรกษัตริย์ก็มีใจฮึกเหิม ชูงวงขึ้นประณตแล้วเบนหัวสู่ข้าศึก พลันวิ่งพุ่งเข้าสู่กษัตริย์มอญอย่างเมามัน อำนาจของพระยาช้างต้นในการสู้รบครั้งนี้ แลดูน่าสพึงกลัว และน่าอัศจรรย์ยิ่งนักสมเด็จพระนเรศวรจึงทรงขับช้างพระที่นั่งตรงไปยังพระ มหาอุปราชา แล้วร้องตรัสไปโดยฐานที่คุ้นเคยกันมาแต่ก่อนมีความว่า
“พระ ขุนแผน พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่” มีลักษณะและศิลปะเหมือนกับ “พระขุนแผนเคลือบ” ที่แตกกรุออกมาจากเจดีย์ วัดใหญ่ชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเจดีย์องค์นี้มีบันทึกไว้ในพงศาวดาร ว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โปรดให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2135 ตามคำทูลแนะนำของสมเด็จพระวันรัตน์ วัดป่าแก้ว เพื่อเฉลิมพระเกียรติ แห่งชัยชนะในการทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา แห่งพม่า พระเจดีย์องค์นี้ชื่อว่า “พระเจดีย์ชัยมงคล” แต่ชาวบ้านเรียกว่า “พระเจดีย์ใหญ่” เพราะเป็นเจดีย์ ที่ใหญ่ที่สุดในอยุธยา ซึ่งตามประเพณีมาแต่โบราณว่า เมื่อสร้างพระเจดีย์แล้ว จะสร้างพระพิมพ์บรรจุไว้ด้วย
จากพงศาวดารท่านว่า พระเจ้ากรุงหงสาวดียกทัพอันมีกำลังใหญ่หลวง มายังกรุงศรีอยุธยา พระนเรศวรยกทัพมาถึงวัดร้างแห่งหนึ่ง เรียกว่า เครง หรือ หนองสาหร่าย เพื่อปะทะทัพมอญ เมื่อกองทัพทั้งสองมาประจัญกันเข้า พระนเรศวรและพระมหาอุปราชา (ซึ่งต่างก็ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ และประทับบนพระคชาธาร) ต่างทอดพระเนตรเห็นกันเข้า ต่างองค์ก็มีพระทัยฮึกเหิม เสด็จออกจากกองทัพ ขับพระคชาธารโดยปราศจากรี้พลเข้าหากัน แต่พระคชาธารที่พระนเรศวรทรงอยู่นั้น เล็กกว่าช้างทรงพระมหาอุปราชามากนัก เมื่อกษัตริย์ทั้งสองพระองค์มุ่งเข้าหากัน ช้างที่เล็กกว่าก็ตกใจกลัวช้างที่ใหญ่กว่า ถึงกับเบนหัวจะถอยกลับ พระนเรศวรทรงเห็นดังนั้น จึงตรัสปลอบพระยาช้างต้นให้มีใจฮึกเหิมกลับมาสู้ช้างข้าศึก และทรงพรมน้ำเทพมนต์ซึ่งพราหมณ์ได้ทำถวายไว้สำหรับโอกาสนี้ ลงบนศีรษะช้าง พระยาช้างต้นผู้ชาญฉลาดเมื่อได้รับน้ำเทพมนต์ และได้ยินเสียงพระราชดำรัสของวีรกษัตริย์ก็มีใจฮึกเหิม ชูงวงขึ้นประณตแล้วเบนหัวสู่ข้าศึก พลันวิ่งพุ่งเข้าสู่กษัตริย์มอญอย่างเมามัน อำนาจของพระยาช้างต้นในการสู้รบครั้งนี้ แลดูน่าสพึงกลัว และน่าอัศจรรย์ยิ่งนักสมเด็จพระนเรศวรจึงทรงขับช้างพระที่นั่งตรงไปยังพระ มหาอุปราชา แล้วร้องตรัสไปโดยฐานที่คุ้นเคยกันมาแต่ก่อนมีความว่า
"เจ้าพี่จะยืนช้างอยู่ในที่ร่มไม้ทำไม เชิญเสด็จมาทำยุทธหัตถีกันให้เป็นเกียรติยศเถิด
กษัตริย์ภายหน้าที่จะทำยุทธหัตถีได้อย่างเราจะไม่มีแล้ว"
พระมหาอุปราชา เมื่อทรงได้ยินดังนั้นก็ขับพลายพัทธกอซึ่งเป็นพระคชาธาร ออกมาชนกับเจ้าพระยาไชยานุภาพ พระคชาธารของสมเด็จพระนเรศวร ในชั้นแรก เจ้าพระยาไชยานุภาพเสียที พลายพัทธกอได้ล่างแบกรุน พระยาไชยานุภาพเบนจะขวางตัว พระมหาอุปราชาได้ทีฟันด้วยพระแสงของ้าว สมเด็จพระนเรศวรเบี่ยงพระองค์หลบทัน ถูกแต่พระมาลาหนังขาดลิไป พอพระยาไชยานุภาพสะบัดหลุด แล้วกลับชนได้ล่างแบกถนัดรุนพลายพัทธกอหัวเบนไป สมเด็จพระนเรศวรก็จ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าว ถูกพระมหาอุปราชาที่ไหล่ขวาขาด สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถก็ได้ชนช้างกับเจ้าเมืองจาปะโร และฟันเจ้าเมืองจาปะโรตายเช่นกัน ทหารพม่าก็เข้ามากันพระศพพระมหาอุปราชา และเจ้าเมืองจาปะโรออกไป แล้วเข้าระดมยิงถูกสมเด็จพระนเรศวรที่พระหัตถ์ได้รับบาดเจ็บ และถูกนายมหานุภาพควาญช้างพระที่นั่ง กับหมื่นภักดีศวรกลางช้างสมเด็จพระเอกาทศรถ ตายทั้งสองคน ขณะนั้น กองทัพเจ้าพระยามหาเสนา พระยาสีหราชเดโชชัยตามไปทัน ก็ช่วยกันรบพุ่งแก้กันทั้งสองพระองค์ออกมาได้ สมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นว่า กองทัพข้าศึกแตกเฉพาะทัพหน้า กำลังฝ่ายไทยที่ตามเสด็จไปถึงเวลานั้นมีน้อยนัก จึงจำต้องเสด็จกลับมาค่ายหลวง ฝ่ายข้าศึกก็เชิญพระศพพระมหาอุปราชา เลิกทัพกลับไปเมืองหงสาวดี เหตุการณ์ในตอนนี้วันวลิตได้บรรยายไว้ว่า
พระมหาอุปราชา เมื่อทรงได้ยินดังนั้นก็ขับพลายพัทธกอซึ่งเป็นพระคชาธาร ออกมาชนกับเจ้าพระยาไชยานุภาพ พระคชาธารของสมเด็จพระนเรศวร ในชั้นแรก เจ้าพระยาไชยานุภาพเสียที พลายพัทธกอได้ล่างแบกรุน พระยาไชยานุภาพเบนจะขวางตัว พระมหาอุปราชาได้ทีฟันด้วยพระแสงของ้าว สมเด็จพระนเรศวรเบี่ยงพระองค์หลบทัน ถูกแต่พระมาลาหนังขาดลิไป พอพระยาไชยานุภาพสะบัดหลุด แล้วกลับชนได้ล่างแบกถนัดรุนพลายพัทธกอหัวเบนไป สมเด็จพระนเรศวรก็จ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าว ถูกพระมหาอุปราชาที่ไหล่ขวาขาด สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถก็ได้ชนช้างกับเจ้าเมืองจาปะโร และฟันเจ้าเมืองจาปะโรตายเช่นกัน ทหารพม่าก็เข้ามากันพระศพพระมหาอุปราชา และเจ้าเมืองจาปะโรออกไป แล้วเข้าระดมยิงถูกสมเด็จพระนเรศวรที่พระหัตถ์ได้รับบาดเจ็บ และถูกนายมหานุภาพควาญช้างพระที่นั่ง กับหมื่นภักดีศวรกลางช้างสมเด็จพระเอกาทศรถ ตายทั้งสองคน ขณะนั้น กองทัพเจ้าพระยามหาเสนา พระยาสีหราชเดโชชัยตามไปทัน ก็ช่วยกันรบพุ่งแก้กันทั้งสองพระองค์ออกมาได้ สมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นว่า กองทัพข้าศึกแตกเฉพาะทัพหน้า กำลังฝ่ายไทยที่ตามเสด็จไปถึงเวลานั้นมีน้อยนัก จึงจำต้องเสด็จกลับมาค่ายหลวง ฝ่ายข้าศึกก็เชิญพระศพพระมหาอุปราชา เลิกทัพกลับไปเมืองหงสาวดี เหตุการณ์ในตอนนี้วันวลิตได้บรรยายไว้ว่า
ช้าง ข้าศึกพยายามเอางาเสยพระคชาธารให้ถอยห่างอยู่ตลอดเวลา
แต่ในที่สุดพระคชาธารซึ่งเล็กกว่าก็ได้ทีช้างข้าศึก โดยช้างข้าศึกไม่ทันรู้ตัว
ขึ้นเสยช้างข้าศึกแล้วเอางวงตีด้วยกำลังแรงยิ่งนัก จนช้างข้าศึกร้องขึ้น
กษัตริย์มอญก็ตกพระทัย กษัตริย์ไทยเห็นได้ทีก็เอาพระแสงขอ ตีต้องพระเศียรกษัตริย์มอญ
แล้วใช้พระแสงทวนแทงจนกษัตริย์มอญตกช้างสิ้นพระชนม์ แล้วทรงจับช้างทรงของกษัตริย์มอญนั้นไว้ได้
ทหารรักษาพระองค์ซึ่งตามมาโดยไม่ช้า ก็แทงชาวโปรตุเกส ซึ่งนั่งอยู่เบื้องหลังกษัตริย์มอญนั้นตาย
เมื่อกองทัพมอญเห็นกษัตริย์ของตนสิ้นพระชนม์ ก็พากันล่าถอยไม่เป็นกระบวน
กองทัพไทยก็ไล่ติดตามไปอย่างกล้าหาญ จับเป็นได้เป็นจำนวนมาก ฆ่าตายเสียก็มาก
ที่เหลือนั้นก็แตกกระจัดกระจายไปประดุจแกลบต้องลม ทหารมอญหลายพันคนต้องตกค้างอยู่
และเมื่อต้องถอยทัพกลับโดยที่ขาดแคลนเสบียงอาหาร จึงกลับไปถึงเมืองมอญได้น้อยคนนัก
สมเด็จพระนเรศวรมีชัยในการกระทำยุทธหัตถีครั้งนี้
พระเกียรติยศได้เลื่องลือไปทั่วทุกประเทศในชมพูทวีป ด้วยถือเป็นคติมาแต่โบราณว่า
การชนช้างเป็นยอดวีรกรรมของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้ตัวต่อตัวมิได้อาศัยกำลังพล
หรือกลยุทธใดๆ เป็นการแพ้ชนะกันด้วยฝีไม้ลายมือและความแกล้วกล้า นอกจากนั้น
โอกาสที่จะมีเหตุการณ์ดังกล่าวก็มีน้อย ดังนั้น ถ้ากษัตริย์พระองค์ใดกระทำยุทธหัตถีได้ชัยชนะ
ก็จะได้รับความยกย่องว่ามีพระเกียรติยศอย่างสูงสุด ถึงเป็นผู้แพ้ ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญ
ว่าเป็นนักรบแท้
สมเด็จพระนเรศวร ทรงปูนบำเหน็จความชอบอันเนื่องมาจากการสงครามครั้งนี้โดยทั่วกัน คือ ช้างพระที่นั่งที่ชนชนะข้าศึก พระราชทานนามว่า เจ้าพระยาปราบหงสาวดี พระแสงของ้าวก็ได้นามว่าเจ้าพระยาแสนพลพ่าย นับถือเป็นพระแสงศักดิ์สิทธิ์ สำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงคชาธารในรัชกาลหลัง ๆ สืบมา พระมาลาที่พระองค์ทรงในวันนั้น ก็ปรากฏนามว่าพระมาลาเบี่ยงดำรงคงอยู่มาถึงปัจจุบันนี้
เมื่อเสร็จศึกในครั้งสงครามยุทธหัตถี คาดว่าท่านยกทัพมาคุมเชิงอยู่แถวบริเวณ ตำบลศรีประจันต์ จังหวัด สุพรรณบุรี อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน
เมื่อเสร็จศึกแล้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงโทมนัส ที่ไม่สามารถจะตีข้าศึกให้แตกยับเยินไปได้เหมือนครั้งก่อน เพราะเหตุที่แม่ทัพนายกองไม่สามารถตามเสด็จให้ทันการรบพุ่งพร้อมกัน พระองค์จึงให้ลูกขุน ประชุมปรึกษาโทษแม่ทัพนายกองเหล่านั้นตามพระอัยการศึก ลูกขุนปรึกษากันแล้ววางบทว่า
พระยาศรีไสยณรงค์ มีความผิดฐานฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ ไปรบพุ่งข้าศึกโดยพละการจนเสียทัพแตกมา
เจ้าพระยาจักรี พระยาพระคลัง พระยาเทพอรชุน พระยาพิชัยสงคราม พระยารามคำแหง มีความผิดฐานละเลยมิได้ตามเสด็จให้ทันท่วงทีการพระราชสงคราม
ทั้งหมดนี้ โทษถึงประหารชีวิตด้วยกัน พระองค์จึงทรงให้เอาตัวคนทั้งหมดดังกล่าวไปจำตรุไว้ พอพ้นวันพระแล้ว ให้เอาไปประหารชีวิตเสีย ตามคำพิพากษาของลูกขุน
สมเด็จพระนเรศวร ทรงปูนบำเหน็จความชอบอันเนื่องมาจากการสงครามครั้งนี้โดยทั่วกัน คือ ช้างพระที่นั่งที่ชนชนะข้าศึก พระราชทานนามว่า เจ้าพระยาปราบหงสาวดี พระแสงของ้าวก็ได้นามว่าเจ้าพระยาแสนพลพ่าย นับถือเป็นพระแสงศักดิ์สิทธิ์ สำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงคชาธารในรัชกาลหลัง ๆ สืบมา พระมาลาที่พระองค์ทรงในวันนั้น ก็ปรากฏนามว่าพระมาลาเบี่ยงดำรงคงอยู่มาถึงปัจจุบันนี้
เมื่อเสร็จศึกในครั้งสงครามยุทธหัตถี คาดว่าท่านยกทัพมาคุมเชิงอยู่แถวบริเวณ ตำบลศรีประจันต์ จังหวัด สุพรรณบุรี อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน
เมื่อเสร็จศึกแล้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงโทมนัส ที่ไม่สามารถจะตีข้าศึกให้แตกยับเยินไปได้เหมือนครั้งก่อน เพราะเหตุที่แม่ทัพนายกองไม่สามารถตามเสด็จให้ทันการรบพุ่งพร้อมกัน พระองค์จึงให้ลูกขุน ประชุมปรึกษาโทษแม่ทัพนายกองเหล่านั้นตามพระอัยการศึก ลูกขุนปรึกษากันแล้ววางบทว่า
พระยาศรีไสยณรงค์ มีความผิดฐานฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ ไปรบพุ่งข้าศึกโดยพละการจนเสียทัพแตกมา
เจ้าพระยาจักรี พระยาพระคลัง พระยาเทพอรชุน พระยาพิชัยสงคราม พระยารามคำแหง มีความผิดฐานละเลยมิได้ตามเสด็จให้ทันท่วงทีการพระราชสงคราม
ทั้งหมดนี้ โทษถึงประหารชีวิตด้วยกัน พระองค์จึงทรงให้เอาตัวคนทั้งหมดดังกล่าวไปจำตรุไว้ พอพ้นวันพระแล้ว ให้เอาไปประหารชีวิตเสีย ตามคำพิพากษาของลูกขุน
ครั้น ถึงวันแรม 14 ค่ำ เดือนยี่ สมเด็จพระนพรัตน์
วัดป่าแก้ว กับพระราชาคณะรวม 25 รูป เข้าไปเฝ้า
ถามข่าวถึงการเสด็จพระราชสงครามตามประเพณี สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสเล่าเหตุการณ์ทั้งปวงให้ฟังทุกประการ
สมเด็จพระพนรัตน์ได้ฟังแล้วจึงถวายพระพรถามว่า พระองค์มีชัยแก่ข้าศึก แต่เหตุไฉนข้าราชการทั้งปวงจึงต้องรับราชทัณฑ์
สมเด็จพระนเรศวรตรัสตอบว่า นายทัพนายกองเหล่านี้กลัวข้าศึกมากกว่ากลัวพระองค์
ละให้แต่พระองค์สองคนพี่น้อง ฝ่าเข้าไปท่ามกลางข้าศึก จนได้ทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา
ต่อมีชัยกลับมาจึงได้เห็นหน้าพวกเหล่านี้ นี่หากว่าพระองค์ยังไม่ถึงที่ตาย
หาไม่แผ่นดินก็จะเป็นของชาวหงสาวดีเสียแล้ว เหตุนี้พระองค์จึงให้ลงโทษตามอาญาศึก
สมเด็จพระพนรัตน์จึงถวายพระพรว่า เมื่อพิเคราะห์ดูข้าราชการเหล่านี้ ที่จะไม่กลัวสมเด็จพระนเรศวรนั้นหามิได้
เหตุทั้งนี้เห็นจะเผอิญเป็น เพื่อจะให้พระเกียรติแก่พระองค์เป็นมหัศจรรย์ เหมือนสมเด็จพระสรรเพชญพุทธเจ้า
เมื่อพระองค์เสด็จเหนืออปราชิตบัลลังก์ใต้ควงไม้โพธิ์ครั้งนั้น เทพเจ้าก็มาเฝ้าพร้อมหมื่นจักรวาล
พระยาวัสวดีมารยกพลเสนามาผจญ ถ้าพระพุทธเจ้าได้เทพเจ้าเป็นบริวาร มีชัยแก่พระยามารก็หาสู้เป็นอัศจรรย์ไม่
เผอิญให้หมู่เทพเจ้าทั้งปวงปลาศนาการหนีไปสิ้น เหลือแต่พระองค์เดียวสามารถผจญให้เหล่ามารปราชัยไปได้
จึงได้พระนามว่า พระพิชิตมาร โมฬีศรีสรรเพชญดาญาณ เป็นมหาอัศจรรย์บันดาลไปทั่วอนันตโลกธาตุ
ก็เหมือนทั้งสองพระองค์ครั้งนี้ ถ้าเสด็จพร้อมด้วยโยธาทวยหาญมาก และมีชัยชนะแก่พระมหาอุปราชา
ก็จะหาสู้เป็นมหัศจรรย์แผ่พระเกียรติยศ ให้ปรากฏแก่นานาประเทศไม่ อันเหตุที่เป็นทั้งนี้
เพื่อเทพเจ้าทั้งปวงอันรักษาพระองค์จักสำแดงพระเกียรติยศ เป็นแน่แท้
สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงฟังแล้วก็ทรงพระปิติโสมนัส ตรัสว่า พระผู้เป็นเจ้าว่านี้ควรหนักหนา สมเด็จพระพนรัตน์จึงได้ถวายพระพรว่า ข้าราชการซึ่งเป็นโทษเหล่านี้ก็ผิดหนักหนาอยู่แล้ว แต่ทว่าได้ทำราชการมา แต่ครั้งสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช และสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ตลอดมาจนถึงพระองค์ดุจพุทธบริษัท สมเด็จพระบรมครู จึงขอพระราชทานโทษคนเหล่านี้ไว้สักครั้งหนึ่ง จะได้ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณสืบไป สมเด็จพระนเรศวร จึงมีรับสั่งว่าเมื่อสมเด็จพระพนรัตน์ขอแล้ว พระองค์ก็จะถวาย แต่ทว่า จะต้องไปตีเมืองตะนาวศรี เมืองทวายแก้ตัวก่อน
สมเด็จพระพนรัตน์ถวายพระ พรว่า การจะใช้ไปตีบ้านเมืองนั้นสุดแต่พระองค์จะสงเคราะห์ มิใช่กิจของสมณะ แล้วก็ถวายพระพรลาไป สมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดให้นายทัพนายกองที่มีความผิดพ้นจากเวรจำ แล้วทรงให้พระยาจักรียกกองทัพมีกำลังพล 50,000 คน ไปตีเมืองตะนาวศรีทัพหนึ่ง ให้พระยาพระคลังคุมกองทัพมีกำลัง 50,000 ไปตีเมือง
จากเหตุการณ์นี้เชื่อว่าเมื่อเสร็จศึกสงครามยุทธหัตถี นี้ สมเด็จพระนพรัตน์ วัดป่าแก้ว ได้แนะให้ทูล สมเด็จพระนเรศวร อีกว่าควรสร้างพระขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการศึกครั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติ ประวัติ ว่าพระมหากษัตรีย์ ไทยได้ทำสงครามยุทธหัตถี ชนะค่าศึกและบรรจุเอาไว้ที่ “เจดีย์วัดบ้านกร่าง” จังหวัดสุพรรณบุรี และ “พระเจดีย์ชัยมงคล” แต่ชาวบ้านเรียกว่า “พระเจดีย์ใหญ่” เพราะเป็นเจดีย์ ที่ใหญ่ที่สุดในอยุธยา ซึ่งตามประเพณีมาแต่โบราณว่า เมื่อสร้างพระเจดีย์แล้ว จะสร้างพระพิมพ์บรรจุไว้ด้วย
สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงฟังแล้วก็ทรงพระปิติโสมนัส ตรัสว่า พระผู้เป็นเจ้าว่านี้ควรหนักหนา สมเด็จพระพนรัตน์จึงได้ถวายพระพรว่า ข้าราชการซึ่งเป็นโทษเหล่านี้ก็ผิดหนักหนาอยู่แล้ว แต่ทว่าได้ทำราชการมา แต่ครั้งสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช และสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ตลอดมาจนถึงพระองค์ดุจพุทธบริษัท สมเด็จพระบรมครู จึงขอพระราชทานโทษคนเหล่านี้ไว้สักครั้งหนึ่ง จะได้ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณสืบไป สมเด็จพระนเรศวร จึงมีรับสั่งว่าเมื่อสมเด็จพระพนรัตน์ขอแล้ว พระองค์ก็จะถวาย แต่ทว่า จะต้องไปตีเมืองตะนาวศรี เมืองทวายแก้ตัวก่อน
สมเด็จพระพนรัตน์ถวายพระ พรว่า การจะใช้ไปตีบ้านเมืองนั้นสุดแต่พระองค์จะสงเคราะห์ มิใช่กิจของสมณะ แล้วก็ถวายพระพรลาไป สมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดให้นายทัพนายกองที่มีความผิดพ้นจากเวรจำ แล้วทรงให้พระยาจักรียกกองทัพมีกำลังพล 50,000 คน ไปตีเมืองตะนาวศรีทัพหนึ่ง ให้พระยาพระคลังคุมกองทัพมีกำลัง 50,000 ไปตีเมือง
จากเหตุการณ์นี้เชื่อว่าเมื่อเสร็จศึกสงครามยุทธหัตถี นี้ สมเด็จพระนพรัตน์ วัดป่าแก้ว ได้แนะให้ทูล สมเด็จพระนเรศวร อีกว่าควรสร้างพระขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการศึกครั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติ ประวัติ ว่าพระมหากษัตรีย์ ไทยได้ทำสงครามยุทธหัตถี ชนะค่าศึกและบรรจุเอาไว้ที่ “เจดีย์วัดบ้านกร่าง” จังหวัดสุพรรณบุรี และ “พระเจดีย์ชัยมงคล” แต่ชาวบ้านเรียกว่า “พระเจดีย์ใหญ่” เพราะเป็นเจดีย์ ที่ใหญ่ที่สุดในอยุธยา ซึ่งตามประเพณีมาแต่โบราณว่า เมื่อสร้างพระเจดีย์แล้ว จะสร้างพระพิมพ์บรรจุไว้ด้วย
เพื่อ สืบทอดพระพุทธศาสนา ถือกันว่าได้กุศลแรง
พระขุนแผนเคลือบคงสร้าง เพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์ วัดใหญ่ชัยมงคลในครั้งนั้นความคล้ายคลึงกันของพุทธศิลป์
ของ พระขุนแผน เคลือบกรุวัดใหญ่ชัยมงคล กับ พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี โดยเฉพาะพิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่นี้
เมื่อนำพระทั้งสองมาเปรียบเทียบกัน จะเห็นความแตกต่างกันน้อยมาก
โดยเฉพาะเส้นสายและลวดลายการแกะของแม่พิมพ์ ทำให้น่าเชื่อว่า ช่างที่แกะสมัยนั้น
คงเป็นคน คนเดียวกัน หรือ สกุลช่างศิลปะในสำนักเดียวกัน อายุการสร้างอาจไม่แตกต่างกันมากนัก
หรืออาจแกะในคราวเดียวกัน และพิมพ์ในคราวเดียวกัน แต่ได้มีการแยกบรรจุเจดีย์
ต่างกัน ดังนั้น จึงพอที่จะสันนิษฐานได้ว่า พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง
คงมีอายุอยู่ในราวรัชกาล สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ ประมาณ 400 ปีล่วงมาแล้ว
จาก การสร้างพระครั้งนี้เชื่อว่า
จำลองมาจากองค์หลวงพ่อ พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ที่
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก เนื่องจาก สมเด็จพระนเรศวร
ท่านเป็นชาวพิษณุโลก และตามคติเมื่อจะสร้างพระพิมพ์จะสร้างให้ครบ 84,000 องค์ตามพระธรรมขันธ์
แต่การสร้างในครั้งนั้น คาดว่าอาจเป็นเพราะเป็นการตั้งทัพเพื่อดูเชิง ทัพพม่าว่าจะยกกลับมาอีกไหม
จึงทำให้การกดพิมพ์พระเป็นไปโดยเร่งรีบ จึงไม่สวยงาม และมีแบบพิมพ์ที่หลากหลาย
อีกทั้งเชื่อว่า พระพิมพ์ที่สร้างติดกัน ๒ องค์แทนสมเด็จพระนเรศรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ
และให้ทหารนั้นช่วยกันทำบล็อกและกดพิมพ์ จึงทำให้แบบพิมพ์มีมากมายหลายแบบ
แต่พิมพ์พระอาจไม่สวยงาม เหมือน “พระขุนแผนเคลือบ” ที่วัดใหญ่ชัยมงคล
ที่มีเวลาทำโดยไม่เร่งรีบ โดยมีลักษณะพิมพ์พระที่เหมือนกัน
และมีการเคลือบผิวพิมพ์พระให้สวยงาม
ต่อ มาเมื่อวันเวลาผ่านไป เจดีย์ที่บรรจุพระได้เสื่อมลงตามกาลเวลาจนเกิด
แตกกรุจากเจดีย์หลังพระวิหารเก่าในบริเวณ วัดบ้านกร่าง เมื่อราว พ.ศ. 2447 และพระขุนแผนเคลือบ
กรุวัดใหญ่ชัยมงคล สันนิษฐานว่า ได้แตกกรุออกมาตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ ๕
เป็นต้นมา โดยมีผู้ลักลอบขุดกรุหาสมบัติหลายครั้งหลายหน
พระขุนแผนเคลือบวัดใหญ่ชัยมงคล มีประวัติการสร้างโดยองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยมีสมเด็จพนรัต วัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นพระอาจารย์ขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นประธานในพระราชพิธีมหาพุทธาภิเศก ร่วมด้วยกับคณะสงฆ์ จัดทำขึ้นเป็นพระเนื้อผงผสมด้วยปูนขาวกับเกษร 108 และยังลงน้ำยาเคลือบผิวพระทางด้านหน้าเอาไว้ เป็นน้ำยาตามแบบอย่างที่ใช้เคลือบชามสังคโลกในสมัยยุคของสุโขทัย หรือคล้ายกับน้ำยาที่เคลือบชามกังใสในประเทศจีน ซึ่งลักษณะของผิวน้ำยาที่เคลือบเอาไว้นั้น จะเป็นสีเหลืองเข้มอมน้ำตาล แต่ตามผิวตรงส่วนในซอกลึกๆ ที่มีน้ำยาเคลือบติดไว้อยู่หนามากๆ จะเห็นเป็นคราบสีน้ำตาลแห้งจนถึงอมดำก็มี ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคราบรัก และตามความนิยมเรียกหากันนั้น ยังแบ่งออกเป็นสองพิมพ์คือ"พิมพ์แขนอ่อน" กับ"พิมพ์อกใหญ่"
พระขุนแผนเคลือบวัดใหญ่ชัยมงคล มีประวัติการสร้างโดยองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยมีสมเด็จพนรัต วัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นพระอาจารย์ขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นประธานในพระราชพิธีมหาพุทธาภิเศก ร่วมด้วยกับคณะสงฆ์ จัดทำขึ้นเป็นพระเนื้อผงผสมด้วยปูนขาวกับเกษร 108 และยังลงน้ำยาเคลือบผิวพระทางด้านหน้าเอาไว้ เป็นน้ำยาตามแบบอย่างที่ใช้เคลือบชามสังคโลกในสมัยยุคของสุโขทัย หรือคล้ายกับน้ำยาที่เคลือบชามกังใสในประเทศจีน ซึ่งลักษณะของผิวน้ำยาที่เคลือบเอาไว้นั้น จะเป็นสีเหลืองเข้มอมน้ำตาล แต่ตามผิวตรงส่วนในซอกลึกๆ ที่มีน้ำยาเคลือบติดไว้อยู่หนามากๆ จะเห็นเป็นคราบสีน้ำตาลแห้งจนถึงอมดำก็มี ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคราบรัก และตามความนิยมเรียกหากันนั้น ยังแบ่งออกเป็นสองพิมพ์คือ"พิมพ์แขนอ่อน" กับ"พิมพ์อกใหญ่"
จาก นั้นมีการสร้างพิมพ์พระที่มีลักษณะอื่นนอกจากพิมพ์พระทรง
๕ เหลี่ยม ยังมี “พระขุนแผน พิมพ์ไข่ผ่าซีก” กรุวัดพระรูป สุพรรณบุรี นับเป็นพระขุนแผนที่อายุเก่าแก่ที่สุด
ความงดงามทางพุทธศิลป์ที่เป็นเอกลักษณ์ ถือเป็นพระขุนแผนที่มีอายุมากที่สุดในพระตระกูลที่ได้ชื่อว่าพระขุนแผน
จาก การที่พระขุนแผนนี้เป็นพระที่มีเสน่ห์ในองค์พระเอง
และพุทธคุณที่เป็นที่ปรารถนาของคนทั้งหลาย จึงทำให้เกจิ ในยุคต่อๆ มาทำพิมพ์พระในลักษณ์นี้ขึ้นและเรียกว่าพระขุนแผนสืบเรื่อยมา
จนถึงปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นพิมพ์พระที่จัดสร้างกันเกือบทุกวัดเลยก็ว่าได้ ทำให้ปัจจุบันมีเกจิมากมาย
ทั้งที่เป็นพระสงฆ์และฆราวาส ออกพิมพ์พระขุนแผนนี้ มากมาย รวมถึงเนื้อหาของมวลสารที่จัดสร้างก็แตกต่างกันออกไป
เช่น
ขุนแผนพรายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดระหารไร จ.ระยอง
หลวง พ่อถิรท่านสร้างประมาณปี2480 โดยท่านได้ถอดแบบมาจากพระขุนแผนกรุเก่าของวัดพระรูป พระเครื่องที่ท่านจัดสร้างโดยมากจะเป็นเนื้อดิน ด้านหลังมีตรามงกุฎ ซึ่งเป็นตราเดียวกับที่ประดิษฐานอยู่ที่หน้าบรรณวิหารหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลย์ หลวงพ่อถิรเองเป็นพระที่มีชื่อเสียงมากในยุคนั้น หากมีพิธีพุทธาภิเษกในจ.สุรรณบุรี หรือจังหวัดใกล้เคียง ท่านจะต้องได้รับนิมนต์ไปร่วมด้วยทุกครั้ง และพระเครื่องชุดนี้ที่ท่านจัดสร้างขึ้น มีพุทธคุณโดดเด่นทางด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี ไม่แพ้พระขุนแผนที่เป็นพระกรุเลย
ขุนแผนพรายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดระหารไร จ.ระยอง
หลวง พ่อถิรท่านสร้างประมาณปี2480 โดยท่านได้ถอดแบบมาจากพระขุนแผนกรุเก่าของวัดพระรูป พระเครื่องที่ท่านจัดสร้างโดยมากจะเป็นเนื้อดิน ด้านหลังมีตรามงกุฎ ซึ่งเป็นตราเดียวกับที่ประดิษฐานอยู่ที่หน้าบรรณวิหารหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลย์ หลวงพ่อถิรเองเป็นพระที่มีชื่อเสียงมากในยุคนั้น หากมีพิธีพุทธาภิเษกในจ.สุรรณบุรี หรือจังหวัดใกล้เคียง ท่านจะต้องได้รับนิมนต์ไปร่วมด้วยทุกครั้ง และพระเครื่องชุดนี้ที่ท่านจัดสร้างขึ้น มีพุทธคุณโดดเด่นทางด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี ไม่แพ้พระขุนแผนที่เป็นพระกรุเลย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระของ ม. โชคชัย ทรงเสี่ยงไชย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น