ตำนานแห่เทียนพรรษาอุบลฯ มนต์เสน่ห์อีสานที่ไม่อยากให้เลือนหาย!!
วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2555 เวลา 01:00 น.
ประเพณีแห่เทียนพรรษา จ.อุบลราชธานี
เป็นอีกหนึ่งประเพณีในประเทศไทย
ที่สืบทอดเรื่องราวมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งในสมัยก่อนงานแห่เทียนพรรษาของชาวอุบลราชธานีไม่ได้จัดงานใหญ่โตอย่าง
ทุกวันนี้ แต่จะเป็นการร่วมกันบริจาคและแบ่งปันเทียนจากชาวบ้านทุกครัวเรือน
นำมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ตามรอยต่อ
จากนั้นนำกระดาษสีเงินสีทองตัดเป็นรายฟันปลามาปิดทับรอยต่อ
ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ
นับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจกันอย่างเต็มที่
ในสมัยนั้นใช้เกวียน หรือพาหนะล้อเลื่อนใช้วัวหรือคนลากจูงนำไปถวายที่วัด
พร้อมกับเครื่องไทยธรรมไทยทานอื่นๆ พร้อมรับศีลรับพรจากพระแล้วก็กลับบ้าน
ไม่มีการแข่งขันประชันกันเหมือนสมัยนี้
วิวัฒนาการของการทำเทียนได้เปลี่ยนตามยุคสมัยเรื่อยมา การทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้นมาจนถึงการหล่อออกจากเบ้าพิมพ์ที่เป็นลายต่างๆ เช่น กระจัง ตาอ้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู ฯลฯ แล้ว นำไปติดที่ลำต้นเทียน เพื่อเสริมความงามและสร้างสีสันให้ต้นเทียนมีเอกลักษณ์น่าสนใจมากขึ้น ประเพณีแห่เทียนพรรษาที่เริ่มมีการประกวดประชันต้นเทียน เกิดขึ้นในสมัยชกาลที่ 5 เมื่อครั้งที่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เป็นข้าหลวงใหญ่มาปกครองมณฑลลาวกาว ซึ่งมีที่ตั้งมณฑลอยู่ที่เมืองอุบลฯ โดยจะแบ่งการทำเทียนร่วมกันของชาวบ้านเป็นแต่ละคุ้ม โดยแต่ละหมู่บ้านจะมีชาวบ้านอยู่หลายคุ้ม ซึ่งทุกคุ้มจะทุ่มเท สามัคคี และพิถีพิถันในการทำเทียนร่วมกันเป็นอย่างมาก
ในสมัยนั้นการทำต้นเทียนพรรษาจะใช้การนำขี้ผึ้งที่มีอยู่ของแต่ละคุ้มมา รวมกัน ต้มให้ขี้ผึ้งละลายแล้วนำมาใส่เบ้าหลอม จากนั้นนำมาตกแต่งให้สวยงามตามรูปแบบที่แต่ละคุ้มคิดไว้ เสร็จแล้วนำใส่คานหามหรือใส่รถบรรทุกเกวียนแห่ไปรวมกันที่ศาลากลางมณฑล พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ก็จะเลือกประทานรางวัลให้กับคุ้มที่ทำต้นเทียนได้สวยงามถูกใจที่สุด ขั้นตอนสุดท้ายคือการแบ่งว่าแต่ละคุ้มจะได้ไปถวายเทียนที่วัดใด และชาวบ้านแต่ละคุ้มก็ร่วมกันแห่เทียนไปวัดนั้นๆได้จิตใจที่เปี่ยมบุญ นับเป็นจุดเริ่มต้นประเพณีแห่เทียนพรรษาจ.อุบลราชธานี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เวลาผ่านมากว่าร้อยปี ต้นเทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี จึงมีรูปแบบที่สวยงามและดูมีมิติมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยฝีมือชาวบ้านที่เป็นช่างทำเทียนและชาวบ้านที่มีหัวคิดด้านการออกแบบ ทำให้ประเพณีแห่เทียน จ.อุบลราชธานี เป็นที่รู้จักในระดับโลก เพราะความยิ่งใหญ่ สวยงาม วิจิตร ตระการตา ทั้งขบวนแห่และต้นเทียน และมีกิจกรรมประกอบงานมากมาย เป็นสิ่งช่วยส่งเสริมประเพณีนี้มาโดยตลอด อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนทั้งจากองค์กรภาครัฐ เอกชน ชาวบ้านทุกคน และการช่วยประชาสัมพันธ์จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ทำให้งานแห่เทียนพรรษาของ จ.อุบลราชธานี ยังมีมนต์เสน่ห์ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้อยากเข้ามาสัมผัสอยู่เสมอ
แม้ปัจจุบันจะเป็นยุคของโซเชียลเนตเวิร์ค เด็กรุ่นใหม่อาจให้ความสนใจกับเทรนด์นำสมัย เรื่องราวเทคโนโลยี และการหาความรู้จากโลกอินเตอร์เน็ตมากขึ้นทุกวัน แต่ที่ จ.อุบลราชธานี เมื่อถึงช่วงใกล้เทศกาลแห่เทียนพรรษา เราจะสามารถเห็นภาพน่าประทับใจ ในการมร่วมมือร่วมใจกันของชาวบ้าน นักเรียน นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป ที่แวะเวียนกันเข้ามาช่วยกันทำเทียนในวัด หรือคุ้มในชุมชนของตนในบรรยากาศแสนอบอุ่นและเป็นกันเอง ซึ่งนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา ถึงระดับมหาวิทยาลัย ต่างเข้ามาช่วยกันเป็นส่วนหนึ่งของการทำเทียนพรรษาด้วยความตั้งใจ แม้จะเป็นการช่วยเล็กๆน้อยๆแต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสืบทอดศิลปะการแกะ สลักเทียนให้ยังคงอยู่ไปอย่างยาวนาน
นอกจากประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ในปีนี้ จ.อุบลราชธานี ยังได้มีการจัดงาน Ubon Wax Festival 2012 หรือเทศกาลศิลปะเทียนนานาชาติเมืองอุบลฯ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 ก.ค. - 5 ส.ค. 2012 ขึ้นอีกด้วย โดยเป็นการแสดงโชว์ประติมากรรมเทียนนานาชาติ จากศิลปินชั้นเยี่ยมจาก 9 ประเทศ ได้แก่ ตุรกี โรมาเนีย อาร์เจนตินา ไต้หวัน ยูเครน เนปาล เยอรมันนี ไทย และญี่ปุ่น ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนที่น่าสนใจ เพราะนักท่องเที่ยวรวมถึงเด็กๆในพื้นที่จะได้เห็นจินตนาการงานศิลป์ของ ศิลปินจากหลายชาติทั่วโลก ที่สามารถรังสรรค์เทียนแห่งโตให้เป็นประติมากรรมสุดยิ่งใหญ่ ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้อย่างน่าสนใจและน่าจะถูกใจคนรักงานศิลป์ทุกคน
"ถึงแม้ทุกวันนี้ช่างทำเทียนฝีมือดีของ จ.อุบลราชธานี จะโดนดึงตัวไปช่วยเนรมิตรความงดงามให้ต้นเทียนในหลายจังหวัดมากขึ้น แต่เสน่ห์ของประเพณีแห่เทียนอุบลฯก็ยังไม่เสื่อมคลาย อีกทั้งยังมีข้อดีในการทำให้คนรุ่นหลังหันมาสนใจ และรู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของต้นเทียนมากขึ้น เป็นการสร้างแรงบันดาลใจอย่างดีในการอนุรักษ์สืนสานประเพณีดีๆนี้ตลอดไป"
ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
วิวัฒนาการของการทำเทียนได้เปลี่ยนตามยุคสมัยเรื่อยมา การทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้นมาจนถึงการหล่อออกจากเบ้าพิมพ์ที่เป็นลายต่างๆ เช่น กระจัง ตาอ้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู ฯลฯ แล้ว นำไปติดที่ลำต้นเทียน เพื่อเสริมความงามและสร้างสีสันให้ต้นเทียนมีเอกลักษณ์น่าสนใจมากขึ้น ประเพณีแห่เทียนพรรษาที่เริ่มมีการประกวดประชันต้นเทียน เกิดขึ้นในสมัยชกาลที่ 5 เมื่อครั้งที่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เป็นข้าหลวงใหญ่มาปกครองมณฑลลาวกาว ซึ่งมีที่ตั้งมณฑลอยู่ที่เมืองอุบลฯ โดยจะแบ่งการทำเทียนร่วมกันของชาวบ้านเป็นแต่ละคุ้ม โดยแต่ละหมู่บ้านจะมีชาวบ้านอยู่หลายคุ้ม ซึ่งทุกคุ้มจะทุ่มเท สามัคคี และพิถีพิถันในการทำเทียนร่วมกันเป็นอย่างมาก
ในสมัยนั้นการทำต้นเทียนพรรษาจะใช้การนำขี้ผึ้งที่มีอยู่ของแต่ละคุ้มมา รวมกัน ต้มให้ขี้ผึ้งละลายแล้วนำมาใส่เบ้าหลอม จากนั้นนำมาตกแต่งให้สวยงามตามรูปแบบที่แต่ละคุ้มคิดไว้ เสร็จแล้วนำใส่คานหามหรือใส่รถบรรทุกเกวียนแห่ไปรวมกันที่ศาลากลางมณฑล พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ก็จะเลือกประทานรางวัลให้กับคุ้มที่ทำต้นเทียนได้สวยงามถูกใจที่สุด ขั้นตอนสุดท้ายคือการแบ่งว่าแต่ละคุ้มจะได้ไปถวายเทียนที่วัดใด และชาวบ้านแต่ละคุ้มก็ร่วมกันแห่เทียนไปวัดนั้นๆได้จิตใจที่เปี่ยมบุญ นับเป็นจุดเริ่มต้นประเพณีแห่เทียนพรรษาจ.อุบลราชธานี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เวลาผ่านมากว่าร้อยปี ต้นเทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี จึงมีรูปแบบที่สวยงามและดูมีมิติมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยฝีมือชาวบ้านที่เป็นช่างทำเทียนและชาวบ้านที่มีหัวคิดด้านการออกแบบ ทำให้ประเพณีแห่เทียน จ.อุบลราชธานี เป็นที่รู้จักในระดับโลก เพราะความยิ่งใหญ่ สวยงาม วิจิตร ตระการตา ทั้งขบวนแห่และต้นเทียน และมีกิจกรรมประกอบงานมากมาย เป็นสิ่งช่วยส่งเสริมประเพณีนี้มาโดยตลอด อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนทั้งจากองค์กรภาครัฐ เอกชน ชาวบ้านทุกคน และการช่วยประชาสัมพันธ์จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ทำให้งานแห่เทียนพรรษาของ จ.อุบลราชธานี ยังมีมนต์เสน่ห์ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้อยากเข้ามาสัมผัสอยู่เสมอ
แม้ปัจจุบันจะเป็นยุคของโซเชียลเนตเวิร์ค เด็กรุ่นใหม่อาจให้ความสนใจกับเทรนด์นำสมัย เรื่องราวเทคโนโลยี และการหาความรู้จากโลกอินเตอร์เน็ตมากขึ้นทุกวัน แต่ที่ จ.อุบลราชธานี เมื่อถึงช่วงใกล้เทศกาลแห่เทียนพรรษา เราจะสามารถเห็นภาพน่าประทับใจ ในการมร่วมมือร่วมใจกันของชาวบ้าน นักเรียน นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป ที่แวะเวียนกันเข้ามาช่วยกันทำเทียนในวัด หรือคุ้มในชุมชนของตนในบรรยากาศแสนอบอุ่นและเป็นกันเอง ซึ่งนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา ถึงระดับมหาวิทยาลัย ต่างเข้ามาช่วยกันเป็นส่วนหนึ่งของการทำเทียนพรรษาด้วยความตั้งใจ แม้จะเป็นการช่วยเล็กๆน้อยๆแต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสืบทอดศิลปะการแกะ สลักเทียนให้ยังคงอยู่ไปอย่างยาวนาน
นอกจากประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ในปีนี้ จ.อุบลราชธานี ยังได้มีการจัดงาน Ubon Wax Festival 2012 หรือเทศกาลศิลปะเทียนนานาชาติเมืองอุบลฯ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 ก.ค. - 5 ส.ค. 2012 ขึ้นอีกด้วย โดยเป็นการแสดงโชว์ประติมากรรมเทียนนานาชาติ จากศิลปินชั้นเยี่ยมจาก 9 ประเทศ ได้แก่ ตุรกี โรมาเนีย อาร์เจนตินา ไต้หวัน ยูเครน เนปาล เยอรมันนี ไทย และญี่ปุ่น ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนที่น่าสนใจ เพราะนักท่องเที่ยวรวมถึงเด็กๆในพื้นที่จะได้เห็นจินตนาการงานศิลป์ของ ศิลปินจากหลายชาติทั่วโลก ที่สามารถรังสรรค์เทียนแห่งโตให้เป็นประติมากรรมสุดยิ่งใหญ่ ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้อย่างน่าสนใจและน่าจะถูกใจคนรักงานศิลป์ทุกคน
"ถึงแม้ทุกวันนี้ช่างทำเทียนฝีมือดีของ จ.อุบลราชธานี จะโดนดึงตัวไปช่วยเนรมิตรความงดงามให้ต้นเทียนในหลายจังหวัดมากขึ้น แต่เสน่ห์ของประเพณีแห่เทียนอุบลฯก็ยังไม่เสื่อมคลาย อีกทั้งยังมีข้อดีในการทำให้คนรุ่นหลังหันมาสนใจ และรู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของต้นเทียนมากขึ้น เป็นการสร้างแรงบันดาลใจอย่างดีในการอนุรักษ์สืนสานประเพณีดีๆนี้ตลอดไป"
ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น