วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

ให้อ่านทุกคน เพื่อชีวิตคุณเอง

หมั่นตรวจการทำงานของไตลดภาวะเสี่ยง “โรคไตเรื้อรัง”

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน 2555 เวลา 00:00 น.
ปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนมากไม่รู้ตัวว่าตนเองกำลังตกอยู่ในภาวะโรคไต เรื้อรังที่อาจพัฒนาไปเป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายได้ แถมยังมีบางโรคที่เอื้อต่อการนำพาไปสู่โรคไตอีกด้วย!!

จากการสำรวจของสมาคมโรคไตพบว่า ประเทศไทยมีประชากรที่มีปัญหาโรคไตสูงถึง 5 ล้านคน และพบว่า 17 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งประเทศเป็นผู้ป่วยโรคไตในระยะต้นๆ โดยไม่รู้ตัว ก่อนที่จะต้องได้รับการรักษาโดยวิธีทดแทนไต อันได้แก่ การฟอกเลือด ล้างช่องท้อง หรือเปลี่ยนไต ในเวลาต่อมา โรคไตจึงนับเป็นปัญหาหนึ่งที่ทางสาธารณสุขของประเทศกำลังหาแนวทางแก้ไข

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มิถุนายน พ.ศ. 2549 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อมูลนิธิที่จะจัดตั้งโรงพยาบาลสำหรับดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไต ตลอดจนทำการวิจัยเพื่อหาแนวทางเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไตว่า “สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์” โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานมูลนิธิสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์  ซึ่งมีสร้อยพระนามของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์รวมอยู่ด้วย ทั้งนี้นายเจริญ – คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี และครอบครัวสิริวัฒนภักดี ได้บริจาคเงินเพื่อใช้ในการก่อสร้าง

โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ ตั้งอยู่บนถนนพญาไท ซึ่งกองทัพบกได้มอบที่ดินราชพัสดุ กรมธนารักษ์ จำนวน 13 ไร่ ของกรมแพทย์ทหารบก บริเวณโรงเรียนเสนารักษ์ ถนนพญาไท เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในครั้งนี้ โดยตัวอาคารโรงพยาบาลมีลักษณะเป็นอาคาร  9  ชั้น มีเจ้าหน้าที่ให้บริการผู้ป่วยที่ต้องฟอกไตทางเส้นเลือดด้วยเครื่องไตเทียม  50 เครื่อง เปิดบริการทุกวันยกเว้นวันจันทร์  มีห้องฉุกเฉินเปิดตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งในอนาคตจะเปิดให้บริการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ตลอดจน การผ่าตัดทำเส้นเลือดเทียม หรือแก้ปัญหาเส้นเลือดอุดตันในผู้ป่วยที่เคยล้างไตทางเส้นเลือดมาแล้วร่วม ด้วย   

ทั้งนี้ โรงพยาบาลมีการเตรียมความพร้อมด้วยการจัดซื้อเครื่องอุปกรณ์การแพทย์ ตลอดจน ส่งพยาบาลไปศึกษาโรคเฉพาะทาง ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  โรงพยาบาลศิริราช  และโรงพยาบาลรามาธิบดี พร้อมทั้งส่งเสริมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์โรคไตเพื่อเตรียมการ ปฏิบัติงาน อีกทั้ง ยังมีการวิจัยหาวิธีป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคไต เพื่อมิให้กลายเป็นโรคไตเรื้อรังอีกด้วย 

โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ มีเตียงผู้ป่วย 128 เตียง แบ่งเป็น ห้องพิเศษ ห้องเดี่ยว ห้องคู่ และห้องไอซียู สำหรับผู้ป่วยนอกมีทั้งหมด 12 เตียง หากผู้ป่วยที่เข้ารับบริการเป็นข้าราชการสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตาม ระเบียบของกรมบัญชีกลาง ขณะนี้ได้เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตแล้ว นับตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา

ศ.เกียรติคุณ นพ.ธีรชัย ฉันทโรจน์ศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไตว่า ปัจจุบันพบผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเพิ่มมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่ทำให้การอุบัติของโรคไตเพิ่มขึ้นไม่ได้เกิดจากโรคไตเอง แต่เป็นผลที่เกิดมาจากโรคชนิดอื่นๆ เช่น พบผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกลุ่มโรคเหล่านี้ส่งผลให้เกิดปัญหาขึ้นที่ไตตามมาได้ทั้งสิ้น

“เนื่องจากผู้ป่วยโรคไตในระยะแรกโดยส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการแสดง มีเพียงบางรายเท่านั้นที่อาจมีอาการบวมหรือมีความดันโลหิตสูงขึ้น ผู้ป่วยจึงมักไม่รู้ตัวว่ามีอาการผิดปกติ แต่เมื่อถึงจุดๆ หนึ่ง ร่างกายจะเริ่มไม่สามารถที่จะปรับตัวได้ทำให้มีของเสียค้างอยู่ในร่างกาย ส่งผลให้มีภาวะไตวายเฉียบพลัน  น้ำท่วมปอด  หรือหัวใจทำงานไม่เป็นปกติได้ เมื่อมาพบแพทย์ก็พบว่าอยู่ในสภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 3 - 4 แล้ว สำหรับอาการของโรคไตเรื้อรังที่สังเกตได้ คือ จะมีอาการแขนขาบวม ความดันโลหิตสูง ปัสสาวะเป็นสีแดงหรือขุ่น ปัสสาวะแสบขัด ปวดเอว ซีด และอ่อนเพลีย”

นพ.ธีรชัย  กล่าวต่อว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตถ้าอยู่ในระยะ 1 -2  หากควบคุมโรคได้ดีก็จะสามารถกลับเข้าสู่สภาวะร่างกายปกติได้ ส่วนผู้ป่วยที่อยู่ในระยะที่ 3 ถ้ารู้ตัวแล้วต้องหาทางชะลอควบคุมโรคไม่ให้กลายเป็นระยะที่ 4 - 5 เพราะมีผู้ป่วยหลายรายที่อยู่ในระยะนี้ได้ไปตลอดชีวิต ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นอยู่ในภาวะไตเรื้อรังระยะใดก็ตามสามารถชะลออาการของโรคได้ทั้ง สิ้น ขึ้นอยู่กับวิธีการดำเนินชีวิต หากมีการดูแลตัวเองที่ดี มีการตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะชลออาการของโรคได้

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตเรื้อรัง คือ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคแพ้ภูมิตนเองที่อาจก่อให้เกิดไตผิดปกติ เช่น โรค เอส แอล อี โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเกาต์ โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำหลายครั้ง ผู้ที่ได้รับสารพิษหรือยาที่ทำลายไต ผู้ที่มีอายุมากว่า 60 ปีขึ้นไป รวมทั้ง ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคไตเรื้อรังในครอบครัว  ผู้ที่กินยาบางชนิด เช่น เฟนาซิติน เฟนิลบิวทาโซน ลิเทียมไซโคสปอรีน หรือได้รับการสัมผัสสารเคมีบางชนิด เช่น สารตะกั่ว แคดเมียม ติดต่อกันเป็นเวลานาน รวมถึง ผู้ที่ตรวจพบนิ่วในไต และผู้มีมวลเนื้อไตลดลงทั้งที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิดหรือเป็นภายหลัง โดยผู้ที่มีข้อบ่งชี้ข้อใดข้อหนึ่งจากที่กล่าวมาควรได้รับการตรวจการทำงาน ของไต โดยการตรวจเลือดและปัสสาวะ เพื่อตรวจวินิจฉัยและติดตามโรคที่เกี่ยวข้องกับไต

ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังซึ่งจำเป็นต้องรักษาโดยวิธีทดแทนไตอยู่ด้วย กันประมาณ 32,000 ราย ซึ่งในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยรายใหม่อีกกว่า 10,000 ราย ซึ่งคนไข้เหล่านี้จะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงถึงประมาณ 200,000 บาทต่อคนต่อปี ทั้งนี้ ผู้มีจิตศรัทธาสามารถบริจาคอวัยวะและทุนทรัพย์ เพื่อสร้างชีวิตใหม่ให้กับผู้ป่วยโรคไตได้ สอบถามรายละเอียดได้ที่โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ โทร. 0-2684-5000

การดูแลตนเองทำได้โดยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่เหมาะสม ระวังอย่าให้น้ำหนักมากจนเกิดภาวะอ้วน โดยผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปควรตรวจคัดกรองโรคไตประจำปี โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือคนในบ้านมีประวัติเป็นโรคไต  เพราะถ้ารู้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้รักษาได้ทันท่วงที โอกาสที่จะเป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายจะได้น้อยลง ในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำต้องควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความ ดันโลหิตให้ดี ลดอาหารเค็ม งดบุหรี่ และหากมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ควรไปพบแพทย์ตรวจการทำงานของไตเป็นระยะๆ เพื่อความปลอดภัยจากโรคไตนั่นเอง.

กินขนมขบเคี้ยวอย่างไรให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ - เคล็ดลับสุขภาพดี
เอ่ยถึง “ขนมขบเคี้ยว” เชื่อแน่ว่าคงเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายคน ยิ่งในช่วงชีวิตที่รีบเร่งบางครั้งหลายคนอาจต้องพึ่งพา ซื้อหาติดไว้ในรถช่วยประทังความหิว แต่เราจะเลือกรับประทานขนมขบเคี้ยวต่างๆ อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพร่างกาย วันนี้เคล็ดลับสุขภาพดีมีคำแนะนำน่าสนใจมาฝากกันค่ะ

อัลพานา ติตัส ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด-อาหารบริษัทแป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพ “ซันไบทส์” กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพกำลังมาแรง ฉะนั้นนอกจากความอร่อยเพลิดเพลินในการรับประทาน เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการบริโภคในคราเดียวกัน ผู้บริโภคควรมองหาขนมขบเคี้ยวที่มีส่วนผสมของธัญพืชที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ด้วย เช่น มัลติเกรน ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ผักสด ผลไม้สด ซึ่งคุณนารี มงคล ผู้บริหารบริษัท Aus shop ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง Anti-Aging แนะนำเพิ่มเติมว่า ตามหลักโภชนาการแล้วควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายที่สุดเพื่อให้ร่างกายดูด ซึมไปใช้ได้เลย เรียงลำดับจากผัก ผลไม้ โปรตีนจากเนื้อปลา คาร์โบไฮเดรตแล้วตามด้วยขนมขบเคี้ยว ซึ่งการบริโภคผักผลไม้ก่อนอาหารอื่นๆ จะช่วยให้ร่างกายมีสารแอนตี้ออกซิแด๊นซ์เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์ถูกทำร้าย ด้วยอาหารอื่นๆ ที่เราบริโภคตามหลังมา

ข้อควรปฏิบัติก่อนการรับประทานขนมขบเคี้ยวที่ถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุด ควรรับประทานอาหารที่มีคลอโรฟิลด์ก่อน เช่น ผักสีเขียว หรือไม่ก็รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ เช่น แอปเปิล 1 ลูกก่อนรับประทานขนมขบเคี้ยว นอกจากนี้เรายังสามารถรับประทานอาหารที่มีเอนไซม์สูงๆ อย่างมะละกอ สับปะรดก่อนเพราะอาหารพวกนี้จะช่วยย่อยสลายสารพิษที่อาจสะสมในร่างกายได้ สำหรับขนมขบเคี้ยวจำพวกผลไม้อบแห้ง อาทิ ฟักทองอบแห้ง แครอทอบแห้ง สับปะรดอบแห้ง จะช่วยให้ร่างกายได้รับกากใยอาหารช่วยเรื่องระบบขับถ่าย

สารอาหารที่มีประโยชน์ที่สามารถพบได้ในขนมขบเคี้ยวมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ได้แก่ “บล็อกโคลี่” อุดมไปด้วยวิตามินเอ ช่วยชะลอผิวพรรณให้ดูอ่อนกว่าวัย ป้องกันโรคมะเร็งและโรคต้อกระจก ลดเสี่ยงโรคหัวใจและเบาหวาน ลดคลอเรสเตอรอล ที่สำคัญอุดมไปด้วยวิตามินซีช่วยกำจัดอนุมูลอิสระในร่างกายและช่วยให้ผนัง หลอดเลือดแข็งแรง “แครอท” และ “มะเขือเทศ” อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน ช่วยบำรุงสายตาและบำรุงผิวพรรณ “กล้วย” มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุของการเกิดอาการท้องเสีย และรักษาแผลในกระเพาะอาหาร “แตงโม” มีวิตามินเอ บำรุงสายตาและวิตามินซีช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ขับปัสสาวะ ปากเป็นแผล กระหายน้ำ “ฟักทอง” มีวิตามินเอสูงมาก แถมมีฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซี ช่วยในการกำจัดสารอนุมูลอิสระออกจากร่างกาย ส่วนธัญพืช เช่น ข้าวโอ๊ต มีเส้นใยอาหารมากช่วยให้การทำงานของลำไส้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดอาการท้องผูก ฯลฯ ข้าวสาลี โดยเฉพาะจมูกข้าวสาลี เป็นแหล่งอุดมวิตามินอี ช่วยชะลอความชรา ช่วยป้องกันโรคหัวใจ อัมพาตและมะเร็งลำไส้

เมื่อทราบแบบนี้แล้ว ใครที่ต้องการรับประทานขนมขบเคี้ยวให้เกิดประโยชน์สูงสุดดีต่อสุขภาพควร คำนึงถึงสารอาหารที่มีอยู่ในขนมขบเคี้ยวนั้นๆ ด้วย เพื่อประโยชน์ที่ดีของร่างกายค่ะ
สรรหามาบอก
-คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญผู้สนใจฟังบรรยายเรื่อง“โรคเลือดของคนไทย : เลือดจางธาลัสซีเมีย” ในวันพุธที่ 26 กันยายน 2555 เวลา 08.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ ชั้น 5 โรงพยาบาลรามาธิบดี สำรองที่นั่งโทร.0-2201-2521 และ 0-2201-1091-3 (ฟรีตลอดงาน)
-โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ขอเชิญผู้สนใจร่วมงาน Workshop ผลิตสารแห่งความสุขผ่านกระบวนการหัวเราะบำบัดพร้อมคำแนะนำดีๆ ในการดูแลสุขภาพ หัวข้อ“อารมณ์ดี สุขภาพใจกายดี” ในวันเสาร์ 29 กันยายน 2555 เวลา 09.30 - 12.00 น. ณ ห้องบัญชาล่ำซำ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท สำรองที่นั่งโทร. 0-2711-8181

-ไลฟ์เซ็นเตอร์ ขอเชิญชวนผู้สนใจดูแลสุขภาพสวยจากภายในสู่ภายนอก ร่วมงานสัมมนาหัวข้อ “อาหารสุขภาพ...อาหารแบบ Raw Food” และ “โบราณทำไมถึงสวย ตอนครบสูตรความสวยเรื่องผิวหน้า” พร้อมแนะนำเคล็ดลับในการทานอาหารเจให้อิ่มบุญ อิ่มสุขภาพแบบไม่อ้วน ในวันเสาร์ที่ 29 กันยายน 2555 เวลา 10.30-15.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี (LH Bank) สนใจสำรองที่นั่งได้ฟรีที่โทร.08-9228-8766 (จำนวนจำกัด)
-นิตยสารรักลูกและบริษัท เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อนร่วมกับโรง พยาบาลกรุงเทพพัทยา ขอเชิญ Smart Parents ทุกท่านร่วมงาน "รักลูก@hospitals 2012" ในวันเสาร์ที่ 29 กันยายน 2555 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุม D 1 อาคาร D โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ลงทะเบียนพร้อมรับของที่ระลึกหน้างานฟรี สนใจสำรองที่นั่งได้ที่โทร.1719 หรือนิตยสารรักลูก โทร.0-2913-7555 ต่อ 3531(ไม่เสียค่าใช้จ่าย)
ทีมวาไรตี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น