วิชาแก้จน! ปฏิบัติการ 1 ไร่ ได้ 1 แสน 4 ประสานผนึกกำลังลดความเหลื่อมล้ำ
updated: 12 พ.ย. 2555 เวลา 09:01:43 น.
คำถามคลาสสิก
"ทำไมชาวนาไทยถึงลำบากยากจน ถูกเขาหลอกก็เต็มใจให้หลอก มีหนี้สินรุงรัง
แถมสุดท้ายมาป่วยตายเพราะสารเคมีสะสมในร่างกาย" แล้วเมื่อไรชาวนาไทยจะหลุดพ้นวงจรโง่-จน-เจ็บ
ได้ลืมตาอ้าปาก ไม่ต้องรอให้รัฐออกประกาศพักชำระหนี้ ให้คนเสียภาษีมาถามซ้ำไปซ้ำมาว่าทำไม ทำไม ทำไม
ต้องเอาภาษีไปอุ้มหนี้ ที่ใส่เงินเข้าไปเมื่อไร
ก็ไม่เคยได้หลุดจากวงจรเดิมเสียที
คำถามและสถานการณ์ที่บีบรัดทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของคนในภาคเกษตรกว่า3.7 ล้านครอบครัวนี้ คือความท้าทายของคนในสังคมทุกฝ่าย ที่จะใช้สติปัญญามาร่วมกันหยุด และกระชากให้ขบวนรถไฟแห่งความโง่ จน เจ็บ ลาจากสังคมไทยไปเสียที
ความร่วมมือของ 4 หน่วยงาน ประกอบด้วยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ธนาคารเพื่อเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (สปก.) ในโครงการ
"แก้จน...แก้จริง ปฏิบัติการทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท" ซึ่งดำเนินการมาแล้ว 5 เดือน ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน กระทั่งต้นเดือนพฤศจิกายนมีชาวนารุ่นแรก จำนวน 35 คน จบหลักสูตร และกำลังจะนำวิทยายุทธ์ความรู้เรื่องการเกษตรผสมผสานกลับไปสู่ท้องถิ่น เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนขบวนรถไฟสายใหม่ให้ชาวนาไทยไม่จน และทำได้จริง กำลังเป็นความหวังแห่งการเปลี่ยนแปลง
"รศ.ดร.เสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์" อธิการบดี ม.หอการค้าไทย บอกว่า โครงการนี้คือการต่อยอดจากโครงการทำนา 1 ไร่ ได้รายได้ 1 แสน ซึ่งมหาวิทยาลัยและหอการค้าไทยดำเนินการเมื่อปี 2553 ภายใต้ยุทธศาสตร์ลดความเหลื่อมล้ำของหอการค้าไทย
ซึ่งที่ผ่านมาเราพบว่าเกษตรกรในโครงการ 20 ครอบครัว มี 8 ครอบครัวที่ทำการเกษตรแบบเต็มรูปแบบของโครงการ และ 6 ใน 8 มีรายได้จากการใช้พื้นที่ 1 ไร่ ด้วยการเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นการเกษตรผสมผสาน ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ สามารถมีรายได้มากกว่า 1 แสนบาท ขณะที่ผลสำรวจของทั้งประเทศระบุว่า หากทำการเกษตรเชิงเดี่ยวในพื้นที่เท่ากัน เกษตรกรจะมีรายได้สุทธิเพียง 5,000 บาท
ซีเอสอาร์ ม.หอการค้าไทย
"โครงการนี้จะเรียกว่าเป็นซีเอสอาร์ของมหาวิทยาลัยก็ได้ เพราะเราในฐานะสถาบันการศึกษา เราทำหน้าที่เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อนำมาวิเคราะห์และทำเป็นรายงานเป็นข้อเสนอลดความเหลื่อมล้ำ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม"
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้ใช้ความสามารถหลักของหน่วยงานวิจัยเข้าไปในพื้นที่ มีนักศึกษาอาสาสมัครระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1-2 ลงพื้นที่สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลจากชาวนา 85 ราย เพื่อนำมาจัดทำรายงานเผยแพร่ ขณะที่ภาควิชาต่าง ๆ ก็เข้าไปมีส่วนร่วม เช่น คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร นำข้าวไปวิจัยหาสารแอนตี้ออกซิแดนส์ ช่วยวิเคราะห์วิจัยนำผลิตภัณฑ์ใหม่จากข้าว คณะนิเทศศาสตร์ช่วยเรื่องบริหารแบรนด์ คณะบริหารธุรกิจมีหลักสูตรการจัดการธุรกิจเกษตร ระดับปริญญาโท ก็นำงานของนักศึกษาเข้ามาช่วยบริหารจัดการได้
แต่สิ่งที่ทำให้โครงการแก้จน แก้จริง เกิดได้ ปัจจัยสำคัญ คือการอนุญาตให้ใช้ที่ดิน 100 ไร่ ของมหาวิทยาลัย ในพื้นที่สาย 345 ต.บางตะไนย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เพื่อให้เกษตรกร 85 ราย เข้ามาใช้เป็นแปลงเพาะปลูกเรียนรู้ในโครงการ
"พอเราต้องเลื่อนแผนการย้ายแคมปัสจากวิภาวดีไปปากเกร็ด เนื่องจากปีที่แล้วพื้นที่ตรงนั้นน้ำท่วม และเราต้องปรับมาสเตอร์แพลนใหม่ เราจึงใช้พื้นที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ ด้วยการเข้าร่วมโครงการแก้จน...แก้จริงนี้ เรามีที่ดินตั้ง 450 ไร่ แบ่งมาให้เขาทำนา 100 ไร่ ได้สบาย แล้วพอทำมาสักพัก มีชาวบ้านย่านนั้นมาเห็นโครงการ บางคนบอกว่า ถ้ารู้ว่าที่ดินตรงนี้ทำนาได้ดีขนาดนี้ คงไม่ขายที่ด้วยซ้ำ"
ใช้ความรู้สู้ความจน
ด้าน "อดิศร พวงชมภู" ที่ปรึกษาคณะกรรมการหอการค้าไทย และเป็น 1 ใน 3 อาจารย์ในโครงการ (อีก 2 ท่าน คืออาจารย์กิตติ์ธเนศ รังคะวรเศรษฐ์ และอาจารย์เสถียร ทองสวัสดิ์) เล่าว่า ตลอดเวลา 5 เดือน เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้ในหลายเรื่อง ตั้งแต่เรื่องดิน น้ำ เรื่องการเพาะปลูก การบำรุงรักษาดูแลให้พืชเติบโต เรื่องการตลาด การขาย และเดือนสุดท้ายสรุปภาพรวมของสิ่งที่ได้เรียนรู้ ซึ่งพอจบ 5 เดือน เกษตรกร 85 ราย จะได้เรียนถึง 492 วิชา
แล้วรับใบประกาศนียบัตร ซึ่งมีความหมายเป็น "ใบเปิดสำนัก" ให้ออกไปทำนาในที่ดินที่มีอยู่แล้วขยายผลสอนให้คนทำนาตามทฤษฎีเกษตรผสมผสานได้ด้วย
"โครงการนี้ ม.หอการค้าไทยให้เราใช้พื้นที่ในเฟสแรกระยะเวลาปีครึ่ง สอนได้ 3 รุ่น โดยมีเป้าหมายว่า ภายในปี 2558 เกษตรกรที่ผ่านเข้ามาในโครงการนี้จะขยายผลความรู้ไปให้เกษตรกรทั่วประเทศให้ได้ 8.6 หมื่นคน ด้วยความรู้และกระบวนการจัดทัพ 3 ทัพ เพื่อสู้กับปัญหาที่เข้ามาในชีวิตของเขาได้"
จากวิชาที่ได้เรียนรู้ในโครงการ จะทำให้เกษตรกรมีกองทัพ 3 กอง เพื่อต่อสู้กับปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่ง "อดิศร" อธิบายแล้ว ถ้าคุณมีหนี้อยู่ 1 ล้านบาท มาที่นี่คุณจะมีกองทัพช่วยสู้กับหนี้นี้ 3 กองทัพ คือเกษตร ประมง ปศุสัตว์
"กองทัพปศุสัตว์ อย่างเป็ดจะออกไข่วันละ 10 ฟอง รายได้ส่วนนี้ใช้สู้กับรายจ่ายประจำวัน ส่วนหนี้ก้อนใหญ่ที่ต้องใช้หนี้ทุก 6 เดือนให้ใช้กองทัพประมง ถ้ามีปลาดุก 15,000 ตัว ตัวละ 10 บาท ได้รายได้ 1.5 แสนบาท อันนี้ให้จ่ายหนี้ ธกส. ส่วนกองทัพพืชการเกษตร อย่างข้าวโพด ในพื้นที่ 160 ตารางเมตร จะได้ผลผลิต 18 ฝัก เป็นอย่างน้อย แล้วในรอบ 70 วัน จะขายข้าวโพดได้ 3 หมื่นบาท
ดังนั้นชาวนาต้องมองข้าศึกให้ออก ต้องรู้ว่าตัวเองมีรายจ่ายอะไรบ้าง แล้วจัดทัพจากผลผลิตใน 1 ไร่ สู้ให้ถูก"
สอดคล้องกับผลการเก็บข้อมูลจากโครงการ 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท ซึ่ง ม.หอการค้าไทยจัดทำ พบว่าทฤษฎีการใช้พื้นที่ขนาด 1 ไร่ ให้ได้ประโยชน์สูงสุดโดยไม่ต้องใช้สารเคมีนั้น เกษตรกรสามารถมีรายได้จากการเลี้ยงสัตว์ 70% จากการปลูกข้าว 14% และจากการปลูกพืชผักบนคันนา 17%
ปลดหนี้อย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม เมื่อใครได้ยินว่า มีที่ดิน 1 ไร่ สามารถสร้างรายได้ 1 แสน ฟังแล้วก็ต้องเปิดตากว้าง หวังจะรวยกันได้ไม่ยาก แต่นั่นไม่ใช่วัตถุประสงค์หลัก
ของการจัดโครงการ "รศ.ดร.เสาวนีย์" บอกว่า ที่เราทำโครงการนี้ เพราะเรามีข้อมูลว่า ปัจจุบันมีลูกหนี้เอ็นพีแอล ธกส. 4-6 แสนราย แล้วเราก็อยากให้เขาหลุดพ้นจากวงจรนี้
"วัตถุประสงค์ของโครงการไม่ได้ทำเพื่อให้ชาวนารวยนะ และตอนนี้พอมีคนรู้จักโครงการมากขึ้น ก็มาพูดว่า มีนาอยู่ 500 ไร่ ช่วยเอานาไปทำหน่อย เราก็บอกว่า จะบ้าแล้ว โครงการนี้เขาทำเพื่อให้ชาวนาพึ่งพาตัวเองได้ แล้วมีเงินเหลือ เพื่อให้อยู่โดยไม่ลำบาก ใครจะรวยหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความขยันของแต่ละคน เพราะทำอย่างนี้ ต้องลงแรงของตัวเองมาก ต้องขยัน ตื่นเช้ามาลงแปลงนา อีกอย่าง เราทำโครงการนี้ เพราะอยากให้คนไทยได้ภาคภูมิใจในอาชีพชาวนา ได้อยู่กับที่ดินของบรรพบุรุษ ไม่ได้สอนทำนาไปซื้อรถเบนซ์"
แล้วโครงการนี้ในความคาดหวังของ ม.หอการค้าไทย คือการพลิกแผ่นดิน ลดความเหลื่อมล้ำ ลดความแตกแยกและแตกต่างทางเศรษฐกิจและสังคม
ขณะที่ "อดิศร" บอกว่า ถ้าวันนี้ที่ดินที่ทำการเกษตรได้อยู่ในมือนายทุน 90% อยู่ในมือเกษตรกร 10% แต่มีคนว่างงาน 6 แสนครอบครัว มีคนในภาคเกษตร 3.7 ล้านครัวเรือน โดยในกลุ่มนี้มี 20 ล้านคน ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว
"ถ้าเราเติมความรู้ ติดอาวุธทางปัญญาให้กับเขา ให้เขารู้เรื่องดิน เรื่องน้ำ เรื่องการเพาะปลูก การบำรุงรักษา การตลาด การขาย และเผยแพร่ความรู้เป็น จากที่ทำนาแบบใช้ปุ๋ยใช้ยาแบบเดิมได้เงิน 5,000 บาท มาทำนาแบบนี้ได้เงินเพิ่มขึ้น 20 เท่า เขาก็น่าจะมีรายได้ไปใช้หนี้ได้ เราจึงเลือกลูกค้า ธกส. ที่มียอดหนี้มากที่สุด
เป็นคนที่กำลังหนีตาย แล้วเขาจะมีพลังมาก คัดเลือกเข้าร่วมโครงการระยะแรก เพื่อให้เขานำสิ่งที่ได้เรียนรู้ในเวลา 5 เดือนนี้ไปพลิกผืนนา และเราเชื่อว่าหากขยายได้ 8.6 หมื่นรายภายใน 3 ปีข้างหน้า มันย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้"
เพราะวิชาแก้จน 400 กว่าเรื่องในเวลา 5 เดือน คืออาวุธทางปัญญา ที่จะทำให้ชาวนาเหล่านี้ ได้เปลี่ยนวิธีคิด ปรับวิถีชีวิต เพื่อหลุดพ้นจากความจน ปลดหนี้ และจะมีร่างกายที่ปลอดภัยจากเคมี เพื่อให้ชาวนาไม่ต้องทนโง่-จน-เจ็บอย่างที่ผ่านมา
คำถามและสถานการณ์ที่บีบรัดทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของคนในภาคเกษตรกว่า3.7 ล้านครอบครัวนี้ คือความท้าทายของคนในสังคมทุกฝ่าย ที่จะใช้สติปัญญามาร่วมกันหยุด และกระชากให้ขบวนรถไฟแห่งความโง่ จน เจ็บ ลาจากสังคมไทยไปเสียที
ความร่วมมือของ 4 หน่วยงาน ประกอบด้วยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ธนาคารเพื่อเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (สปก.) ในโครงการ
"แก้จน...แก้จริง ปฏิบัติการทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท" ซึ่งดำเนินการมาแล้ว 5 เดือน ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน กระทั่งต้นเดือนพฤศจิกายนมีชาวนารุ่นแรก จำนวน 35 คน จบหลักสูตร และกำลังจะนำวิทยายุทธ์ความรู้เรื่องการเกษตรผสมผสานกลับไปสู่ท้องถิ่น เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนขบวนรถไฟสายใหม่ให้ชาวนาไทยไม่จน และทำได้จริง กำลังเป็นความหวังแห่งการเปลี่ยนแปลง
"รศ.ดร.เสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์" อธิการบดี ม.หอการค้าไทย บอกว่า โครงการนี้คือการต่อยอดจากโครงการทำนา 1 ไร่ ได้รายได้ 1 แสน ซึ่งมหาวิทยาลัยและหอการค้าไทยดำเนินการเมื่อปี 2553 ภายใต้ยุทธศาสตร์ลดความเหลื่อมล้ำของหอการค้าไทย
ซึ่งที่ผ่านมาเราพบว่าเกษตรกรในโครงการ 20 ครอบครัว มี 8 ครอบครัวที่ทำการเกษตรแบบเต็มรูปแบบของโครงการ และ 6 ใน 8 มีรายได้จากการใช้พื้นที่ 1 ไร่ ด้วยการเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นการเกษตรผสมผสาน ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ สามารถมีรายได้มากกว่า 1 แสนบาท ขณะที่ผลสำรวจของทั้งประเทศระบุว่า หากทำการเกษตรเชิงเดี่ยวในพื้นที่เท่ากัน เกษตรกรจะมีรายได้สุทธิเพียง 5,000 บาท
ซีเอสอาร์ ม.หอการค้าไทย
"โครงการนี้จะเรียกว่าเป็นซีเอสอาร์ของมหาวิทยาลัยก็ได้ เพราะเราในฐานะสถาบันการศึกษา เราทำหน้าที่เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อนำมาวิเคราะห์และทำเป็นรายงานเป็นข้อเสนอลดความเหลื่อมล้ำ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม"
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้ใช้ความสามารถหลักของหน่วยงานวิจัยเข้าไปในพื้นที่ มีนักศึกษาอาสาสมัครระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1-2 ลงพื้นที่สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลจากชาวนา 85 ราย เพื่อนำมาจัดทำรายงานเผยแพร่ ขณะที่ภาควิชาต่าง ๆ ก็เข้าไปมีส่วนร่วม เช่น คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร นำข้าวไปวิจัยหาสารแอนตี้ออกซิแดนส์ ช่วยวิเคราะห์วิจัยนำผลิตภัณฑ์ใหม่จากข้าว คณะนิเทศศาสตร์ช่วยเรื่องบริหารแบรนด์ คณะบริหารธุรกิจมีหลักสูตรการจัดการธุรกิจเกษตร ระดับปริญญาโท ก็นำงานของนักศึกษาเข้ามาช่วยบริหารจัดการได้
แต่สิ่งที่ทำให้โครงการแก้จน แก้จริง เกิดได้ ปัจจัยสำคัญ คือการอนุญาตให้ใช้ที่ดิน 100 ไร่ ของมหาวิทยาลัย ในพื้นที่สาย 345 ต.บางตะไนย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เพื่อให้เกษตรกร 85 ราย เข้ามาใช้เป็นแปลงเพาะปลูกเรียนรู้ในโครงการ
"พอเราต้องเลื่อนแผนการย้ายแคมปัสจากวิภาวดีไปปากเกร็ด เนื่องจากปีที่แล้วพื้นที่ตรงนั้นน้ำท่วม และเราต้องปรับมาสเตอร์แพลนใหม่ เราจึงใช้พื้นที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ ด้วยการเข้าร่วมโครงการแก้จน...แก้จริงนี้ เรามีที่ดินตั้ง 450 ไร่ แบ่งมาให้เขาทำนา 100 ไร่ ได้สบาย แล้วพอทำมาสักพัก มีชาวบ้านย่านนั้นมาเห็นโครงการ บางคนบอกว่า ถ้ารู้ว่าที่ดินตรงนี้ทำนาได้ดีขนาดนี้ คงไม่ขายที่ด้วยซ้ำ"
ใช้ความรู้สู้ความจน
ด้าน "อดิศร พวงชมภู" ที่ปรึกษาคณะกรรมการหอการค้าไทย และเป็น 1 ใน 3 อาจารย์ในโครงการ (อีก 2 ท่าน คืออาจารย์กิตติ์ธเนศ รังคะวรเศรษฐ์ และอาจารย์เสถียร ทองสวัสดิ์) เล่าว่า ตลอดเวลา 5 เดือน เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้ในหลายเรื่อง ตั้งแต่เรื่องดิน น้ำ เรื่องการเพาะปลูก การบำรุงรักษาดูแลให้พืชเติบโต เรื่องการตลาด การขาย และเดือนสุดท้ายสรุปภาพรวมของสิ่งที่ได้เรียนรู้ ซึ่งพอจบ 5 เดือน เกษตรกร 85 ราย จะได้เรียนถึง 492 วิชา
แล้วรับใบประกาศนียบัตร ซึ่งมีความหมายเป็น "ใบเปิดสำนัก" ให้ออกไปทำนาในที่ดินที่มีอยู่แล้วขยายผลสอนให้คนทำนาตามทฤษฎีเกษตรผสมผสานได้ด้วย
"โครงการนี้ ม.หอการค้าไทยให้เราใช้พื้นที่ในเฟสแรกระยะเวลาปีครึ่ง สอนได้ 3 รุ่น โดยมีเป้าหมายว่า ภายในปี 2558 เกษตรกรที่ผ่านเข้ามาในโครงการนี้จะขยายผลความรู้ไปให้เกษตรกรทั่วประเทศให้ได้ 8.6 หมื่นคน ด้วยความรู้และกระบวนการจัดทัพ 3 ทัพ เพื่อสู้กับปัญหาที่เข้ามาในชีวิตของเขาได้"
จากวิชาที่ได้เรียนรู้ในโครงการ จะทำให้เกษตรกรมีกองทัพ 3 กอง เพื่อต่อสู้กับปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่ง "อดิศร" อธิบายแล้ว ถ้าคุณมีหนี้อยู่ 1 ล้านบาท มาที่นี่คุณจะมีกองทัพช่วยสู้กับหนี้นี้ 3 กองทัพ คือเกษตร ประมง ปศุสัตว์
"กองทัพปศุสัตว์ อย่างเป็ดจะออกไข่วันละ 10 ฟอง รายได้ส่วนนี้ใช้สู้กับรายจ่ายประจำวัน ส่วนหนี้ก้อนใหญ่ที่ต้องใช้หนี้ทุก 6 เดือนให้ใช้กองทัพประมง ถ้ามีปลาดุก 15,000 ตัว ตัวละ 10 บาท ได้รายได้ 1.5 แสนบาท อันนี้ให้จ่ายหนี้ ธกส. ส่วนกองทัพพืชการเกษตร อย่างข้าวโพด ในพื้นที่ 160 ตารางเมตร จะได้ผลผลิต 18 ฝัก เป็นอย่างน้อย แล้วในรอบ 70 วัน จะขายข้าวโพดได้ 3 หมื่นบาท
ดังนั้นชาวนาต้องมองข้าศึกให้ออก ต้องรู้ว่าตัวเองมีรายจ่ายอะไรบ้าง แล้วจัดทัพจากผลผลิตใน 1 ไร่ สู้ให้ถูก"
สอดคล้องกับผลการเก็บข้อมูลจากโครงการ 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท ซึ่ง ม.หอการค้าไทยจัดทำ พบว่าทฤษฎีการใช้พื้นที่ขนาด 1 ไร่ ให้ได้ประโยชน์สูงสุดโดยไม่ต้องใช้สารเคมีนั้น เกษตรกรสามารถมีรายได้จากการเลี้ยงสัตว์ 70% จากการปลูกข้าว 14% และจากการปลูกพืชผักบนคันนา 17%
ปลดหนี้อย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม เมื่อใครได้ยินว่า มีที่ดิน 1 ไร่ สามารถสร้างรายได้ 1 แสน ฟังแล้วก็ต้องเปิดตากว้าง หวังจะรวยกันได้ไม่ยาก แต่นั่นไม่ใช่วัตถุประสงค์หลัก
ของการจัดโครงการ "รศ.ดร.เสาวนีย์" บอกว่า ที่เราทำโครงการนี้ เพราะเรามีข้อมูลว่า ปัจจุบันมีลูกหนี้เอ็นพีแอล ธกส. 4-6 แสนราย แล้วเราก็อยากให้เขาหลุดพ้นจากวงจรนี้
"วัตถุประสงค์ของโครงการไม่ได้ทำเพื่อให้ชาวนารวยนะ และตอนนี้พอมีคนรู้จักโครงการมากขึ้น ก็มาพูดว่า มีนาอยู่ 500 ไร่ ช่วยเอานาไปทำหน่อย เราก็บอกว่า จะบ้าแล้ว โครงการนี้เขาทำเพื่อให้ชาวนาพึ่งพาตัวเองได้ แล้วมีเงินเหลือ เพื่อให้อยู่โดยไม่ลำบาก ใครจะรวยหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความขยันของแต่ละคน เพราะทำอย่างนี้ ต้องลงแรงของตัวเองมาก ต้องขยัน ตื่นเช้ามาลงแปลงนา อีกอย่าง เราทำโครงการนี้ เพราะอยากให้คนไทยได้ภาคภูมิใจในอาชีพชาวนา ได้อยู่กับที่ดินของบรรพบุรุษ ไม่ได้สอนทำนาไปซื้อรถเบนซ์"
แล้วโครงการนี้ในความคาดหวังของ ม.หอการค้าไทย คือการพลิกแผ่นดิน ลดความเหลื่อมล้ำ ลดความแตกแยกและแตกต่างทางเศรษฐกิจและสังคม
ขณะที่ "อดิศร" บอกว่า ถ้าวันนี้ที่ดินที่ทำการเกษตรได้อยู่ในมือนายทุน 90% อยู่ในมือเกษตรกร 10% แต่มีคนว่างงาน 6 แสนครอบครัว มีคนในภาคเกษตร 3.7 ล้านครัวเรือน โดยในกลุ่มนี้มี 20 ล้านคน ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว
"ถ้าเราเติมความรู้ ติดอาวุธทางปัญญาให้กับเขา ให้เขารู้เรื่องดิน เรื่องน้ำ เรื่องการเพาะปลูก การบำรุงรักษา การตลาด การขาย และเผยแพร่ความรู้เป็น จากที่ทำนาแบบใช้ปุ๋ยใช้ยาแบบเดิมได้เงิน 5,000 บาท มาทำนาแบบนี้ได้เงินเพิ่มขึ้น 20 เท่า เขาก็น่าจะมีรายได้ไปใช้หนี้ได้ เราจึงเลือกลูกค้า ธกส. ที่มียอดหนี้มากที่สุด
เป็นคนที่กำลังหนีตาย แล้วเขาจะมีพลังมาก คัดเลือกเข้าร่วมโครงการระยะแรก เพื่อให้เขานำสิ่งที่ได้เรียนรู้ในเวลา 5 เดือนนี้ไปพลิกผืนนา และเราเชื่อว่าหากขยายได้ 8.6 หมื่นรายภายใน 3 ปีข้างหน้า มันย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้"
เพราะวิชาแก้จน 400 กว่าเรื่องในเวลา 5 เดือน คืออาวุธทางปัญญา ที่จะทำให้ชาวนาเหล่านี้ ได้เปลี่ยนวิธีคิด ปรับวิถีชีวิต เพื่อหลุดพ้นจากความจน ปลดหนี้ และจะมีร่างกายที่ปลอดภัยจากเคมี เพื่อให้ชาวนาไม่ต้องทนโง่-จน-เจ็บอย่างที่ผ่านมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น