วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

พบพระนอนอายุ600ปี

กลางป่า ที่อยุธยา สร้างยุค "นเรศวร" เร่งบูรณะ



พระนอน - พระนอนขนาดใหญ่ มีชาวบ้านพบอยู่กลางป่าเขตจ.พระนครศรี อยุธยา กรมศิลปากรเข้าตรวจสอบพบเป็นพระพุทธรูปสมัยสมเด็จพระนเรศวร เก่าแก่กว่า 600 ปี เมื่อวันที่ 13 พ.ย.
อยุธยา พบพระนอนยาวขนาด 15 เมตร กว้างเมตรครึ่งถูกทิ้งร้าง สันนิษฐานเป็นพระโบราณอายุกว่า 600 ปี เป็นพระนอนที่มีความสวยสดงดงาม ลักษณะคล้ายกับพระนอนวัดธรรมิกราช จ.พระนครศรีอยุธยา พระนอนภายในวัดพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี และพระนอนในวัดขุนอินทรประมูล จ.อ่างทอง รวมถึงพระนอนวัดใหญ่ชัย มงคล กรมศิลป์สั่งวางแผนบูรณะแล้ว ส่วนพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ตรวจพบร่องรอยชำรุดเป็นสนิมไหลเยิ้มเป็นทางยาวบริเวณกลีบบัวคว่ำบัวหงายใน ของส่วนเนื้อทองคำ และมีร่องรอยคล้ายคราบสนิมไหลเยิ้มเป็นทางยาวมาจนถึงปล้องไฉน คาดเกิดเพราะปูนพอกเมื่อ 20 ปีที่แล้วเกิดชำรุด เตรียมต่อนั่งร้านตรวจสอบอย่างละเอียดและวางแผนบูรณะใหญ่



เมื่อ วันที่ 13 พ.ย. ที่จ.พระนครศรีอยุธยา ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่าพบพระนอนขนาดใหญ่ถูกทิ้งร้างอยู่กลางป่า ชาวบ้านเรียกกันว่า โคกพระนอน ในเขตติดต่อต.คลองสวนพลู กับ ต.เกาะเรียน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนคร ศรีอยุธยา จึงเดินทางไปตรวจสอบ พบว่าการเดินทางเข้าไปเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากมีน้ำท่วมขังและป่าหญ้าปกคลุมหนาแน่น ต้องใช้เรือพายเข้าไป เมื่อเข้าไปถึงพบว่ามีสภาพรกร้าง มีต้นหญ้าขึ้นปกคลุมองค์พระนอน



เมื่อ ถางหญ้าออกพบว่าที่บริเวณปลายพระบาท แตกหัก ช่วงเอวหักขาดออกจากกัน ท่อนแขนหัก เป็นลักษณะปูนปั้น ส่วนเศียรพระนอนหักกองอยู่กับพื้น มีขนาดกว้างประมาณ 1.50 เมตร แต่ยังคงความสวยงดงามมีสันจมูกดวงตา ส่วนบริเวณปากแตกหัก ใกล้กันพบเกศพระขององค์พระนอนอยู่ในสภาพชำรุด ความยาวทั้งองค์พระนอนประมาณ 10-15 เมตร ส่วนบริเวณโดยรอบขององค์พระนอนมีฐานพระพุทธรูปเรียงรายโดยรอบ



นาย จุก ดีมาก อายุ 77 ปี อยู่บ้านเลขที่ 9 ม.3 ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระ นครศรีอยุธยา ชาวบ้านอยู่บริเวณใกล้เคียงกับโคกพระนอนเล่าให้ฟังว่า ตนจะเข้ามาพักอาศัยหลบแดดเวลาที่ออกมาหาปลา พบเห็นพระนอนองค์นี้ถูกทิ้งร้างมานาน จะเข้ามาถากถางหญ้าที่องค์พระอยู่เป็นประจำ เป็นพระพุทธรูปที่สวยงามมากมีขนาดใหญ่กว่าพระนอนที่วัดใหญ่ชัยมงคล เพราะตนเคยเป็นช่างปั้นแต่งบูรณะพระนอนที่วัดใหญ่ชัยมงคล อยากให้เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรเข้ามาบูรณะให้มีความสมบูรณ์เพื่อเปิดให้เป็น แหล่งท่องเที่ยว ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ และประชาชนได้เข้ามาสักการบูชา เนื่องจากบริเวณโดยรอบนี้ยังมีวัดเก่าแก่อีกหลายวัด หากปล่อยทิ้งไว้กลัวว่าตัวองค์พระนอนจะพังทลายลงมาอีก เห็นแล้วรู้สึกเวทนา เคยมีคนเข้ามาลักลอบขุดหาของเก่าแล้วต้องรีบเอาของกลับมาคืนเนื่องจากเจอ อาถรรพ์ต่างๆ นานา ส่วนพระเนตรขององค์พระนอนถูกคนควักเอาไปน่าจะทำด้วยพลอยหรือนิล



ด้าน นายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า วัดพระนอนแห่งนี้เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเนินกลางทุ่งนาอยู่ทางทิศตะวันออกใน กลุ่มโบราณสถานอโยธยา ซึ่งกลุ่มจะมีวัดใหญ่ชัยมงคล วัดสามปลื้ม วัดอโยธยา รวมทั้งวัดพระนอนแห่งนี้ อายุกว่า 600 ปี มีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ สร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง ช่วงพ.ศ.1900-2000 ต่อเนื่องหลายสมัย อยู่ในช่วงสมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จพระเอกาทศรถ ยังไม่ชัดเจนว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดเป็นผู้สร้าง



รอง อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวต่อว่า ภายในวัดจะมีวิหารขนาดใหญ่ คลุมองค์พระนอนองค์ใหญ่ ลักษณะปูนปั้น มีความยาวประมาณ 8 เมตร เป็นพระนอนที่มีความสวยสดงดงามองค์หนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีลักษณะคล้ายกับพระนอนวัดธรรมิกราช จ.พระนครศรีอยุธยา พระนอนภายในวัดพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี และพระนอนในวัดขุนอินทรประมูล จ.อ่างทอง



ปัจจุบันวัดพระนอนแห่งนี้ซึ่งชาวบ้านจะเรียกกัน ว่าโคกพระนอน ถูกปล่อยให้ต้นหญ้าขึ้นรกร้างครอบคลุมจนไม่สามารถมองเห็นได้ ประกอบกับเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมาน้ำท่วมเนินพระนอน โบราณสถานหลายแห่งถูกน้ำท่วมและมีการสำรวจจนพบองค์พระนอน ทราบว่าสำนักงานศิลปากรที่ 3 ได้ทำแผนปรับปรุงบูรณะ โดยกรมศิลปากรจะเร่งเข้าไปตรวจสอบเพื่อดำเนินการ เชื่อว่าเมื่อบูรณะเสร็จจะเห็นรูปองค์พระนอนที่สวยงามและเป็นจุดสนใจของนัก ท่องเที่ยวอีกจุดหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา



ที่ จ.นครศรีธรรมราช ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการตรวจสอบปลียอดทองคำขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ที่มีร่องรอยของการชำรุดบริเวณกลีบบัวคว่ำบัวหงายในส่วนที่เป็นเนื้อทองคำ และมีร่องรอยคล้ายคราบสนิมไหลเยิ้มเป็นทางยาวมาจนถึงปล้องไฉนอย่างเห็นได้ ชัด ทำให้หลายฝ่ายวิตกกังวลเกรงว่าจะเกิดการชำรุดทั้งในส่วนของแกนปลียอดทองคำ และเนื้อทองคำในแนวของกลีบบัวคว่ำบัวหงายที่เนื้อทองมีสีเปลี่ยนไปจากปกติ



นาย อาณัฐ บำรุงวงศ์ ผอ.สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช กล่าวว่า ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบสภาพปลียอดทองคำ บริเวณบัวคว่ำบัวหงายทองคำที่รองรับปลียอดติดกับปล้องไฉนขององค์พระบรมธาตุ เจดีย์เบื้องต้นแล้ว โดยการถ่ายภาพ ซูมภาพจากระยะไกลมาตรวจสอบ และพบว่าสารละลายที่ไหลเยิ้มออกมานั้นมีลักษณะคล้ายสนิมเหล็ก ถ้าเกิดความเสียหายหรือชำรุดก็น่าจะเกิดจากกรณีเดียวคือการพอกปูนเมื่อ 20 ปีที่แล้วชำรุด ต้องรอให้ผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากรขึ้นไปตรวจสอบอีกครั้ง



"ส่วน เนื้อทองคำจะมีปัญหาด้วยหรือไม่นั้น เนื้อทองคำที่นำมาปิดบัวคว่ำบัวหงายกับปลียอดนั้นเป็นทองคำคนละชุดกัน ทองคำที่ใส่เข้าไปใหม่นั้นเป็นทองคำเปอร์เซ็นต์สูง ส่วนทองเก่าหรือทองโบราณนั้นสอบพบว่าเปอร์เซ็นต์เนื้อทองคำไม่แน่นอน แต่ละชิ้นสูงบ้างต่ำบ้างเป็นธรรมดาของทองโบราณ ซึ่งสำนักศิลปากรที่ 14 ได้ทำรายงานด่วนไปยังกรมศิลปากรแล้ว เพื่อตั้งคณะกรรมการช่างของกรมศิลปากรว่าจะใช้วิธีการอย่างไร และคาดว่าจะต้องต่อนั่งร้านขึ้นตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง" นายอาณัฐระบุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น