วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

นพค.56อุบลราชธานี เพาะ‘ไส้เดือนดิน’ผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพ

นพค.56อุบลราชธานี เพาะ‘ไส้เดือนดิน’ผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพ

วันจันทร์ ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555, 06.00 น.


การเพาะไส้เดือนนั้นมีประโยชน์เหลือหลาย “ไส้เดือนดิน” จัดอยู่ในกลุ่มผู้ย่อยสลายซากอินทรีย์ในระบบนิเวศ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามที่อยู่อาศัยและนิสัยในการกินอาหารคือ ไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่ตามผิวดิน หรือใต้ซากอินทรีย์ และไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่ใต้ดินโดยการขุดรูอยู่ โดยไส้เดือนดินที่อยู่ตามผิวดินหรือใต้ซากอินทรีย์จะมีประสิทธิภาพในการย่อย สารอินทรีย์ในดินได้ดีกว่า และมีการขยายพันธุ์ที่รวดเร็วกว่าด้วย โดยทั่วไปในธรรมชาติไส้เดือนดินมีอายุที่ยาวนาน ตั้งแต่ 4-10 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของไส้เดือนดิน         
พ.อ.อัครภณ  ทองสุทธิ์ ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 56 สำนักงานพัฒนาภาค 5 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (ผบ.นพค.56 สนภ.5 นทพ.) กล่าวว่า “ไส้เดือนดิน” จัดอยู่ในกลุ่มผู้ย่อยสลายซากอินทรีย์ในระบบนิเวศ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามที่อยู่อาศัยและนิสัยในการกินอาหารคือ ไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่ตามผิวดินหรือใต้ซากอินทรีย์ และไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่ใต้ดินโดยการขุดรูอยู่ โดยไส้เดือนดินที่อยู่ตามผิวดิน หรือใต้ซากอินทรีย์จะมีประสิทธิภาพในการย่อยสารอินทรีย์ในดินได้ดีกว่า และมีการขยายพันธุ์ที่รวดเร็วกว่าด้วย โดยทั่วไปในธรรมชาติไส้เดือนดินมีอายุที่ยาวนาน ตั้งแต่ 4-10 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของไส้เดือนดิน
สำหรับสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนดินประกอบ ด้วย 1.ความชื้น ไส้เดือนดินแต่ละชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีในความชื้นที่แตกต่างกัน เช่น ความชื้นที่เหมาะสมต่อไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่ใต้ดิน คือ 40-70% ส่วนไส้เดือนดินที่อาศัยใต้กองมูลสัตว์ หรือซากอินทรีย์จะเจริญเติบโตได้ดี ที่ความชื้น 70-80% เป็นต้น 2.อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนดิน อยู่ในช่วง 15-28 องศาเซลเซียส โดยไส้เดือนดินในเขตร้อนจะทนต่ออุณหภูมิสูงได้ดีกว่าไส้เดือนดินใน เขตอบอุ่น 3.ความเป็นกรด-ด่างของดินมีผลต่อไส้เดือนดิน โดยทั่วไปความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมต่อไส้เดือนดินอยู่ในช่วง 6.0-8.0
อย่างไรก็ตาม พบว่า ไส้เดือนดินบางชนิดสามารถอาศัยอยู่ในสภาพที่เป็นกรดจัดได้ (3.7-4.7) 4.ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ไส้เดือนดินจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในดินที่มีความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ระหว่าง 0.01-11.5% ถ้ามีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อยู่สูงกว่าที่กำหนดจะเป็นอันตรายต่อไส้เดือนดิน  จากลักษณะการกินอาหาร (ซากอินทรีย์) และการอยู่อาศัยของไส้เดือนดิน ทำให้มีประโยชน์ต่อดินในแง่ของการย่อยสลายซากอินทรีย์ในดินทำให้ดินมีธาตุ อาหารและสารต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช รวมทั้งการเคลื่อนที่ไปหาอาหารของไส้เดือนดินเป็นการไชชอนดิน ทำให้ดินมีความร่วนซุย มีการระบายของน้ำและการแพร่กระจายของอากาศในดินได้ดี จึงเป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตในดินไม่ว่าจะเป็นพืช จุลินทรีย์ และสัตว์ขนาดเล็กอื่นๆ
ผบ.นพค.56 กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการนำไส้เดือนดินมาเพาะเลี้ยงในหน่วย มีจุดมุ่งหมายอยู่  2 ประการ คือ ประการแรก เป็นอาหารสัตว์ ประการที่สอง คือนำมาใช้ย่อยสลายวัสดุเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรและอาหารเพื่อผลิตเป็นปุ๋ย อินทรีย์ เช่น เศษผัก ผลไม้ หรือมูลสัตว์ เป็นต้น สำหรับวีธีการเลี้ยงผบ.นพค.56 เล่าให้ฟังว่า เราจะต้องมีการเตรียมท่อปูนซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง กว้าง 1 เมตร สูง 1 เมตร หรือที่เรียกว่า พื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยท่อปูนซีเมนต์ ดังกล่าวจะต้องเจาะท่อระบายที่พื้นข้างท่อไว้ เพื่อให้ระบายน้ำได้ เหตุที่ใช้ท่อปูนซีเมนต์เนื่องจากดูแลง่ายและควบคุมอุณหภูมิได้ ทำให้ไส้เดือนโตเร็ว ล้างให้สะอาดจากนั้นนำมาวางให้เอียงด้านท่อระบายเล็กน้อยเพื่อให้น้ำจากมูล ไส้เดือนไหลออกได้ตลอดเวลา  จากนั้นนำปุ๋ยคอก (ขี้วัวหรือ ขี้ควาย) มาเทใส่ท่อปูนซีเมนต์ ประมาณ 70 เซนติเมตร จากนั้นตักน้ำเทใส่ลงไปแช่ประมาณ 2 ถัง แช่น้ำไว้ประมาณ 2-3 วัน เปิดก๊อกน้ำที่ก้นท่อระบายน้ำออก โดยใช้ถังรองน้ำไว้ เพื่อนำไปฉีด หรือรดต้นไม้อื่นๆ ปล่อยให้ขี้วัว หมาดๆ ทดลองใช้มือกำดินขึ้นมาดูให้แน่น
หากพบว่า ปั้นเข้าติดกันได้ถือว่าใช้ได้ เสร็จแล้วเตรียมพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไส้เดือนนำมาปล่อยลงประมาณ 1 ท่อ/1,000 ตัว (หรือที่เรียกว่าสูตร 1 ตารางเมตร/1,000 ตัว) ทิ้งไว้ 3-4 วัน จากนั้นหาฟางข้าวหรือมุ้งเขียวมาคลุม เพื่อป้องกันศัตรูของไส้เดือน เช่น จิ้งจก คางคก แล้วคอยดูว่าไส้เดือนใช้หางแทงดินขึ้นมาบนผิวมูลวัวหรือไม่หากพบว่า มีการแทงมูลขึ้นมา จะพบว่าคล้ายกับมูลแมลงสาบก็แสดงว่าไส้เดือนปรับสภาพเข้ากับพื้นที่ได้ จากนั้นก็นำเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ นำมาโรยปากท่อ แล้วนำผ้าหรือฟางมาคลุมอีกชั้นหนึ่ง(เศษผัก ผลไม้ ประมาณ 2 กิโลกรัม/ท่อ )ประมาณ 10 วัน มาดูแล้วใช้มือปาดกวาดมูลไส้เดือนออกมาใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ จะได้มูลไส้เดือน ประมาณ 20 กิโลกรัม/ต่อ/10 วัน และน้ำที่ได้จากท่อระบาย ประมาณ 20 ลิตร น้ำมูลไส้เดือนมาเป็นปุ๋ยและน้ำที่ระบายจากท่อนำไปพ่นฉีดพืชผักและได้ ประโยชน์ทันที
สำหรับ ข้อสังเกต ในการขยายพันธุ์ไส้เดือน 1 ท่อ เมื่อนำมาปล่อยครั้งแรกจะประมาณ 1,000 ตัว เมื่อเก็บมูลไส้เดือนขายและสับเปลี่ยนไปมา ประมาณ 2 เดือน จะมีประชากรไส้เดือนเพิ่มประมาณ 4,000-5,000 ตัว/ท่อ ก็สามารถคัดพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไปเพาะบ่อใหม่ต่อไปภายใน 2 เดือน สำหรับวิธีการบรรจุไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือนเพื่อจำหน่าย  คือนำมูลไส้เดือนที่เก็บได้มาไว้ที่ร่ม ประมาณ 2-3 วัน นำมาร่อนเอาแต่มูลไส้เดือนบรรจุถุง ถุงละ 1 กิโลกรัม หรือนำน้ำหมักมูลไส้เดือนที่เก็บไว้มากรองใส่ขวดน้ำอัดลมบรรจุขวดละ 1 ลิตร ขายราคากิโลกรัมละ 40-50 บาท และนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของนักรบสีน้ำเงิน นามหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 56 กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนและท้องถิ่นตามแผนงานหลักและภารกิจ พิเศษที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติตามแนวพระราชดำริ และนโยบายของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เพื่อร่วมกันพัฒนาและช่วยเหลือประชาชนรวมถึงสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับ ชุมชนที่อาศัย  หากราษฎร หรือหน่วยงานใดมีความสนใจในการเลี้ยงไส้เดือนดินสามารถติดต่อได้ที่ 45 ม.2 บ.บก ต.กลาง อ.เดชอุดม  จ.อุบลราชธานี  34160  หรือ 0-4586-6659 เราพร้อมให้บริการและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตลอดวันเวลาราชการ
สุรภาพ เสียงหวาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น