วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พระสมเด็จเนื้อปูนเปลือกหอย

พระสมเด็จนั้นมีหลายเนื้อและหนึ่งในนั้นก็คือเนื้อปูนเปลือกหอย ซึ่งก็คือการทำให้เนื้อเปลือกหอยป่นละเอียดเป็นผงและนำผสมกับมวลสารเพื่อทำพระตามความต้องการของคนในยุคของท่าน แต่เนื้อนี้น่าจะมีเยอะลองลงมาจากเนื้อดินสอพอง แต่ก็ไม่น่าเยอะไปกว่าเนื้อมวลสารข้าวสุกและอาหารเหลือฉันจากพระภิกษุสงฆ์ของวัดที่ตากแห้งและนำมาบดต้มปั้นทำพระเครื่องซึ้งเป็นมวลสารชนิดแรกที่ท่านสมเด็จโตเข้าใจดีและสร้างขึ้น เพื่อแจกจ่ายให้คนที่ต้องการและเพื่อเป็นเครื่องคุ้มภัยต่างๆ ยามที่ห่างไกลพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ในการดำเนินชีวิต ในสมัยนั้น

เนื้อพระชนิดนี้จะแกร่งตามแบบฉบับปูนเปลือกหอยจะมีคราบน้ำมวลสารที่ละลายออกมาให้เห็นชัดเมื่อแห้งแล้ว ซึ่งเกาะตามผิวของพระเครื่องทั้งหน้าหลัง ส่วนผสมมวลสารต่างๆปรากฎเห็นได้ชัด เนื้อพระจะมีน้ำหนัก มวลสารที่เกาะตลอดแม่พิมพ์จะชัดเพราะเป็นเนื้อปูนบดละเอียด ชิ้นพระจะเป็นเงาๆดูสวยไปอีกแบบ การปราดตัดขอบพระจะเห็นเด่นชัด แต่เนื้อพระมักจะไม่แยกง่ายเฉกเช่นเนื้อข้าวสุก จะมองเห็นลอยเหี่ยวย่นได้เช่นกัน การดูพระสมเด็จนั้นดูด้านข้างจะดีที่สุดเพราะจะมองเห็นธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงของมวลสารต่างๆนั้นได้ง่าย หลักการนี้พวกเซียนพระรุ่นเก่ามักไม่ยอมเปิดเผยให้ใครๆทราบกันแม้ในปัจจุบันก็เถอะ (ชมภาพประกอบ)



------------------------------------------------------------------------------------------
ม. โชคชัย ทรงเสี่ยงไชย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น