เนื่องจากเหตุอาหารฉันเหลือไม่ว่าจะเป็นกับข้าว/ข้าว/ขนม/ของหวาน/เปลือกผลไม้หรือแม้แต่เม็ดผลไม้/ดอกไม้หมู่บูชา/ธูปเทียน เหล่านี้เมื่อนำมารวมๆกันทั้งพระและเณรในวัดท่านก็ไม่ทิ้งให้เสียเปล่า เมื่อนำมาตากแดดให้แห้ง นานวันเข้ามีจำนวนมากก็มาตำและบดให้ละเอียดผสมมวลสารพุทธคุณต้มใส่น้ำคนให้เหนียวได้ที่ เย็นแล้วนวดให้แน่น/ปั้นเป็นแท่งกลมแล้วตัดเป็นชิ้นๆ นำมากดพิมพ์พระ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของท่านสมเด็จโตที่เข้าใจความสำคัญของอาหารแม้จะเหลือจากการฉันท่านก็นำมารวมกัน/บดทำให้ละเอียดผสมกับธูปดอกไม้บูชาพระและต้มใหม่โดยผสมมวลสารพุทธคุณลงไปด้วย/นี้เป็นสิ่งที่เกิดในวัดระฆังช่วงสมัยท่านอยู่ มวลสารเมื่อเหนียวได้ที่ นวดให้ดีก็เอามาสร้างแผ่นพระสมเด็จองค์เล็กๆได้มากเหมือนกัน อย่าลืมว่าท่านสมเด็จโตนั้นท่านเป็นพระที่เข้าใจธรรมชาติมนุษย์ได้ดียิ่งและลึกซึ้ง คำสั่งสอนของท่านอยู่บนบทพื้นฐานที่ชาวบ้านเข้าใจได้ ดังนั้นท่านจริงเห็นถึงความสำคัญเรื่องอาหารการกิน
และไม่ทิ้งไปเป็นข้าวหมูที่ชาวบ้านสมัยนั้นมักทำกัน ท่านเอามาแปรรูปเป็นพระสมเด็จได้โดยการใช้เนื้อหาเหล่านี้เป็นตัวกำหนด เซียนพระส่วนมากไม่เข้าใจและไม่พยายามศึกษาเอาแต่รับฟังและเข้ากลุ่มพวกตนเองที่ขายพระเพื่อการพาณิชย์และชอบแอบอ้างพุทธคุณ และก็ทำให้การเล่นหาพระสมเด็จแท้ผิดไปมากตีพระที่ไม่อยู่ในข่ายพวกตนเก๊หมด/แค้นี้ยังไม่พอยังดันทำหนังสือออกมาขายชี้ตำหนิกันวุ่นวายอีก ทำให้ชนรุ่นหลังต้องมาเถียงกันวุ่นวายไม่รู้จักจบสิ้น เคยชี้แจงแล้วว่าพวกชี้ตำหนิตำแหน่งพระนั้นต้องใช้กับเหรียญเท่านั้นจึงจะดีเพราะผลิตด้วยเครื่องจักร พระแท้ต้องศึกษา ต้องมีเหตุและผล และ
การสร้างพระสมเด็จก็เริ่มจากวัสดุใกล้ตัวก่อน นั้นเป็นอันดับแรก ถ้ามวลสารไม่พอความต้องการมากก็จะหามวลสารอื่นๆมาใช้แทนได้ เช่นปูนเปลือกหอย/ดินสอผอง เป็นต้น
พระสมเด็จเนื้อฟักทองผสมข้าวสุก มวลสารนี้จะเหลืองสวยคราบแป้งจะสีเหลืองบางๆกลมกลืน แต่องค์พระต้องแห้งแกร่ง/เคาะมีเสียงก้องกังวาลไม่ดังทึบๆเหตุเพราะข้างในแห้งสนิทมวลโมเลกูลโปร่งแห้ง แนวข้างสี่ด้านยุบลองเอามือลูบดูจะรับรู้สึกได้ พระแบบนี้สวยจริง หายากด้วย รอยย่นยับยุบด้านข้างปรากฏชัดดี ใครที่มีเอามาดู/ส่องดูจะทราบ/และวิเคราะห์มวลสารได้เยอะมาก องค์ที่นำมาลงพิมพ์เป็นแบบของหลวงวิจารณ์เจียรนัย (ข้อสังเกตพระที่ใช้แม่พิมพ์ของหลวงวิจราณ์มักจะเนื้อละเีอียดดี/กดพิมพ์ได้ชัด/เนื้อมวลสารไม่ค่อยแหว่งหาย เส้นขอบจะม้วนงอบ่งบอกถึงกาลเวลาได้ดี/แต่บางองค์ก็หย่อนสารตัวเชื่อมเช่นน้ำผึ้งหรือน้ำตาลหรือน้ำมันตังอิ้ว ทำให้เนื้อมวลสารแตกรานและก็ดูดีไปอีกแบบหนึ่ง)
ภาพประกอบ
ม. โชคชัย ทรงเสี่ยงไชย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น