“สำริด” จากเครื่องมือเครื่องใช้สู่งานศิลปะ โลหะเริ่มแรกแห่งอารยธรรม
"สำริด" สามารถเขียนอีกอย่างหนึ่งได้ว่า "สัมฤทธิ์" น่าจะมีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลีว่า สมิทฺธิ แปลว่า “ความสำเร็จ”
.
สำริด สัมฤทธิ์ ทองสำริด หรือ Bronze ในภาษาอังกฤษ ก็คือ “โลหะผสม” ที่เกิดขึ้นจากการเทคโนโลยีในการนำแร่ทองแดงจากธรรมชาติมาหลอมผสมรวมกับแร่ธาตุอื่น ๆ เช่นดีบุก ตะกั่ว ในอัตราส่วนที่เหมาะสม
.
ใน
สมัยโบราณก่อนที่โลกจะปรากฏอารยธรรมขนาดใหญ่ มนุษย์รุ่นแรก ๆ
ในหลายภูมิภาคของโลก ต่างก็เสาะหาวัสดุธรรมชาติที่มีความแข็งและทนทาน
เพื่อนำมาแปรเปลี่ยนสภาพเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ หรืออาวุธ
ปกป้องตนจากสัตว์ร้าย ทั้งที่เป็นไม้ กระดูกสัตว์ และหิน
.
ด้วย “หิน”
เป็นวัตถุดิบที่มีความแข็งมากที่สุดในยุคเริ่มแรกก่อนที่มนุษย์จะมารู้จัก
กับโลหะ จึงถูกนำมาดัดแปลงเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ประเภทต่าง ๆ
ดังที่เราพบหลักฐานของหิน ทั้งที่เป็น ขวานหิน เครื่องประดับที่ทำจากหิน รูปแกะสลักหิน ฯลฯ ในแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ทั่วโลก
.
ต่อจากการใช้หิน มนุษย์ก็เริ่มเรียนรู้ว่าหินนั้นขาดความยืดหยุ่น แตกหักง่าย และมีความแข็งน้อยกว่าโลหะ เมื่อต้องมาปะทะกันในสงครามของครั้งแรก ๆ มนุษย์ จึงเริ่มมีการคิดค้นหาวิธีที่จะนำโลหะมาใช้แทนที่หิน ซึ่งโลหะชนิดแรกที่มนุษย์ค้นพบและนำมาใช้งาน คือ “ทองแดงธรรมชาติ (Native copper)” และ “ทอง (Gold)” เพราะสามารถตีเป็นแผ่นได้โดยไม่ต้องใช้ความร้อน ก่อนที่จะมีวิวัฒนการมาสู่การถลุงโลหะ (Smelting) และการใช้ความร้อนในการหล่อหลอมโลหะ (Casting) ในเวลาต่อมา
.
หลักฐานการใช้โลหะที่เก่าแก่ที่สุดพบที่ตะวันออกกลางเมื่อประมาณ 10,000 - 12,000 ปีมาแล้ว จากการนำเอาทองแดงมาทำเป็นเครื่องมือโดยตีเป็นแผ่นที่เรียกว่า การตีเย็น (Cold Hammering) ก่อนพัฒนาการมาเป็นการใช้ความร้อนหลอมทองแดงกับดีบุก เพื่อให้ทองแดงมีความแข็งตัวเป็นโลหะสำริดในยุคต่อมา
.
จนเมื่อกว่า 6 พันปีที่แล้ว กลุ่มชนเชื่อสายอารยัน (Aryan) ในภูมิภาคซูซา (Susa) และลูริสถาน (Luristan) บริเวณรอบทะเลสาบแคสเปี้ยนของประเทศอิหร่าน และอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกรีส ยูเฟตรีส ในประเทศอิรัก จัดเป็นกลุ่มชนแรก ๆ ที่มีหลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นร่องรอยเทคโนโลยีโลหกรรมการหลอมโลหะ "สำริด" อันเป็นส่วนผสมระหว่างโลหะทองแดงและโลหะดีบุก ที่ต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูงขึ้นกว่าแต่เดิม เพื่อหลอมแร่ทั้งสองชนิดเข้าด้วยกัน ด้วยความร้อนสูงราว 1,200 องศาเซลเซียส ขึ้นเป็นครั้งแรก ๆ ในโลก
.
สำริดเป็นโลหะผสมที่มีความแข็ง เหนียวแต่ยืดหยุ่น มีความแข็งแรงและทนทานกว่าหินและทองแดงธรรมชาติที่เคยใช้กันมาในอดีต การค้นพบโลหกรรม “สำริด” เป็นรากฐานสำคัญในการบุกเบิกอารยธรรมมนุษยชาติ จนมีคำกล่าวว่า “....ถ้า
มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์เมื่อหลายพันปีมาแล้ว ไม่รู้จักโลหะสำริด
แล้วไม่คิดค้นเทคโนโลยีเอาโลหะสำริดมาทำเครื่องมือเครื่องใช้
ป่านนี้มนุษย์อาจยังไปไม่ถึงดวงจันทร์ก็เป็นได้....”.
โลหกรรมสำริด คือการนำเอาแร่ทองแดงที่ผ่านการถลุงแล้วมาหลอมผสมกับดีบุก ตะกั่ว แร่
พลวง สังกะสี หรือสารหนู เพื่อให้มีความแข็งตัว
สามารถนำไปหลอมเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ อาวุธและงานศิลปะ
ในสมัยโบราณ แร่ทองแดง (Copper ores) ที่ถูกนำมาใช้จะมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแร่อ๊อกไซด์และคาร์บอเนต กับกลุ่มแร่ซัลไฟด์ ซึ่งจะมีขบวนการเตรียมตัวเพื่อการถลุงก่อนนำมาใช้ที่แตกต่างกัน
.
กลุ่มแร่อ๊อกไซด์ และคาร์บอเนต เช่น มาลาไคท์ (Malachite) การเตรียมแร่และแยกแร่คือ ทุบให้ได้ขนาดเล็กเพื่อแยกเอาหินออกให้ได้มากที่สุด ล้างและตากแร่ทองแดงให้แห้งก่อนนำไปถลุง ส่วนแร่ทองแดงชนิดซัลไฟด์ ต้องเผาแร่เพื่อขจัดซัลไฟด์ก่อน เพื่อไม่ให้ทองแดงมีรูพรุนมากในการถลุง หลังจากการเตรียมแร่แล้ว จึงนำไปผ่านขั้นตอนการถลุงเพื่อให้ได้แร่ทองแดงบริสุทธิ์แล้วจึงนำไปหล่อหลอมในขั้นตอนต่อไป
.
เทคโนโลยีของการหลอม (Casting) เริ่มจากการนำเอาทองแดงที่ได้มาจากการถลุง มาให้ความร้อนอีกครั้งในเบ้าหลอม (Crucible) โดยผสมกับดีบุกหรือตะกั่ว โดยอัตราส่วนดีบุกหรือตะกั่ว 1 - 5 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ทองแดงมีความแข็งตัวมากยิ่งขึ้น การ
ให้ความร้อนที่เบ้าหลอมนั้น
บริเวณผิวบนของโลหะจะถูกกับอากาศเกิดเป็นฟองลอยขึ้นต้องปาดส่วนนั้นทิ้งออก
ไป ส่วนที่ถูกทิ้งออกไปก็กลายเป็นฟองขี้แร่ เมื่อได้โลหะเหลวแล้วจึงนำไปเทเป็นรูปร่างหล่อในแบบพิมพ์ (Mould) ซึ่งมี 4 แบบ คือ
.
1. แม่พิมพ์เปิด (Open Mould)
เป็นแม่พิมพ์ชิ้นเดียวที่เซาะเป็นร่องหรือรูปร่างที่ต้องการเพื่อเป็นแบบของ
โลหะ ส่วนใหญ่ใช้เซาะร่องในหินทรายหรืออาจเป็นไม้และดินเผาที่ทนความร้อน
.
2. แม่พิมพ์ 2 ชิ้นประกบกัน (Double Mould) เป็นแม่พิมพ์ที่แกะเซาะร่องจากหินทรายหรือดินเผาที่ทนไฟ ทำเป็น 2 ชิ้นประกบกันมีร่องสลับเทน้ำโลหะลงไป เมื่อเย็นตัวแล้วจึงแยกแม่พิมพ์ออก 2 ด้าน
.
.
3. แม่พิมพ์ชนิดแกนลอย (False-cored Moulds) เป็นแม่พิมพ์ที่มีแกนด้านในส่วนด้านนอกทำแบบไว้หลายชิ้นประกบกัน ใช้หมุดยึดกับแกนในเหลือช่องไว้เทโลหะลงไปด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งเป็นช่องเหลือไว้สำหรับน้ำโลหะที่ล้นออกมา
.
4. แม่พิมพ์แบบดินหล่อแทนที่ขี้ผึ้ง (Lost wax Casting) เป็นการใช้ดินและขี้ผึ้งเป็นแบบของโลหะที่มีรูปร่างซับซ้อน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการทำเครื่องประดับและรูปเคารพศาสนาในยุคต่อมา วิธีการหล่อก็คือ ปั้นหุ่นดินผสมทรายเป็นโครงร่างใกล้เคียงกับรูปร่างของวัตถุที่ต้องการ นำ
ขี้ผึ้งซึ่งทำเป็นเส้นมาพันรอบแกนดินตกแต่งผิวขี้ผึ้งตามรูปร่างและลวดลาย
ที่ต้องการทำขี้ผึ้งสำหรับเป็นชนวนไว้เพื่อการไหลออกของขี้ผึ้งและทางไหล
เข้าของโลหะ จากนั้นพอกแผ่นขี้ผึ้งด้วยดินอีกครั้งหนึ่ง นำ
ไปเผาไฟให้ขี้ผึ้งละลายจากนั้นก็เทน้ำโลหะซึ่งผ่านการหลอมละลายในเบ้าหลอมไป
ในแบบพิมพ์ เมื่อเย็นตัวจึงค่อยกะเทาะดินที่หุ้มและแกนดินด้านในออก
โลหะก็จะเข้าไปแทนที่ขี้ผึ้งเป็นรูปร่างตามที่ต้องการ
.
หลังจากการค้นพบเทคโนโลยีในการควบคุมความร้อน เพื่อการถลุงแร่และการหลอมโลหะในอุณหภูมิสูง มนุษย์จึงค่อยเริ่มมีพัฒนาการในการนำเหล็ก (Iron) และ เงิน (Silver) จากธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ในยุคต่อ ๆ มาครับ
.
มาถึงตรงนี้ เพื่อนชาว Blog OKNation ก็คงได้รู้จักกับ “สำริด”
โลหะกรรมเริ่มแรกแห่งอารยธรรมของมนุษย์กันมาพอสมควรแล้ว
ผมก็ขอเชิญชวนให้มาดูเรื่องราวของโลหะสำริด
ที่เคยได้รับความนิยมในยุคสมัยหนึ่ง
ในสังคมมนุษย์ก่อนจะเปลี่ยนแปลงมานิยมใช้เหล็กในเวลาต่อมาครับ
.
แต่
ก็ไม่ใช่ว่า เมื่อมีการใช้โลหะเหล็กในสังคมแล้ว
ความนิยมในการใช้โลหะสำริดจะหายไปนะครับ แต่ตรงกันข้าม
ถีงมีโลหะที่แข็งแรงกว่าและหาได้ง่ายอย่างเหล็กมาทำเครื่องมือเครื่องใช้
แล้ว ความสวยงามและความหมายก็ยังสู้โลหะสำริดที่เคยใช้ไม่ได้เลย
สำริดจึงเปลี่ยนแปลงหน้าที่จากเครื่องมือเครื่องใช้
มาเป็นเครื่องประดับและงานศิลปกรรม
จากอาวุธและของใช้ธรรมดากลายมาเป็นเครื่องประดับ
ศิลปะรูปเคารพและงานปะติมากรรม
.
ด้วยเพราะสำริด ก็คือโลหะสีทองที่มีความมันวาว เช่นเดียวกับทองคำ หากในสมัยโบราณคำเรียก “ทอง” จะมีความหมายถึงทองสำริด และคำว่า “คำ” จึงจะมีความหมายว่า “ทองคำ” ครับ
.
หลัก
ฐานโลหกรรมในสมัยโบราณของประเทศไทย เราพบเครื่องมือเครื่องใช้
ทั้งที่ทำมาจากทองแดงบริสุทธิ์ สำริด และเหล็ก
กระจัดกระจายตัวอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ตั้งแต่เหนือจรดใต้
.
แต่ก็คงต้องทำความเข้าใจกันก่อนครับว่า ในชุมชนหรืออารยธรรมหนึ่งอาจมีความเจริญกว่าอีกชุมชนหรือในช่วงระยะเวลาเดียวกัน
เช่นชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลโบราณหรือริมแม่น้ำใหญ่
ก็จะได้รับเทคโนโลยีการถลุงโลหะสำริด
มาจากโลกภายนอกก่อนชุมชนที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน
บางที่ก็ยังใช้เครื่องมือหินอยู่
บางชุมชนใช้ทั้งเครื่องมือหินและเครื่องมือทองแดง และบางชุมชนใช้ทั้งเครื่องมือหิน ทองแดงและสำริดไปพร้อม ๆ กัน ก็มี !!!
.
ด้วยความก้าวหน้าทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีของแต่ละกลุ่มชนแตกต่างกัน จึงมีช่วงเวลาการใช้สำริดและเหล็กไม่พร้อมกัน ผมจึงไม่นิยมเรียกเป็นยุคหิน ยุคทองแดง ยุคโลหะ ยุคสำริด หรือยุคเหล็ก ตามเขาครับ
.
ตามประสบการณ์ของผม ร่อยรอยของการใช้โลหะทองแดงธรรมชาติ ปรากฏในดินแดนสุวรรณภูมิ ในราวก่อน 5,000 – 4,000 ปีที่แล้วซ้อนทับเวลากับการใช้เครื่องมือหินและเครื่องมือสำริดในเวลาเดียวกัน
.
โลหกรรมสำริด กระจายตัวไปในพื้นที่ต่าง ๆ มีทั้งมากและน้อย เช่นที่โนนนกทา จังหวัดขอนแก่น บ้านเชียง อุดรธานีและลุ่มน้ำป่าสักในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี ล้วนมีร่องรอยการถลุงแร่ทองแดงและการหลอมสำริดมายาวนานและมากกว่าที่อื่น ๆ ในประเทศไทย
.
จนเมื่อราว 2,500 ปีที่แล้ว จึงเริ่มมีการใช้เหล็กเป็นครั้งแรก ๆ โลหกรรมเหล็กกระจายตัวไปในวัฒนธรรมตามลุ่มน้ำโบราณ เข้าถึงชุมชนใกล้เส้นทางก่อนชุมชนที่อยู่ห่างไกลออกไป
ในขณะที่โลหะสำริดถูกนำมาใช้เป็นเครื่องประดับและงานศิลปะของชุมชนใกล้เส้น
ทางที่มีความเจริญ
และอาจจะไปอยู่ในชุมชนล้าหลังไกลเส้นทางที่ยังไม่มีการถลุงโลหะ
แต่ก็นำเครื่องประดับจากชุมชนใกล้ไปใช้จากการติดต่อค้าขายระหว่างกันก็มี
.
และเมื่อชาวสุวรรณภูมิเริ่มรับวัฒนธรรม เทคโนโลยี และคติความเชื่อทางศาสนาจากชมพูทวีป(อินเดีย) เมื่อประมาณ 1,800 ที่แล้ว จึง
นำโลหะสำริดซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมกว่าเหล็ก ไปหล่อเป็นรูปเคารพ
สร้างสรรค์เป็นงานศิลปกรรม เพื่อสนองตอบต่อความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม เช่น สร้างเป็นเทวรูป พระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ ฯลฯ ยกย่องเป็นสิ่งของศักดิ์สิทธิ์ สามารถดลบันดาลให้สำเร็จประโยชน์ต่าง ๆ และทำให้อยู่เย็นเป็นสุข ตามความเชื่อในแต่ละลัทธิศาสนา
.
.
และอาจจะเป็นเพราะคำว่า "สัมฤทธิ์" มีความหมายถึง "ความสำเร็จ" ในภาษาสันสฤต คนในสมัยโบราณจึงนิยมใช้โลหะสำริดมาสร้างเป็นรูปเคารพในคติความเชื่อ ก็อาจเป็นไปได้ครับ
.
มาฟัง มาดูเรื่องราวของโลหะ"สำริด"จากเครื่องมือสู่งานศิลปะ ในประเทศไทย ผ่านรูปภาพประกอบกันดีกว่าครับ
.
รูปแรกเป็นรูปของเครื่องมือประเภทขวานปล่องและเครื่องประดับ เบ้าหลอม จากวัฒนธรรมลุ่มน้ำสงคราม แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อุดรธานี และภูมิภาคในเขตจังหวัดสกลนคร อายุในราว 4,500 ปี - 2,000 ปี
.
.
ลูกกระพรวนสำริด หลากหลายรูปแบบ พบกระจายตัวทั่วประเทศไทย
อายุในราว 2,000 - 2,500 ปี
.
.
เครื่องประดับทำจากสำริด จากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
อายุในราว 2,000 ปี
.
.
.
หอกและขวานปล่องสำริด จากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
อายุในราว 2,000 ปี
.
.
กำไรรูปแมลงปอ และ กำไลรูปเขาควาย ประดับลูกกระดิ่ง
จากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
.
.
หอกในยุคเหล็ก ด้ามเป็นสำริด อายุในราว 1,800 - 2,000 ปี
เป็นหลักฐานการซ้อนทับระหว่างการใช้เครื่องมือสำริดและเครื่องมือเหล็ก
ในประเทศไทย
.
.
กระดิ่งรูปสตรีแสดงเครื่องหมายเพศ อายุในราว 3,000 - 4,500 ปี จากที่ราบลอนลูกคลื่น นครสวรรค์ เป็นร่องรอยของโลหกรรมสำริดที่นำเข้ามาจากต่างประเทศในยุคแรก ๆ เป็นรูปที่น่าจะเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อหรือพิธีกรรมในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เรื่อง "ความอุดมสมบูรณ์" (Fertirity ritual)
.
.
กระบี่จอมยุทธ์ ? ด้ามสำริด ดาบเหล็ก ฝักกระบี่เป็นไม้ผุพังไปมาก
พบในแห่งโบราณคดียุคหิน - ทองแดง
เขตลุ่มน้ำป่าสัก อำเภอลำนารายณ์ อายุในราว 3,000 ปี
.
.
กระดิ่งหน้าคน จากลุ่มน้ำป่าสัก อายุประมาณ 2,000 ปี
.
.
ภาชนะสำริด ภายในมีร่องรอยของลูกปัดแก้ว
จากลุ่มน้ำป่าสัก อายุประมาณ 2,000 ปี
.
.
ระฆังรูปไก่ เป็นเทคโนโลยีการหล่อสำริดรูปสัตว์ที่สวยงาม
อายุในราว 2,000 ปี จากลุ่มน้ำป่าสัก ชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
.
.
ขวานปล่องสำริด พบเป็นจำนวนมากในเขตโบราณคดีภาคกลางไปจนถึง
ภาคอีสาน อายุราว 2,000 - 3,500 ปี
.
.
ระฆังสำหรับแขวนคอสัตว์ มีแง่งเป็นแขน และลวดลายดาวคล้ายตา
จากแหล่งโบราณคดีลุ่มน้ำป่าสัก อายุในราว 2,000 ปี
.
.
ระฆังสำริด พบเป็นจำนวนมาก ในแหล่งโบราณคดีทั่วภูมิภาค
อายุในราว 2,000 ปี
.
.
ระฆังช้าง มีรูปช้างขนาดเล็กเกาะอยู่ด้านบน ใช้สำหรับคล้องคอช้าง
พบในแหล่งโบราณคดีลุ่มน้ำป่าสัก ชัยบาดาล อายุในราว 2,000 ปี
.
.
ต่างหูสำริดจากเนินอุโลก นครราชสีมา อายุในราว 1,800 - 2,000 ปี
เป็นหลักฐานเครื่องประดับสำริดในยุคเหล็ก
.
.
โครงกระดูกสตรีใส่เครื่องประดับสำริดทั้งที่เป็นต่างหู
กำไลแขนและห่วงเอว อายุในราว 1,800 ปี จากเนินอุโลก นครราชสีมา
เป็นหลักฐานของเครื่องประดับสำริดในยุคเหล็ก
.
.
โครงกระดูกผู้ชายใส่ห่วงคอสำริดและเครื่องประดับเขี้ยวเสือ
อายุในราว 1,800 ปี จากเนินอุโลก นครราชสีมา
เป็นหลักฐานของเครื่องประดับสำริดในยุคเหล็ก
.
.
กลองมโหรทึกสำริดในวัฒนธรรมดองซอน (Dong Son Culture)
ซึ่งพบมากทางตอนใต้ของประเทศจีนและเวียดนาม
และกระจายตัวไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นการติดต่อกันระหว่างชุมชนในภูมิภาค
สุวรรณภูมิในสมัยโบราณ
.
.
รูปเคารพสำริด พระอนาคตพุทธะไมเตรยะ สี่กร
อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 12 จากบ้านฝ้าย บุรีรัมย์
.
.
พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ จากปราสาทแม่บุญตะวันตก
อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 16
.
.
เทวรูปสำริด ขัดล้างเนื้อจนเห็นเป็นสีทอง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16
.
.
นันทิเกศวรสำริด พุทธศตวรรษที่ 16 จากปราสาทสระกำแพงใหญ่ ศรีสะเกษ
.
.
พระวัชรสัตว์พุทธะสำริด อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 17
.
.
หัวนาค 5 เศียรสำริดประดับราชยานคานหาม อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 17
.
.
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร สำริด อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 17
.
.
รูปพระคเณศสำริด อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 18
.
.
เทวรูปพระศิวะ รูปสิงห์และช้างเอราวัณสำริด ที่อยุธยานำมาจากเขมรและพม่านำไปจากกรุงศรีอยุธยาอีกที ปัจจุบันตั้งอยู่ในวัดพระมหามัยมุนี (Maha Myat Muni)ในเมืองมัณฑะเลย์ อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 18
.
.
.
.
.
พระวัชรสัตว์พุทธะสำริด
ขุดได้โดยบังเอิญใน มรภ.เทพสตรี จังหวัดลพบุรี อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 18
.
.
รูปเคารพบุคลาฐิษฐานสำริด "พระรัตนตรัยมหายาน"
รูปเคารพในคติความเชื่อนิกาย"วัชรยานตันตระ" แบบพกพา
อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 18
.
.
.
รูปเคารพบุคลาฐิษฐานสำริด "พระวัชรสัตว์พุทธะ"
รูปเคารพในคติความเชื่อนิกาย"วัชรยานตันตระ" แบบพกพา
อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 18
.
.
พระศิวะสำริด จากศาลพระศิวะเมืองกำแพงเพชรโบราณ ถือเป็นรูปหล่อสำริดที่มีความงดงามที่สุดรูปหนึ่งของประเทศไทย อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 19
.
.
เทวสตรีสำริด สี่กร จากกำแพงเพชร อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 20
.
.
พระพุทธรูปปางลีลาสำริด ศิลปะแบบกำแพงเพชร
อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 21
.
.
พระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ สำริด ศิลปะอยุธยาคลาสลิค
อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 22
.
.
หลายคนคงสังเกตเห็นนะครับว่า วัตถุโบราณที่ทำจากสำริด จะมีคราบสีเขียวติดอยู่ทุกรูป นั่นก็เพราะ "สำริด" เป็นโลหะผสมที่มีอัตราส่วนของทองแดงเป็นจำนวนมาก และบางทีเราก็จะพบสำริดบางชิ้นปรากฏสนิมสีแดง เกิดจากสนิมของตะกั่วที่ผสมอยู่ภายในเนื้อของสำริด
.
กระบวนการออกซิไดซ์ (Oxidizations) ของสำริด
ทำให้เกิดคราบสนิมสีเขียวเกาะอยู่บนพื้นผิวเช่นเดียวกับสนิมของทองแดง
และยิ่งเป็นโบราณวัตถุที่ผ่านการฝัง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง
หรือผ่านกาลเวลาที่ยาวนาน สนิมสีเขียวของสำริดก็จะมีมากและหนา
บางทีสนิมก็ออกมารวมกับเนื้อดินภายนอกกลายเป็นคราบเกาะแน่น ซึ่งใน
กระบวนการรักษาโบราณวัตถุในทางวิทยาศาสตร์
จะระมัดระวังเป็นพิเศษในเรื่องการขัดล้างคราบสนิมที่เกาะอยู่
เพราะหากสนิมกินเข้าไปในเนื้อ หากขัดล้างรุนแรง
ก็จะทำให้เนื้อของวัตถุโบราณนั้นหลุดออกมาด้วยครับ
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น